สรุปบทเรียนโครงการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม โรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จังหวัดหนองบัวลำภู นางวราภรณ์ ชาสังข์
สถานบริการ/เขตรับผิดชอบ ประเด็นปัญหา ผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็ก ในปีงบประมาณ 2552 จังหวัดหนองบัวลำภู อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ร้อยละ 7.84 และในพื้นที่ 6 อำเภอ อำเภอนาวัง มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่สูงที่สุด ได้ร้อยละ 9.79 ดังตาราง สถานบริการ/เขตรับผิดชอบ เกณฑ์ ผลงาน อ.เมืองหนองบัวลำภู <ร้อยละ 7 8.96 อ.ศรีบุญเรือง 7.05 อ.นากลาง 4.50 อ.สุวรรณคูหา 7.43 อ.โนนสัง 3.81 อ.นาวัง 9.79 รวมผลงาน 7.84
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รอง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และให้ตัวชี้วัดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500ผ่านเกณฑ์ 2. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ84พรรษา วัตถุประสงค์รอง 1. มารดาและทารกมีความปลอดภัย 2. พัฒนาระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐาน 3. สร้างความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์และชุมชนให้เห็นความสำคัญของ ปัญหาทารกน้ำหนักตัวน้อย
กิจกรรม/กลวิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กทุก 3เดือน 2. จัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์งานอนามัยแม่และเด็ก 3. อบรมจิตอาสาอนามัยแม่และเด็ก 4. จัดทำ Spot วิทยุและป้าย ประชาสัมพันธ์ รณรงค์
กิจกรรม/กลวิธีการดำเนินงาน 5. เพิ่มช่องทางในการให้คำปรึกษากันหญิงตั้งครรภ์ 6. จัดทำปฏิทินการตั้งครรภ์ 7. มอบรางวัลให้ อสม.ที่ชักชวนหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์เร็วก่อน 12สัปดาห์
กิจกรรม/กลวิธีการดำเนินงาน 8. จัดการอบรมเข้าค่ายเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต (โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ)ให้กับเยาวชนในโรงเรียนนำร่อง 9. มอบชุดของขวัญให้กับหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่คลอดบุตรที่ทารกน้ำหนักมากกว่า2500กรัม 10. จัดระบบการประสานงานและส่งต่อในเครือข่าย กรณีครรภ์เสี่ยงที่ชัดเจน
กิจกรรม/กลวิธีการดำเนินงาน 11. ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 12. สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่ละเด็กประจำปี และคืนข้อมูลแก่ทีมงานอนามัยแม่และเด็ก
ผลการดำเนินงาน ข้อมูล มารดาและทารก เป้าหมาย (ร้อยละ) ผลงาน ปี2552 (ร้อยละ) ผลงาน ปี2553 (ร้อยละ) ผลงาน ปี2554 (ร้อยละ) 1. อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12wks 2. ฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ 3. ทารกขาดออกซิเจนระหว่างคลอด 4. อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500gm 5. ทารกอายุ2วันขึ้นไปมีผลTSHผิดปกติ 6. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน >50 ≥90 <30/พัน LB <7 <20 >30 60.24 78.32 27.97 9.79 27.13 36.75 68.46 88.46 23.07 6.92 17.11 47.50 63.89 85.18 9.27 5.55 3.70 50.37
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผู้นำให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานกับภาคีเครือข่าย และมีความสามารถในการประสานงาน รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจที่ดี และให้การสนับสนุนแก่ทีมงาน/ผู้ร่วมงาน เป็นอย่างดี ทีมงานอนามัยแม่และเด็ก มีความมุ่งมั่น เสียสละ ชุมชน ท้องถิ่น และเครือข่ายสาธารณสุข ทุกระดับ เห็นความสำคัญของการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสุขภาพชีวิตของแม่และเด็ก
ปัญหาและอุปสรรค 1. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ฝากครรภ์ที่อื่น แล้วกลับมาคลอดที่บ้านยากต่อการติดตาม 2. หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อย/วัยรุ่น มักไม่ใส่ใจและขาดความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ 3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยได้รับการแก้ไขหรือพบแพทย์ล่าช้า 4. บุคลกรมีน้อย เปลี่ยนผู้รับผิดชอบบ่อย ขาดความรู้และทักษะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์
ข้อเสนอแนะ - ต่อบุคลากร 1. บุคลากรควรเฝ้าระวัง ดูแลและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน และ มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์โดยการสร้างความตระหนักให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีส่วนร่วมของหญิงตั้งครรภ์ในทุกกิจกรรม 2.บุคลากรควรส่งเสริมภาวะสุขภาพของผู้หญิงตั้งแต่เยาว์วัยให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
ข้อเสนอแนะ - ต่อประชาชน 1. ควรให้ความสำคัญ ร่วมมือและสนับสนุน กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ 2.ควรตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเมื่อทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2500 กรัม
ข้อเสนอแนะ - ต่อหน่วยงานภาครัฐ ควรให้ความร่วมมือและสนับสนุนจัดกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์/วัยเจริญพันธุ์มากขึ้น
จบแล้วจ้า...