ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทางDNAและมุมมองทางสังคมและจริยธรรม ผู้จัดทำ บรรณานุกรม
ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทางDNA และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม
เนื่องด้วยเทคโนโลยีของการสร้าง DNA สายผสม และการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีความกว้างขวางพร้อม ๆ กับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายบนโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ทำให้สังคมเริ่มตระหนักและหวั่นแกรงผลเสียที่อาจเนื่องมาจากเทคโนโลยีนี้ เพราะจากบทเรียนที่มนุษย์ได้รับจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น มักมีผลกระทบอื่น ๆ ตามมาภายหลัง
ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงการปฏิวัติทางการเกษตรกรรม ที่ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะการปฏิวัติดังกล่าวส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างมากมายใน เวลาต่อมา
เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมทั้งในจุลินทรีย์ พืชและสัตว์ ความหวั่นแกรงต่อความผิดพลาดของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เริ่มจากความหวาดกลัวว่าจะเป็นแนวทางการเกิดเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ดื้อ ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยีนต้านทานยาปฏิชีวนะถูกใช้เป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรมสำหรับ เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมทั้งในจุลินทรีย์ พืชและสัตว์
ดังนั้นในการทดลองวิจัยในห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการควบคุม และมีระบบการกำจัดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมทุกชนิด มิให้เล็ดลอดออกไปจากห้องปฏิบัติการวิจัยดังกล่าว ซึ่งเป็น จรรยาบรรณของนักวิจัยที่พึงปฏิบัติและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ หรือไบโอเทค(BIOTEC)ได้ออกระเบียบของปฏิบัติงานวิจัยทางด้านนี้
ในทางเกษตร ประชาชนในหลายประเทศต่อต้านการใช้พืช GMOs และได้สร้างข้อตกลงเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพว่าอาหารที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรม ต้องมีการติดฉลากระบุว่าเป็นพืช GMOs เพื่อสิทธิของผู้บริโภค
ทั้งนี้ด้วยความกังวลว่าพืชพันธุ์ที่มียีนของสิ่งมีชีวิตอื่นจะเป็นภัยต่อสุขภาพ และอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อาจถ่ายยีนต้านทานโรค ยีนต้านทานแมลง หรือยาฆ่าแมลงไปยังวัชพืชที่ใกล้เคียงกัน
ทำให้เกิดวัชพืชที่แข็งแรงจนเป็นภัยต่อ การทำการเกษตรโดยรวม เพราะไม่สามารถหาวิธีกำจัดได้ เป็นต้น ทั้งนี้จึงเป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่จะศึกษายืนยังว่าผลกระทบที่สังคมกังวลนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อย เพียงใด และชี้แจงให้สังคมรับทราบในผลการวิจัยที่ถูกต้องเชื่อถือได้ เพื่อให้แนวทางร่วมกันในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
นอกจากความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพที่เนื่องจาก GMOs แล้ว ข้อตระหนักทางสังคมอีกด้านหนึ่งที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีทาง DNA คือ จริยธรรมในการใช้ข้อมูลของจีโนม โดยเฉพาะจีโนมของมนุษย์ ว่าเมื่อค้นคว้าจีโนมมนุษย์สำเร็จ ใครจะสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้ และใช้เพื่อการใดบ้าง
บริษัทประกันภัย ประกันชีวิตจะตรวจยีนของผู้ยื่นขอกรมธรรม์ก่อน การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานจะตรวจยีนต่าง ๆ ก่อนได้หรือไม่ ว่ามีการเสี่ยงในด้านสุขภาพ กาย และ จิตมากน้อยเพียงใด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักเป็นคำถามที่จะตามมาในสังคม เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดีทุกคนควรมีสิทธิในการรัยทราบความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการวางแผนการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วม กันในอนาคต
คณะผู้จัดทำ น.ส. ธัญรัตน์ พิธานพร เลขที่ 16 ก (หาข้อมูล) น.ส. ธัญรัตน์ พิธานพร เลขที่ 16 ก (หาข้อมูล) น.ส. กลมทิพย์ ดิษาภิรมย์ เลขที่ 20 ก (พิสูจน์อักษร) น.ส. ณัฐนันท์ ตันไล้ เลขที่ 22 ก (พิสูจน์อักษร/เรียบเรียง) น.ส. นวลพรรณ อินทรประเสริฐ เลขที่ 23 ก (Design) นายธนัญชัย โพธิวรรณ เลขที่ 1ข (ลำดับเนื้อหา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 เสนอ อาจารย์ บรรจบ ธุปพงษ์
บรรณานุกรม http://edltv.thai.net/courses/735/51biM6-KOs030501.pdf http://www.thaigoodview.com/node/33890?page=0%2C0 http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/3/science/bio2/index6.htm
Thank you