เครื่องถ่ายเอกสาร
ความหมายและความสำคัญ เครื่องถ่ายเอกสารมีวิวัฒนาการมาจากระบบการใช้กล้องถ่ายภาพ เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ได้รับความนิยมและมีความจำเป็นต่อหน่วยงานเป็นในด้านการทำสำเนาเอกสารให้มีความชัดเจน เครื่องถ่ายเอกสารที่มีทั้งแบบถ่ายเอกสารธรรมดาและแบบย่อขยาย มีทั้งชนิดสีขาว-ดำ และสีธรรมชาติ
หลักการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร หลักการใช้กระแสไฟฟ้าสถิต เป็นหลักการทำงานโดยต้นฉบับที่จะใช้ถ่ายเอกสารนั้น เมื่อได้รับแสงจากหลอดไฟพลังงานสูง ภาพต้นฉบับก็จะถูกสะท้อนแสงไปยังลูกกลิ้งที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ และเนื่องจากพื้นผิวของลูกกลิ้งเป็นตัวนำแสงซึ่งมีความไวต่อแสงสว่าง บริเวณที่สัมผัสแสงสว่างก็จะสูญเสียประจุไฟฟ้าสถิตไป ต่อหน้าถัดไป
เนื่องจากการสะท้อนแสงจากต้นฉบับทำให้คงเหลือประจุไฟฟ้าสถิตที่ลูกกลิ้งตามรูปแบบที่เป็นสีเข้มของต้นฉบับ และประจุไฟฟ้าที่เหลืออยู่บนลูกกลิ้งนี้เองที่จะดูดผงหมึกเข้าไปติดและพิมพ์ลงบนกระดาษ
ประเภทของเครื่องถ่ายเอกสาร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. เครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้ง ใช้ผงหมึก(ผงคาร์บอนและเรซิน) ผสมกับสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำผงหมึกให้ไปติดลูกกลิ้ง ได้แก่ ผงเหล็กกล้า ผงแก้ว และเม็ดทรายหรือซิลิกา เมื่อผงหมึกถูกดูดไปเกาะติดที่ลูกกลิ้งแล้ว สารตัวนำผงหมึกเหล่านี้ก็จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่
2. เครื่องถ่ายเอกสารระบบเปียก ใช้สารละลายไฮโดรคาร์บอน โดยปกติใช้สารไอโซดีเคน เป็นตัวนำหมึกไปติดที่ลูกกลิ้ง ในกระบวนการถ่ายเอกสารระบบเปียกนี้ กระดาษจะถูกทำให้ชื้นด้วยสารไอโซดีเคนก่อนที่จะนำหมึกไปติดที่ลูกกลิ้ง จากนั้นความร้อนหรืออากาศก็จะถูกใช้เป็นตัวช่วยให้กระดาษแห้งหลังจากถ่ายทอดภาพจากต้นฉบับได้แล้ว
ขั้นตอนการถ่ายเอกสาร 1. วางต้นฉบับที่จะถ่ายเอกสารคว่ำหน้าลงบนแผ่นกระจกของ เครื่องถ่ายเอกสาร 2. กดปุ่มเลือกขนาดของขนาดของกระดาษที่ต้องการเป็นสำเนา 3. หากต้องการสำเนามากกว่า 1 ฉบับให้กดปุ่มตัวเลขเลือก จำนวนสำเนาที่ต้องการ 4. กดปุ่มถ่ายเพื่อให้ได้สำเนาตามที่ต้องการ ต่อหน้าถัดไป
5. ก่อนการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ผู้ใช้ควรศึกษารายละเอียด วิธีใช้และคำแนะนำต่าง ๆ จากคู่มือของเครื่อง 6. การติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสาร ไม่ควรตั้งในที่ที่มีฝุ่นมาก ๆ เพราะจำทำให้ฝุ่นเข้าไปในเครื่องทำให้เกิดการขัดข้อง 7. การใช้เครื่องถ่ายเอกสารควรระวังรวดเย็บกระดาษจะตกเข้า ไปในเครื่อง 8. ควรตรวจดูผงหมึกให้มีปริมาณเพียงพอในการใช้งาน ต่อหน้าถัดไป
9. กระดาษที่นำมาใช้ถ่ายเอกสารจะต้องไม่มีความชื้น 10. ปิดสวิตซ์ไฟหลังจากเลิกใช้งาน ไม่ควรเปิดเครื่องทิ้งไว้ หากไม่ได้ใช้งาน เพราะจะทำให้เครื่องร้อน 11. ใช้ผ้าคลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าเครื่อง 12. ควรคลี่กระดาษก่อนเข้าเครื่องและไม่ใส่กระดาษลงไปใน ถาดป้อนกระดาษ เกินขีดจำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษติด
อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร 1. ก๊าซโอโซนจะถูกปล่อยออกมาในกระบวนการถ่ายเอกสาร โดยทั่วไปโอโซนเป็นก๊าซทำความระคายเคือง แต่การสัมผัสก๊าซนี้เป็นเวลานานอาจทำอันตรายต่อระบบหายใจและระบบประสาทได้ ต่อหน้าถัดไป
2. ฝุ่นผงหมึก ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย รวมไปถึงสารที่อาจก่อมะเร็ง และสารที่เป็นสาเหตุของภูมิแพ้ 3. แสงเหนือม่วง มักทำอันตรายต่อตา การสัมผัสแสงจ้าที่เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเวลานานจะเป็นสาเหตุของอาการปวดตาและปวดศีรษะ
การดูแลรักษา ก่อนทำความสะอาดหรือทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาใด ๆ จะต้องปิดสวิทช์หลักไปที่ตำแหน่งปิด (ศูนย์) แล้วปฏิบัติดังนี้ 1. ทำความสะอาดฝาคอบต้นฉบับและกระจกโดยเปิดฝาคอบ ต้นฉบับ และใช้ผ้านุ่ม ที แอลกอฮอล์เช็ดด้านใต้ของฝาปิด และเช็ดต้นฉบับ 2. เวลาเช็ดอย่าใช้ทินเนอร์หรือสารทำลายอื่น ๆ ต่อหน้าถัดไป
3. ทำความสะอาดชาร์จเจอร์หลักโดยระวังอย่าให้เส้นลวดของ ชาร์จเจอร์หลักขาด 4. ตั้งเครื่องในตำแหน่งที่อุณหภูมิไม่ร้อนหรือไม่ชื้นจนเกินไป 5. ทำความสะอาดตัวเครื่องด้านนอกด้วยแอลกอฮอล์ให้สะอาด 6. ไม่เปิด-ปิดเครื่องบ่อย ๆ ควรเตรียมเอกสารที่จะถ่ายให้พร้อม ในครั้งเดียว 7. รอให้เครื่องคลายความร้อน ปิดสวิทช์ ถอดปลั๊ก แล้วใช้ผ้า คลุมเครื่องทุกครั้ง
โดย นางสาวพันทิวา แสงฉาว เลขที่ 25 ปวส.2/1