ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุน ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
Advertisements

การสืบสวน สอบสวน การสืบสวน
การดำเนินงานตามกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )
ก ารประชุมเพื่อพิจารณา แนวทางในการพัฒนา ร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ ป ลอดภัยและ ส ร้างสรรค์ วันที่ ๖ ธันวาคม พ. ศ. ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ๓๐๒ ตึกบัญชาการ.
วิชาว่าความและ การถามพยาน
บทที่ 2 ขอบเขตการใช้กฎหมาย
การค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ สภาพปัญหา ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขปัญหา.
การค้ามนุษย์.
การค้ามนุษย์.
การค้ามนุษย์.
E-learning Present Human Trafficking.
การค้ามนุษย์.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ผลกระทบการเปิดประตูสู่อาเซียน
ประเด็นบรรยาย เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ของผู้ตรวจการสหกรณ์
การตรวจการสหกรณ์ ไพฑูรย์ ชนะชู นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ
ข้อดี และประสบการณ์ที่ควร ปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรม ให้สัมฤทธิ์ผลและสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน.
ACTION PLAN THAILAND.
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
Case Management.
การเขียนรายงานสถานการณ์ การเฝ้าระวังและเตือนภัย ทางสังคม
ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา “สรุปผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปราม ไตรมาส 3”
วัน จันทร์ ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๔. ๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๑ ศาลาว่าการ กระทรวงมหาดไทย การประชุมคณะกรรมการเตรียม ความพร้อมของ กระทรวงมหาดไทยในการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน.
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ระเบียบวาระที่ เรื่องเพื่อทราบ
สำนักส่งเสริมและ พิทักษ์เด็ก
การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗
๑. การพัฒนาบุคลากร. ๑. การพัฒนาบุคลากร ๑. การแต่งกายบุคลิกลักษณะท่าทาง -การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย.
แนะนำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
อำเภอ ป้องกันควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน นพ.พงศ์ธร ชาติพิทักษ์
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
Dr. Panu Sittiwong Uttaradit Rajabhat University
ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
๒๕ ธ.ค. ๒๕๕๑ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ครั้งที่ 1/2555 ตามที่นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์
การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น
นายอาทิตย์ อิสโม รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานกักขัง ควบคุม และสถานบำบัดของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 1/2552 แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบ่งออกเป็น.
สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สรุปบทเรียนความสำเร็จการดำเนินงานโครงการโรคเอดส์ ด้านการป้องกัน
การมอบนโยบายการ ปฏิบัติงาน โครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่ม ศักยภาพ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาอำเภอ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยการ.
ทิศทางร่างพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อคุ้มครอง
วันศุกร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
การบริหารงานบุคคล สุรเกียรติ ฐิตะฐาน บทเรียนจากองค์กรวินิจฉัย
กลุ่มที่ 3 หัวหน้าฝ่าย / เจ้าหน้าที่
การดำเนินงาน OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม
กฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนงาน การสอบสวนคดีนอกราชอาณาจักร
สรุปความเห็นและข้อเสนอแนะ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการ ๑๘ คณะ จำนวน ๒๔๖ ประเด็น 1 ข้อมูลสรุป ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๒๒.๓๐ นาที
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
การขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงาน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ของตำรวจภูธรภาค ๔
ความเป็นมาของความยุติธรรม
โดย นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ
การประชุม คณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ ของสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๑ วันอังคารที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๐. ๐๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๓ ตึก.
แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของพัทลุง
และแนวทางการตรวจราชการ คณะที่ 1 : การพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
เสริมสร้างและพัฒนา บุคลากรกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ
ระเบียบวาระการประชุม ศปส.ทร. ณ ห้องประชุม สก.ทร. (ชั้น ๓)
เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติด และปราบปรามผู้มีอิทธิพล
ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ข้อที่ 7 ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชี สุดท้ายสหกรณ์ ต้องไม่กระทำการอัน เป็นการฝ่าฝืนกฏหมาย ระเบียบ คำสั่ง ปัญหา / สาเหตุ การ ป้องกั น แนว ทางแก้ ไข มาตรฐาน.
การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.
1 เรื่อง หลักเกณฑ์และ เงื่อนไข การ พิจารณาอนุมัติให้ใช้น้ำ กระแสไฟฟ้า หรือสิ่ง สาธารณูปโภคอื่น เพื่อการ จัดสวัสดิการภายในส่วน ราชการ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ การมอบนโยบาย เรื่องระบบติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของจังหวัด ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สป. ๑ ชั้น ๘ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

