ถอดรหัส Nanoka : ภาวะผู้นำและการประเมินแนวใหม่ แจ่มจันทร์ เกียรติกุล
เป้าหมายการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร ๔ ข้อ ตอบสนองตรงเป้าหมายขององค์กรและผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมาย(Responsiveness) มีนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการทำงาน(Innovation) คนในองค์กรมีการพัฒนาและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ (Competency) มีประสิทธิภาพ (Efficiency)
ศาสตราจารย์ อิคูจิโร โนนากะ เชื่อว่ามนุษย์คือผู้สร้างความรู้ ความสำเร็จเกิดขึ้นที่อีกมิติหนึ่งขององค์กรสมัยใหม่ด้วยการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ระดับปฏิบัติการ
ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ที่อยู่กับตัวผู้ปฏิบัติงานจึงถือเป็น "ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กรอย่างแท้จริงเนื่องจากทุนประเภทนี้เป็นปัจจัยที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบ แนวคิดของ Prof. Nonaka เชื่อว่าการพัฒนาที่ดี ควรเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน และการสร้างนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) หมายถึงคนในองค์กรทุกคน จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
แหล่งเก็บความรู้ในองค์กร
คุณลักษณะความสามารถของผู้นำที่มีความรู้ เชิงปัญญาปฏิบัติ มี 6 คุณลักษณะ คือ 1. ความสามารถในการใช้วิจารณญาณว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี 2. ความสามารถในการแลกเปลี่ยนบริบทกับผู้อื่น (Ba) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ 3. ความสามารถในการเข้าใจและจับใจความสำคัญ โดยมีความ ละเอียดอ่อนในการรับรู้รายละเอียดได้ดี 4. ความสามารถในการสร้างและถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ปฏิบัติได้จริงสู่คนอื่น ๆ ได้ดี 5. ความสามารถในการใช้อำนาจของตนเองในทางที่ถูกต้อง 6. ความสามารถในการสร้างสนับสนุนความรู้เชิงปัญญาปฏิบัติให้ผู้อื่น
การเปลี่ยนแปลงจาก tacit เป็น explicit เกิดจากปัจจัยหลายตัว เช่น วิสัยทัศน์ของผู้นำ การได้ทำงานจริง การพูดคุยของคนที่ทำงานด้วยกัน หรือสภาพแวดล้อม โดยจะใช้ Ba หรือเวทีที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจจะเป็นเวทีหรือใช้เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้ จากความรู้ส่วนตัวก็จะกลายเป็นความรู้ของทีมงาน และเกิดการขยายวงความรู้ เมื่อทำแบบนี้เรื่อยๆ ความรู้ก็จะกลายเป็นความรู้ระดับองค์กร เราจะได้ความรู้ที่มีทั้งคุณภาพและปริมาณเกิดการสร้างความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน
S = Socialization เป็นการสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ด้วยการพบปะสมาคมหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การพูดคุย การสอนงาน ฝึกงาน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น E = Externalization เป็นการถ่ายทอดความรู้ โดยการอธิบายหรือแสดงความรู้ที่อยู่ในตัวเพื่อให้ผู้อื่นได้รับการแบ่งปัน แนวคิด ภาษาสัญลักษณ์ ลายลักษณ์อักษร C = Combination เป็นการผสมผสาน โดยนำ ความรู้ที่ชัดแจ้งมาสร้างสรรค์ หรือเปลี่ยนแปลง ให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งในเรื่องใหม่ ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น หรือเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้ง่ายขึ้น I = Internalization เป็นการนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆ
แนวคิดของศาสตราจารย์ อิคูจิโร โนนากะ คือให้ความสำคัญกับกระบวนการทางสังคมในการพัฒนามนุษย์เพราะเชื่อว่า ความรู้ที่สำคัญในการนำมาใช้ปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าของคนและองค์กรจะถูกสร้างผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้แบบชัดแจ้งและความรู้ฝังในตน เชื่อว่าผู้บริหารระดับกลางเป็นจุดเชื่อมต่อของกลยุทธ์ (Strategic knot) จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้บริหารระดับกลางให้มีทักษะ มีประสบการณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และ high-emotional knowledge (care /love /trust/safety)
high-emotional knowledge แลกเปลี่ยนความเอาใจใส่กัน (care) แลกเปลี่ยนความรัก love แลกเปลี่ยนความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (trust) และแลกเปลี่ยนความปลอดภัย (safety) ซึ่งเป็นพื้นฐานของ tacit knowledge (care /love /trust/safety)4 เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะคือทุนทางสังคม (social capital)" ถ้าไม่มี 4 ตัวนี้ เราจะไม่มีการแลก tacit knowledge กัน เพราะคนไม่ไว้ใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกว่าถูกละเลย หรือถูกปฏิบัติไม่ดี
การประเมินผลการปฏิบัติงานแนวใหม่ 1. ใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ ในการสร้างและแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนางาน 2. ใช้สุนทรีย สนทนาเป็นหลักในการสื่อสาร พูดคุยกัน 3. ก้าวข้ามการมองจุดอ่อน จุดด้อยของคน แต่ให้ความสำคัญกับจุดแข็ง / จุดดี มาทำให้เด่น 4. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักในคุณค่าของตนเอง
ขอบคุณค่ะ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยน