ลักษณะทางกายภาพของ ทวีปยุโรป
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 สมาชิกกลุ่ม เด็กชาย พิทักษ์สิน จิตตะ เลขที่ 6 เด็กหญิง กมลนัทธ์ ตาวงศ์ เลขที่ 11 เด็กหญิง ญาณวัฒนา สุวรรณรัตน์ เลขที่ 17 เด็กหญิง พิชชาภา ลาภวัตสกุล เลขที่ 24 เด็กหญิง พิชามญชุ์ ภู่อร่าม เลขที่ 25 เด็กหญิง วรดา ภานุทัต เลขที่ 28 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
ขนาด ทำเลที่ตั้ง และจำนวนประเทศ แผ่นดินของทวีปยุโรปทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือ พิกัดทางภูมิศาสตร์ คือละติจูดระหว่าง 36-71 องศาเหนือ ลองจิจูดระหว่าง 9 องศาตะวันตก ถึง 66 องศาตะวันออก ทวีปยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ในบรรดาทวีปทั้ง 7 ทวีปของโลก ทวีปยุโรปมีประเทศใหญ่น้อยรวมทั้งสิ้น 43 ประเทศ - ประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดคือ สหพันธรัฐรัสเซีย (3,893,348 ตารางกิโลเมตร) - รัฐอิสระที่มีพื้นที่เล็กที่สุดคือ นครรัฐวาติกัน (0.44 ตารางกิโลเมตร)
อาณาเขต ทิศเหนือ - จรดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ ทวีปยุโรปมีอาณาเขตติดต่อกับน่านน้ำมหาสมุทรและดินแดนต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ - จรดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ - จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออก - จรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก - จรดแผ่นดินทวีปเอเชีย
พรมแดนธรรมชาติที่กั้นระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ดินแดนทางตะวันออกของทวีปยุโรป มีอาณาเขตจรดแผ่นดินทวีปเอเชีย โดยมีพรมแดนธรรมชาติเป็นแนวกั้นแบ่งเขตแดน ดังนี้ เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลแคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ทะเลดำ
โครงสร้างธรณีวิทยา เขตยุโรปใต้และยุโรปตะวันตก ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของทวีปยุโรป สรุปได้ 2 ลักษณะ คือ เขตยุโรปใต้และยุโรปตะวันตก โครงสร้างเปลือกโลกอยู่ในยุคหินใหม่ ประกอบด้วย เทือกเขาสูง ที่ราบสูง และเกาะ ซึ่งเปลือกโลกยังคงมีความเปลี่ยนแปลงไม่มั่นคงจึงอยู่ในแนวแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิด เขตยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออก โครงสร้างเปลือกโลกอยู่ในยุคหินเก่า ซึ่งเปลือกโลกมีความมั่นคง มีภูเขาไม่สูงชันมากนัก บริเวณยุโรปเหนือมีลักษณะชายฝั่งทะเลเว้าๆแหว่งๆเป็นอ่าวเล็กๆ เกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง เรียกว่า “ ชายฝั่งแบบฟยอร์ด ” ( Fjord ) และยังมีทะเลสาปใหญ่น้อยอีกจำนวนมาก
บรรณานุกรม ออนไลน์เข้าถึงได้จาก :httt://th.wikipedia.org/wiki/:2553