เหตุผลความจำเป็น ตามมาตรา ๒๖ (๓) แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คำสั่ง ปกค. เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ศปคม. จังหวัด คดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม เหตุผลความจำเป็น ตามมาตรา ๒๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดระบบงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งช่วยเหลือเยียวยาและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีคำสั่งที่ ๓/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด (ศปคม.จังหวัด) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ทาง พม. ได้รับอีเมล์จากองค์กรพัฒนาเอกชนรายงานความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์คดีหนึ่งที่เกิดเหตุเมื่อหลายปีก่อนในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม แต่กลับหลุดรอดออกจากระบบการติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ไม่มีการรายงานความคืบหน้าจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๆ ที่ในส่วนกลางประชุมคณะกรรมการระดับชาติกันทุกเดือน ปลัด พม. จึงได้เสนอคณะกรรมการ ปกค. กำหนดให้จังหวัดจัดประชุมคณะอนุกรรมการ ศปคม.จังหวัด เป็นประจำทุกเดือน เพื่อจัดระบบการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้เป็นปัจจุบัน รวดเร็ว ทันการณ์ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ระบบติดตามการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คณะกรรมการ ปกค. ศปคม.จังหวัด พมจ. สถานคุ้มครองฯ บ้านพักเด็กฯ ตำรวจภูธร อัยการจังหวัด หน่วยงานอื่น จึงขอความร่วมมือให้คณะอนุกรรมการ ศปคม.จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานและความคืบหน้าต่อที่ประชุม แล้วให้ พมจ. ส่งผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้ พม. ทราบ ทุกวันที่ ๗ ของเดือน เพื่อจะได้ประมวลเสนอคณะกรรมการ ปกค. ต่อไป ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงฯ ได้สนับสนุนงบประมาณเป็นค่าเบี้ยประชุม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการประชุมดังกล่าว โดยอยู่ระหว่างโอนงบประมาณให้จังหวัดตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ในส่วนของแบบฟอร์มรายงานที่จัดส่งให้จังหวัด จะเป็นแบบเดียวกับที่ส่วนกลางใช้ประกอบการจัดทำรายงานประจำปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (พม. ได้แจ้งจังหวัดไปแล้วว่าสามารถดาวน์โหลดแบบรายงานได้ที่เว็บไซต์ http://www.nocht.m-society.go.th/) http://www.nocht.m-society.go.th/

การติดตามคดี (Prosecution) รายงานเชิงปริมาณทุกครั้งที่มีการประชุม ศปคม.จังหวัด ๑. ตำรวจภูธรจังหวัด ๑.๑ จำนวนคดีที่ดำเนินการสอบสวน จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๑.๒ สถิติการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำแนกตามเพศ อายุ และสัญชาติ ๒. อัยการจังหวัด ๒.๑ จำนวนการฟ้องคดีต่อศาล จำนวนคดี/จำเลย จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๒.๒ จำนวนจำเลยที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษถึงที่สุด และบทลงโทษ รายงานเชิงคุณภาพเฉพาะคดีสำคัญ การติดตามคดีค้ามนุษย์ ขอให้หน่วยงานดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายของแต่ละจังหวัด รายงานผลการดำเนินคดีค้ามนุษย์เชิงปริมาณ ทุกครั้งที่มีการประชุม ดังนี้ ตำรวจภูธรจังหวัด เช่น ๑.๑ จำนวนคดีที่ดำเนินการสอบสวน จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๑.๒ สถิติการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำแนกตามเพศ อายุ และสัญชาติ ๒. อัยการจังหวัด เช่น ๒.๑ จำนวนการฟ้องคดีต่อศาล จำนวนคดี/จำเลย จำแนกตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ ๒.๒ จำนวนจำเลยที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษถึงที่สุด และบทลงโทษ นอกจากนี้ ขอให้รายงานเชิงคุณภาพเฉพาะคดีสำคัญ เช่น คดีที่มีความซับซ้อน คดีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง คดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ คดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม และต่างประเทศ รวมทั้งคดีที่ต้องการการสนับสนุนจากคณะกรรมการ ปกค. เพื่อคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินคดี เป็นต้น

การคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) รายงานผลการช่วยเหลือผู้เสียหายทั้งเชิงปริมาณ จำนวนผู้เสียหายทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่เข้ารับการคุ้มครอง จำแนกตาม อายุ เพศ สัญชาติ และตามประเภทของการถูกแสวงหาประโยชน์ ผู้เสียหายที่ออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองฯ เชิงคุณภาพ : กรณี (case) ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้าจากการ ดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครองช่วยเหลือ ขอให้หน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ซึ่งอาจรวมถึงองค์กรเอกชนด้วย) รายงานผลการช่วยเหลือผู้เสียหายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทุกครั้งที่มีการประชุม เช่น จำนวนผู้เสียหายทั้งคนไทยและคนต่างด้าวที่เข้ารับการคุ้มครอง จำแนกตามอายุ เพศ สัญชาติ และตามประเภทของการถูกแสวงหาประโยชน์ จำนวนผู้เสียหายที่ออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองฯ (เฉพาะจังหวัดที่มีสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ และสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด) ๓. กรณี (case) ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้าจากการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย

การป้องกัน (Prevention) จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยของการค้า มนุษย์ จำนวนครั้งในการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการ/โรงงาน/เรือประมง เพื่อ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลของการตรวจดังกล่าว การป้องกัน ขอให้หน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการป้องกัน เช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด แรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ประมงจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำรวจน้ำ ท่องเที่ยวจังหวัด ฯลฯ รายงานผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ดังนี้ ๑. จำนวนบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ๒. จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องภัยของการค้ามนุษย์ ๓. จำนวนครั้งในการตรวจแรงงาน/สถานประกอบการ/โรงงาน/เรือประมง เพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผลของการตรวจดังกล่าว เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ข้อมูลที่ได้เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของจังหวัด ไม่ใช่ “การ จับผิด” ไม่มีค้ามนุษย์ : อย่าไปทำให้มี มีเยอะ : อย่าปกปิด กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่ใช่เกี่ยงงาน : แต่บูรณาการงานร่วมกัน ขอฝากข้อพึงระวัง ดังนี้ วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการจัดระบบการติดตามงานฯ คือ เพื่อจังหวัดจะได้นำข้อมูลไปสู่การกำหนดนโยบายของจังหวัดในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น เร่งรัดการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย การประสานงานกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้มีการสืบพยานผู้เสียหายที่รวดเร็วขึ้นก่อนส่งผู้เสียหายกลับภูมิลำเนา/ประเทศต้นทาง เร่งรัดขั้นตอนการจัดให้ผู้เสียหายออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครอง การป้องกันไม่ให้คนไทยตกเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ เป็นต้น แต่ไม่ใช่ “การจับผิด” จังหวัดต่าง ๆ จึงขอให้อย่าปั้นตัวเลข ปั้นคดี ไม่มีคดีค้ามนุษย์ อย่าไปพยายามจับกุม อย่าไปพยายามคัดแยกให้เป็นผู้เสียหายให้ได้ ในทางกลับกัน พื้นที่ใดมีการค้ามนุษย์มาก ก็อย่าปกปิด ต้องช่วยกันเอาข้อมูลมาหารือกันในที่ประชุม เพื่อจะได้ดำเนินการในทุกมาตรการทั้งดำเนินคดี คุ้มครอง และป้องกันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีหลายส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน แต่ไม่ใช่เพื่อให้เกี่ยงงานกัน แต่ขอให้บูรณาการร่วมกันในรูปแบบของทีมสหวิชาชีพต่อไป

รับเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นค้ามนุษย์ รับเรื่องราวร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นค้ามนุษย์ E-mail : tiptops.office@gmail.com tip = trafficking in persons (ค้ามนุษย์) = การส่งข่าว/เคล็ดลับ ps = Permanent Secretary (ปลัดกระทรวง) Tel : 0 2281 0153 ขอพบ : นัดหมายได้ที่สำนักงานเลขานุการ ปคม. (ตึก ๕ ชั้น ๓ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สุดท้าย ประเด็นที่ปลัดกระทรวงฯ ให้ความสำคัญ คือ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ หลายปีติดต่อกัน มักระบุว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ในส่วนกลางก็เรียกร้องกับฝ่ายสหรัฐฯ มาโดยตลอดว่า ขอรับข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เพื่อจะได้ดำเนินการให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ปลัดกระทรวงฯ จึงได้เปิดช่องทางเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ รับแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่นการค้ามนุษย์ ไว้ ๓ ช่องทาง คือ e-mail : tiptops.office@gmail.com ทางโทรศัพท์ เบอร์ ๐ ๒๒๘๑ ๐๑๕๓ เข้าพบปลัดกระทรวงฯ เพื่อให้ข้อมูลด้วยตนเอง สามารถนัดหมายได้ที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.)