ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชนิดของคำในภาษาไทย วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ผู้จัดทำ ครูวีรพงศ์ วิเศษสวัสดิ์
ผลการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ ๔.๑ ผลการเรียนรู้ที่ ๕ เข้าใจในชนิดของคำ และหน้าที่ของคำในภาษาไทย
ชนิดของคำในภาษาไทย ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้ ๑. คำนาม ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้ ๑. คำนาม ๒. คำสรรพนาม ๓. คำกริยา ๔. คำวิเศษณ์ ๕. คำบุพบท ๖. คำสันธาน ๗. คำอุทาน
คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียก คนสัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เป็นต้น ตัวอย่าง ฉันอยากไปเที่ยวประเทศฝรั่งเศส
อนุธิดาเป็นคนสวยเธอจึงเป็นที่รักของทุกคน คำสรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนนามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน ตัวอย่าง อนุธิดาเป็นคนสวยเธอจึงเป็นที่รักของทุกคน
อาจารย์คนนี้พูดมากจนนักศึกษาหลับทั้งห้อง คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่น วิ่ง บิน ตาย อ่าน หัวเราะ เป็นต้น ตัวอย่าง อาจารย์คนนี้พูดมากจนนักศึกษาหลับทั้งห้อง
ฉันมีเพื่อนอยู่หนึ่งคนที่กินจุ คำวิเศษณ์ หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม สรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น ตัวอย่าง ฉันมีเพื่อนอยู่หนึ่งคนที่กินจุ
บ้านของฉันอยู่ที่อำเภอทุ่งสง คำบุพบท หมายถึง คำที่ใช้นำหน้านาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกตำแหน่งของคำ เหล่านั้นและแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างคำหรือประโยค ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร ตัวอย่าง บ้านของฉันอยู่ที่อำเภอทุ่งสง
เพราะว่าอากาศหนาวพวกเราจึงไม่สบาย คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม กระชับและสละสลวย เช่น คำว่า และ แล้ว จึง แต่ หรือ เพราะ เหตุเพราะ เป็นต้น ตัวอย่าง เพราะว่าอากาศหนาวพวกเราจึงไม่สบาย
ตัวอย่าง ว้าย ! ใครทำแก้วแตก คำอุทาน หมายถึง คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่น อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น ตัวอย่าง ว้าย ! ใครทำแก้วแตก
โชคดีครับ