เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2552)
ลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของรัฐวิสาหกิจจะเป็นชั้นต่ำกว่าสายสะพายมีชื่อเรียกตามลำดับ ดังนี้ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชฯ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นแรก (บ.ม.) ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี บริบูรณ์นับจากวันที่เริ่มจ้างจนถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของปีที่ขอพระราชทาน ต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างาน (ระดับ 5,6) มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์ นับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 4 ธันวาคม ของปีที่ขอรับพระราชทานเครื่องราช ในตำแหน่งหัวหน้างานต้องมีผู้ใต้บังคับบัญชา หรือมีสายการบังคับบัญชา หากดำรงตำแหน่งประจำหรือรักษาการไม่มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นแรก (2) กรณีดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน (ระดับ 6) ครบ 5 ปีบริบูรณ์ และในปีนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วน หรือผู้จัดการ (ระดับ 7) การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ให้เลื่อนเป็นชั้นสูงกว่า บ.ม. คือ ชั้น บ.ช. เนื่องจากตำแหน่งสูงขึ้นได้ตามลำดับ ดังนี้
ตำแหน่ง ชั้นที่เริ่มขอ ชั้นสุดท้ายที่ขอ หัวหน้างาน (ระดับ 5,6) บ.ม. จ.ม. หัวหน้าส่วน,ผู้จัดการ (ระดับ 7) บ.ช. จ.ช. หัวหน้าฝ่าย (ระดับ 8) ผู้อำนวยการสำนัก (ระดับ 9) ต.ม. รองผู้อำนวยการ (ระดับ 10) ต.ช. ผู้อำนวยการ (ระดับ 11) ป.ม.
การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ตามตำแหน่ง การขอเลื่อนชั้นตราเครื่องราชฯ ในลำดับที่สูงขึ้นเว้นระยะไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่ปีที่ได้รับเครื่องราชฯ ชั้นสุดท้าย โดยไม่เกินชั้นตราตามตำแหน่ง (ตารางชั้นตราเครื่องราช) การขอเลื่อนชั้นตราตามตำแหน่งที่ได้รับ ให้เลื่อนชั้นตราที่สูงขึ้นได้โดยเว้นระยะไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับเครื่องราชฯ ชั้นสุดท้าย
หลักเกณฑ์อื่นๆ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาติให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ถูกลงโทษสถานลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน พักงาน ในปีที่ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ไม่อยู่ระหว่างสอบสวนทางวินัยในปีที่ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ในปีที่ขอพระราชทานเครื่องราชฯ ต้องไม่อยู่ในกลุ่มของผู้ที่ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในปีนั้น ได้รับการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ขอพระราชทาน เครื่องราชฯ ได้
การเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิต เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นผู้ถูกลงโทษให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยของหน่วยงาน ถูกถอดออกจากตำแหน่งเนื่องจากระทำผิดวินัยหรือทุจริต ประพฤติตนไม่สมเกียรติหรือนำเครื่องราชฯ ไปใช้ในกรณีไม่สมควร ผู้เกษียณอายุที่ไม่ประสงค์เก็บรักษาเหรียญเครื่องราชฯ