ระบบการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเปิด-ปิด ลิ้นอย่างอัจฉริยะ(VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE) ระบบการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเปิด-ปิด ลิ้นอย่างอัจฉริยะหรือ VVTออกแบบมาเพื่อควบคุมช่วงจังหวะ การเปิด-ปิด ของลิ้นไอดีได้มากถึง 40 องศา ของมุมเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อให้จังหวะการเปิด-ปิดของลิ้นเหมาะ สมกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ซึ่งทำให้เพิ่มแรงบิดของเครื่องยนต์ได้ทุกๆช่วง ความเร็วรอบจังหวะ การเปิด-ปิด ลิ้นไอดีที่แท้จริงขณะนั้นจะตรวจจับโดยเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวแล้วส่งสัญญาณไปที่ กล่องควบคุมคอมพิวเตอร์ของเครื่องยนต์ เพื่อควบคุมจังหวะเปิด-ปิด ของลิ้นถูกต้องตามจังหวะเป้าหมายที่ ี่กำหนดไว้ โครงสร้าง 4.9.1.) ตัวควบคุม VVT-I ประกอบด้วยตัวเรือนที่ถูกขับด้วยโซ่ไทม์มิ่งและข้อต่อกำลังเข้าที่ ใบพัด (Van) ของเพลาลูกเบี้ยวไอดี แรงดันน้ำมันจะส่งมาจากช่องทางน้ำมันด้านล่างหรือด้านล่าช้าที่บริเวณ เพลาลูกเบี้ยวไอดี เป็นผลทำให้ตัวควบคุม VVT-I หมุนรอบๆ ใบพัดเกิดการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเปิด-ปิด ลิ้นไอดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อเครื่องยนต์ดับเพลาลูกเบี้ยวไอดีจะควบคุมให้อยู่ตำแหน่งล่าช้าที่สุด (Retarded) เพื่อ ให้เพิ่มเสถียรภาพในขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ หลังจากเครื่องยนต์สตาร์ทติดแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกจะยังไม่ถูกส่งเข้าไปที่ตัวควบคุม VVT-I และสลักล๊อกจะล๊อกไม่ให้ตัวควบคุม VVT-I หมุน เพื่อป้องกันเสียงดังจากการน๊อค
รูปที่ 4.27 แสดงส่วนประกอบของตัวควบคุม VVT-I
4.9.2.) ลิ้นควบคุมแรงดัน (Oil Control Valve) จะทำหน้าที่ควบคุมตำแหน่งของสพูล วาล์วโดยสัมพันธ์กับสัญญาณควบคุม อัตราส่วนการทำงาน (Duty Control) จาก ECU เครื่องยนต์ ซึ่งจะ ควบคุมทิศทางของแรงดันน้ำมันที่จะส่งไปควบคุมตัวควบคุม VVT-I ให้ไปด้านล่วงหน้าหรือด้านล่าช้า และเมื่อดับเครื่องยนต์ ลิ้นควบคุมแรงดันจะอยู่ในจังหวะช้าที่สุด รูปที่ 4.28 สพูลวาล์ว
การทำงาน ลิ้นควบคุมจะเลือกควบคุม VVT-i เลื่อนไปตำแหน่งล่วงหน้า, ล่าช้า หรือยึดอยู่กับที่นั้นขึ้นอยู่กับสัญญาณ จาก ECU เครื่องยนต์ ตัวควบคุม VVT-i จะหมุนเพลาลูกเบี้ยวไอดีไปในนตำแหน่งล่วงหน้า, ล่าช้า หรือยึด อยู่กับที่นั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของน้ำมันว่าจะถูกส่งไปทิศทางไหน 1. จังหวะล่วงหน้า ( Advance ) เมื่อสัญญาณควบคุม( ล่วงหน้า) จาก ECU เครื่องยนต์ถูกส่ง ไปควบคุมลิ้นให้อยู่ตำแหน่งดังรูปข้างล่างแรงดันน้ำมันจะถูกส่งเข้าไปยังห้องใบพัดด้านล่วงหน้าทำให้เพลา ลูกเบี้ยวหมุนไปทิศทางล่วงหน้า 2. จังหวะล่าช้า ( Retard ) เมื่อสัญญาณควบคุม (ล่าช้า) จาก ECU เครื่องยนต์ถูกส่งไปยังลิ้น ควบคุมแรงดันให้อยู่ตำแหน่งแรงดันดังรูปข้างล่างแรงดันน้ำมันจะถูกส่งเข้าไปยังห้องใบพัดด้านล่าช้าทำให ้เพลาลูกเบี้ยวหมุนไปในทิศทางล่าช้า 3. ตำแหน่งยึดอยู่กับที่ (Hold) เมื่อเพลาลูกเบี้ยวไอดีถูกเลื่อนไปอยู่ตำแหน่งล่วงหน้าหรือล่าช้า ตามที่ECUเครื่องยนต์คำนวนได้แล้วลิ้นควบคุมจะถูกยึดอยู่ตำแหน่งปิดท่อทางน้ำมันทั้งสองด้านเพื่อไม่ให้ น้ำมันเครื่องไหลออกได้ป้องกันไม่ให้เพลาลูกเบี้ยวขยับไปทางล่วงหน้า, หรือล่าช้าได้ ECU เครื่องยนต์จะคำนวนจังหวะที่เหมาะสมของลิ้นไอดีจากความเร็วรอบเครื่องยนต์ ปริมาณ ไอดีตำแหน่งลิ้นเร่ง อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของแต่ละสภาวะการขับรถและส่งสัญญาณไปควบคุมลิ้นควบคุมน้ำมัน นอกจากนั้น ECU เครื่องยนต์ยังรับสัญญาณจากตัวตรวจจับตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวและสัญญาณจากตัวตรวจจับ มุมเพลาข้อเหวี่ยงในการอ้างอิงจังหวะที่แท้จริงของลิ้น เพื่อที่จะคำนวนจังหวะปิด-เปิดของลิ้นได้อย่างถูกต้อง