ผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบ HRD และ Talent Management สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. HR แจกแบบสอบถาม เรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในปี 54 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมทั้งแนบรายละเอียดคน 4 ประเภทในองค์กร เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับหัวหน้ากลุ่ม/ ฝ่าย และหัวหน้าศตม. และให้หัวหน้ากลุ่ม/ ฝ่าย และหัวหน้าศตม.และส่งคืน ซึ่ง HR จะทำการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. - จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่าง ผู้บริหารระดับสูง HR หัวหน้ากลุ่ม/ ฝ่าย และหัวหน้าศตม. เพื่อเลือกกลุ่มเป้าหมาย - หลังจากที่หัวหน้ากลุ่ม/ ฝ่าย และหัวหน้าศตม. เลือกกลุ่มเป้าหมายแล้ว คณะกรรมการบริหารงานบุคคลจะเข้ามาร่วมตรวจสอบและพิจารณากลุ่มเป้าหมายอีกครั้ง
ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. HR จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร โดยจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
Questionable Talent /star Deadwood Cash-cow Potential Questionable Talent /star 10-15% 10-20% Deadwood Cash-cow 5% 60-75% Performance P Watanapa
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรประเภท Star/ Talent การให้เรียนรู้จากการทำงาน (On-the-Job-Training) ใช้ระบบพี่เลี้ยง และCoaching การมอบหมายงาน (Assignment) การให้ทุนศึกษาต่อ (Education)
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรประเภท Cash-cow การฝึกอบรม (Training) ในเรื่องของการคิดวิเคราะห์และสร้างความคิดสร้างสรรค์ ใช้ระบบพี่เลี้ยง และCoaching การออกไปดูงานภายนอก (Outdoor Learning)
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรประเภท Questionable การมอบหมายงาน (Assignment) การโยกย้ายงาน/ หมุนเวียนงาน (Job Rotation) การให้คำปรึกษา (Counseling) ฝึกการทำงานเป็นทีม เน้นกระบวนการการมีส่วนร่วม
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรประเภท Deadwood การโยกย้ายงาน/ หมุนเวียนงาน (Job Rotation) เพื่อให้ Deadwood ค้นพบตัวตนว่าตนเองชอบงานประเภทไหน ถ้าไม่ได้จริงๆก็ออกมาตรการเสริมแรงจูงใจ ทั้งทางบวก และทางลบ เช่น ผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป: ให้ทำงานประจำขององค์กรจนกระทั่งเกษียณ ส่วนคนรุ่นใหม่: แนะนำให้หางานใหม่ ถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิม
ขั้นตอนการดำเนินงาน 4. HR ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 5. HR ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตร
ข้อเสนอแนะ การให้หน่วยงาน ในสังกัดกรมควบคุมโรค เป็นผู้ประเมินว่า เจ้าหน้าที่แต่ละคนเป็นคนประเภทไหนใน 4 ประเภทนั้น อาจทำให้การตีความหมายของผู้ประเมิน และการทำความเข้าใจอาจแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น กองการเจ้าหน้าที่ กรมควบคุมโรค ควรกำหนดมาตรฐานและให้ความหมายของคนแต่ละประเภทให้ชัดเจน เข้าใจง่าย เช่นเดียวกับ Competency และกำหนดวิธีการประเมินให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน่วยงานด้วย
สวัสดีค่ะ