การบริหารเวชภัณฑ์
การบริหารเวชภัณฑ์ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ที่มิใช่ยา พ.ศ.2543 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2546 การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ พ.ศ.2542 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 กันยายน 2546
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535
ระเบียบพัสดุฯ วิธีซื้อและวิธีจ้าง วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท วิธีสอบราคา เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท วิธีพิเศษ เกิน 100,000 บาท และเป็นเฉพาะกรณีที่กำหนด วิธีกรณีพิเศษ ซื้อจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ ผลิตพัสดุนั้นและนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือ มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อ
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 27 รายงานขอซื้อ ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 27 รายงานขอซื้อ ต้องขออนุมัติซื้อก่อนดำเนินการจัดซื้อ การขออนุมัติซื้อต้องจัดทำรายงานเสนอดังนี้ 1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ 2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ 3) ราคามาตรฐานหรือราคากลางหรือราคาที่เคยซื้อครั้งหลังสุด 4) วงเงินที่จะซื้อหรือเงินที่ประมาณการ 5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น 6) วิธีที่จะซื้อ และเหตุผลที่ซื้อโดยวิธีนั้น 7) ข้อเสนออื่น ๆ
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 60 การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ให้จัดซื้อยาตามชื่อสามัญใน ED สธ. ให้ใช้เงินงบประมาณซื้อยา ED ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 61 และ 62 ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ถ้า GPO ผลิตต้องซื้อจาก GPO โดยราคายาต้องไม่สูงกว่าราคากลางเกิน 3% ยา ED และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ GPO มิได้ผลิตแต่มีจำหน่าย ซื้อจากผู้ขายหรือผู้ผลิตรายใดก็ได้โดย - สอบราคา/ประกวดราคาให้แจ้ง GPO - ตกลงราคา/พิเศษ ซื้อไม่สูงกว่าราคากลาง
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 63 และ 64 กรณีมีกฎหมายหรือมติ ครม. กำหนดให้ซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานใด ให้ซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ กสธ. มีหน้าที่แจ้งเวียน - บัญชีรายการยา ED - ราคากลางของยา ED - รายการเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ให้ GPO แจ้งรายการยา ED และรายการ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาที่ ผลิตและมีจำหน่าย
ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 10 บทกำหนดโทษ ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ กระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำโดยปราศจากอำนาจ ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกเป็นอย่างต่ำ ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายแต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือน ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือนโดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร
ระเบียบการจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ของกระทรวงสาธารณสุข พ. ศ ระเบียบการจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2543 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2546
สาระสำคัญ เวชภัณฑ์ แบ่งออกเป็น ยา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา การบริหารยา : คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ผู้อำนวยการ รพ.เป็นประธาน เภสัชกร เป็นเลขานุการ 3. การบริหารเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา : คณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ผู้อำนวยการ รพ. เป็นประธาน เภสัชกร ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขานุการ
การจัดซื้อยาจะต้องจัดซื้อจากผู้ขายที่ได้รับใบอนุญาตขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา การจัดซื้อยาแผนปัจจุบันที่ผลิตในประเทศ สถานที่ผลิตยาจะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานการผลิตยาตาม GMP ในหมวดยาที่เสนอขาย ยาที่จัดซื้อจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา กรณียาที่จัดซื้อเป็นยานำเข้า สถานที่ผลิตยาจะต้องได้ใบรับรองมาตรฐานการผลิตยาตาม GMP จากประเทศที่ผลิตและได้รับอนุญาตให้นำเข้า รวมทั้งได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
ให้หน่วยราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่มีมูลค่าสูงให้ดำเนินการจัดซื้อรวม ให้มีหนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ยาทุกรุ่นที่ส่งมอบจากผู้ผลิต ให้หน่วยราชการรายงานผลการจัดซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้กับศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาของกระทรวงสาธารณสุข
http:://dmsic.moph.go.th
มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพ ระบบบริหารเวชภัณฑ์ พ.ศ.2542 มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพ ระบบบริหารเวชภัณฑ์ พ.ศ.2542
1. มีการกำหนดกรอบรายการยาในบัญชีรายการยาของ รพ.แต่ละระดับ หลักการสำคัญ : 1. มีการกำหนดกรอบรายการยาในบัญชีรายการยาของ รพ.แต่ละระดับ - รพศ. (รพ.แพทย์) มีจำนวนไม่เกิน 750 รายการ - รพศ.อื่นๆ มีจำนวนไม่เกิน 700 รายการ - รพท. มีจำนวนไม่เกิน 550 รายการ - รพช. มีจำนวนไม่เกิน 375 รายการ - สอ. มีจำนวนไม่เกิน 100 รายการ
2. มีการกำหนดกรอบสัดส่วนของยา ED ในบัญชีรายการยาของ รพ.แต่ละระดับ - รพศ. ไม่น้อยกว่า 70% - รพท. ไม่น้อยกว่า 80% - รพช. ไม่น้อยกว่า 90% - สอ. ต้องใช้ยา ED ทุกรายการ
3. One generic name - One brand name (Single Standard) 4. ยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน ให้คัดเลือกไว้ใช้ไม่เกิน 2 รายการ 5. ให้ยาของ สอ.เป็นส่วนย่อยของยา รพช. และยาของ รพช.ก็เป็นส่วนย่อยของยา รพศ./รพท.ของจังหวัดเดียวกัน
6. ให้มียาคงคลัง ไม่เกิน 3 เดือน 7. ให้แพทย์สั่งใช้ยา โดยใช้ชื่อสามัญทางยา 8. ให้มีการจัดซื้อยาร่วมในระดับจังหวัด ในกลุ่มของยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่มีราคาแพง และมีการใช้เยอะ
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 มีนาคม 2550
กำชับแพทย์ :- สั่งยาโดยใช้ชื่อสามัญ (Generic name) ข้อเสนอ ปปช. 1. กำชับแพทย์ :- สั่งยาโดยใช้ชื่อสามัญ (Generic name) ใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นตัวเลือกแรก ใช้งบประมาณจัดซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซื้อยาตามระเบียบ สนร.ว่าด้วยการพัสดุ ข้อ 61 ,62
ให้ดำเนินการจัดซื้อยาร่วมในระดับเขต ข้อเสนอ ปปช. 2. ให้ดำเนินการจัดซื้อยาร่วมในระดับเขต
หลักเกณฑ์การจัดซื้อร่วม ข้อเสนอ ปปช. 3. หลักเกณฑ์การจัดซื้อร่วม คัดเลือกกรรมการต่อรองราคา มีบุคคลภายนอกด้วย จัดซื้อโดยสัญญาจะซื้อจะขายฯ (ราคาคงที่ & แบบปรับราคา) ให้ กสธ.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางรวบรวมราคา ให้ผู้ขายรับผิดชอบเก็บสำรองยาให้มีคุณภาพ และส่งให้ผู้ใช้ ตามที่สั่งเป็นคราว ๆ ไป กำชับการเบิกจ่ายชำระเงิน หากการจัดซื้อขัดหรือแย้งกับระเบียบใด ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 กันยายน 2546 เห็นชอบตามมาตรการที่ ป.ป.ช. เสนอ ให้ดำเนินการเฉพาะสถานบริการสาธารณสุข สังกัด กสธ. ก่อน หากได้ผลดีจึงขยายออกไปยังสถานบริการในสังกัดอื่น มอบให้ กสธ. รับไปกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติร่วมกับ คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
ภญ.ดวงตา ผลากรกุล โทร. 02 590 1628 มือถือ 08 9133 7221