ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ ออกร้านแสดงกิจกรรมศูนย์ฯ ในงานกาชาดจังหวัดแพร่ ปี 2550 (วันที่ 7-15 มกราคม 2550) ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ เป็นประจำทุกเดือนคณะกรรมการจะนำปัญหาอุปสรรคที่พบเจอมาปรึกษาหารือในที่ประชุม ศูนย์บริการฯ มีเงินกองทุนศูนย์ฯ โดยการบริหารจัดการของคณะกรรมการมีบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีข้อตกลงร่วมให้คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติตามกฎกติกา
กิจกรรมดีเด่นด้านการบริหารจัดการศูนย์บริการฯ (ต่อ) มีการให้ขวัญกำลังใจต่อคณะกรรมการโดยจัดทำเสื้อทีมให้ปีละ 1 ชุด คณะกรรมการศูนย์ฯ ร่วมออกหน่วยเคลื่อนที่กับเทศบาลตำบล แม่หล่ายทุกครั้ง โดยให้บริการความรู้ด้านการเกษตรตามฤดูกาล คณะกรรมการศูนย์ฯ จะร่วมเป็นคณะกรรมการประกวดหมู่บ้านร่วมกับเทศบาลตำบลแม่หล่ายทุกปี จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 6 ศูนย์ โดยดำเนินการที่หมู่ 2,3,4 และ หมู่ 7 เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรในแต่ละหมู่บ้านที่ร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2550
กิจกรรมของศูนย์บริการฯ ดีเด่น ที่ได้รับการยอมรับ เรื่อง การทำการเกษตรแบบพอเพียง ชื่อกิจกรรม ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่หล่าย อำเภอแพร่ ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ปลาดุกชีวภาพ, การปลูกผักปลอดสารพิษ ขั้นตอนและวิธีการ - การเลี้ยงปลาดุกชีวภาพ ในบ่อพลาสติก ขุดบ่อลึก 60 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร จะปล่อยปลาได้ประมาณ 800 – 1,000 ตัว โดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ ซึ่งบำบัดน้ำโดยน้ำหมักชีวภาพใช้ระยะเวลาเลี้ยงนาน 3 – 4 เดือน ปลาจะเจริญเติบโตได้ดี
กิจกรรมของศูนย์บริการฯ ดีเด่น ที่ได้รับการยอมรับ (ต่อ) ไม่ค่อยจะมีโรคมาเบียดเบียน และไม่มีปัญหาด้านการขาย เพราะจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่บ้านในราคากิโลกรัมละ 30 บาท ผลผลิตจะขายได้ประมาณ 4,200 บาท ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิตประมาณ 3,150 บาท คาดว่าจะมีกำไรประมาณ 1,050 บาท - การปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักจำพวกผักบุ้งจีน, ผักสลัด, ผักกาดฮ่องเต้, ผักกวางตุ้ง, คะน้า ฯลฯ โดยไม่ใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมี โดยจะมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพและป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ ซึ่งสามารถจำหน่ายผักได้ราคาสูงกว่าท้องตลาด และจะมีลูกค้าประจำมารับซื้อ คาดว่าจะมีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 80 – 10 บาท
กิจกรรมด้านจุดถ่ายทอดวิทยากรเกษตรกรที่ดีเด่น เรื่อง การทำการเกษตรแบบพอเพียง สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ต.แม่หล่าย อ.เมืองแพร่ ชื่อวิทยากรเกษตรกร นายมนูญ วงค์อรินทร์ ความเชี่ยวชาญของวิทยากรเกษตรกร ทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างพอเพียงได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้เป็นจุดศึกษาดูงานของคนในหมู่บ้าน, ตำบลใกล้เคียง อำเภอต่างๆ ในจังหวัดแพร่ และจังหวัดใกล้เคียง
การให้บริการความรู้การเกษตร การถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การปลูกผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงกบ การทำน้ำหมักชีวภาพน้ำ การผลิตปุ๋ยชีวภาพแห้ง การเลี้ยงมดแดง
ผลงานอื่นๆ ที่เป็นจุดเด่นของศูนย์บริการฯ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำปุ๋ยชีวภาพ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปข้าวแต๋น, หมูสวรรค์ จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรียนชาวนา (การผลิตข้าวอินทรีย์) ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงชุมชน (ศูนย์เครือข่าย จำนวน 6 จุด)