ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 49/2554 เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 24 พฤศจิกายน 2554
สรุปสาระสำคัญ " การเลี้ยงสุกรประเภท ก " หมายความว่า การลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือลูกสุกรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือตั้งแต่สองชนิดเป็นต้นไปที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์เกินกว่า 600 หน่วย " การเลี้ยงสุกรประเภท ข " หมายความว่า การลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือลูกสุกรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือตั้งแต่สองชนิดเป็นต้นไปที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 60 หน่วยแต่ไม่เกิน 600 หน่วย " การเลี้ยงสุกรประเภท ค " หมายความว่า การลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือลูกสุกรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือตั้งแต่สองชนิดเป็นต้นไปที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 6 หน่วยแต่ไม่เกิน 60 หน่วย
สรุปสาระสำคัญ น้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ 1 หน่วย หมายความว่า น้ำหนักสุทธิของสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือลูกสุกรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือตั้งแต่สองชนิดเป็นต้นไปที่มีน้ำหนักรวมกันเท่ากับ 500 กิโลกรัม โดยให้คิดคำนวณน้ำหนักเฉลี่ยของสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ตัวละ 170 กิโลกรัม สุกรขุนตัวละ 60 กิโลกรัม และลูกสุกรตัวละ 10 กิโลกรัม
สรุปสาระสำคัญ ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสุกร ประเภท ก - ค่าpH มีค่าระหว่าง 4.5 ถึง 9 - สารแขวนลอย ต้องมีค่าไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อลิตร - ค่า COD ต้องมีค่าไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลิตร - ค่า BOD ต้องมีค่าไม่เกิน 60 มิลลิกรัมต่อลิตร - ไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น ต้องไม่เกิน120 มิลลิกรัมต่อลิตร
สรุปสาระสำคัญ ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสุกร ประเภท ข และประเภท ค - ค่าpH มีค่าระหว่าง 4.5 ถึง 9 - สารแขวนลอย ต้องมีค่าไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร - ค่า COD ต้องมีค่าไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตร - ค่า BOD ต้องมีค่าไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร - ไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น ต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งให้เก็บแบบจ้วง จากจุดที่สถานที่เลี้ยวสุกรระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม ในกรณีที่เลี้ยงสุกรมีการระบายน้ำทิ้งหลายจุด ให้เก็บทุกจุดที่มีการระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม วิธีการตรวจสอบค่ามาตรฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ ควบคุมการระบายน้ำทิ้งไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
จบการนำเสนอ