นโยบายของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน
ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...” พระราชดำรัสองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า “...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”
การจัดทำฐานข้อมูลแผนที่แหล่งน้ำและระบบชลประทาน ข้อมูลที่ใช้ ประกอบด้วย พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินและพื้นที่เขตชลประทาน ข้อมูลแหล่งน้ำปัจจุบัน ข้อมูลแหล่งน้ำในอนาคต (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) แผนที่แสดงพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ตัองพัฒนา
พื้นที่เขตจังหวัดและเขตปฏิรูปที่ดิน
รูปแบบการพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน
รูปแบบที่ 1 การสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบการกระจายน้ำ ขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 1. ปรับแนวคิดการจัดระบบสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เน้นการเสียสละและรับประโยชน์ร่วมกันของผู้สูญเสียที่ดิน และผู้รับผลประโยชน์ในการใช้น้ำ 2. ระบบส่งน้ำเลือกใช้ระบบคลองส่งน้ำหรือระบบท่อส่งน้ำตามความ เหมาะสม 3. เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มต้องเสียสละพื้นที่ร่วมกัน ประมาณ 20 % ของพื้นที่เกษตรกรแต่ละราย
รูปแบบที่ 2 ฝายทดน้ำและคลองส่งน้ำ เป็นการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำตามแนวลำน้ำเดิมรวมทั้งขยายขอบเขตออกพื้นที่ข้างเคียง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน จำเป็นต้องสร้างฝายทดน้ำ หรืออาคารควบคุมน้ำ ด้านท้ายน้ำของแหล่งกักเก็บน้ำ เกษตรกรต้องเสียสละพื้นที่ร่วมกัน ประมาณ 10 -20% ของพื้นที่เกษตรกรแต่ละราย ระบบการส่งน้ำจะเป็นระบบสูบน้ำ โดยเกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งน้ำ
รูปแบบที่ 3 การสร้างสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ รูปแบบที่ 3 การสร้างสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ ฝายทดน้ำ Flow อ่างพักน้ำที่ไม่ไกลจากลำน้ำ ซึ่งน้ำจะสามารถไหลเข้าได้โดยธรรมชาติและพื้นที่สามารถกักเก็บน้ำได้ดี เกษตรกรต้องเสียสละพื้นที่ร่วมกัน ประมาณ 20% ของพื้นที่เกษตรกรแต่ละราย ระบบการกระจายน้ำจะเป็นระบบสูบน้ำ โดยเกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย บริเวณท้ายน้ำในลำน้ำของปากคลองส่งน้ำ ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องสร้างฝาย เพื่อทดน้ำเข้าอ่างพักน้ำ
รูปแบบที่ 4 สระน้ำประจำไร่นา เป็นการขุดลอกและขยายขนาดสระเดิม หรือการขุดสระสาธารณะเพิ่มเติม กรณีขุดสระสาธารณะเพิ่มเติม ชุมชนต้องจัดหาพื้นที่สาธารณะให้ หรือเกษตรกรต้องเสียสละพื้นที่ร่วมกัน ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน ระบบการส่งน้ำจะเป็นระบบสูบน้ำ โดยเกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งน้ำ สระน้ำสาธารณะ อาจมีการพิจารณาการใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น การประมง
จบการนำเสนอ