สถาบันวิชาชีพครู และองค์กรวิชาชีพครู
แนวคิด 1.สถาบันวิชาชีพครู เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สังคมและผู้ประกอบวิชาชีพครู 2.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครูมี 3 องค์กรได้ แก่ องค์กรผลิตครู องค์กรใช้ครู และองค์กรวิชาชำครู 3. องค์กรวิชาชีพครู เป็นองค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาวิชาชีครูและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพครู
ความหมายของสถาบัน สถาบันเป็นสิ่งที่สังคมจัดตั้ง(Established) เพื่อประโยชน์โดยรวมของสังคม สังคมถือว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องมี และสังคมก็จะยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นมั่นคง
องค์ประกอบความเป็นสถาบัน 1.สังคมจัดตั้งขึ้น โดยสมาชิกของสังคมยอมรับ 2.มีระบบระเบียบและวิธีการของสถาบันนั้นๆ 3. มีความมั่นคงและเปลี่ยนแปลงได้ยาก 4.มีประโยชน์ต่อสังคมนั้นๆ
สถาบันวิชาชีพครูกับผู้ประกอบการวิชาชีพครู ส่งเสริมศักดิ์ศรี สร้างความเคารพเชื่อมั่น สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผู้ประกอบ วิชาชีพครู สถาบัน วิชาชีพครู ยึดมั่น ศรัทธา สร้างชื่อเสียงให้สังคมยอมรับ ปกป้องสถาบัน
องค์กรวิชาชีพ
ลักษณะขององค์กรวิชาชีพ 1.เป็นองค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน มีสภาพปัญหาคล้ายกัน ร่วมกันจัดตั้งขึ้น 2.วิชาชีพนั้นๆเป็นวิชาชีพที่จำเป็นต่อสังคมและในการประกอบการวิชาชีพมีผลกระทบต่อมวลชน 3. เป็นนิติบุคคล มีกฎหมายรองรับในการดำเนินการ
ลักษณะขององค์กรวิชาชีพ 4.มีทรัพยากรขององค์กร สถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ 5.มี พ.ร.บ.ควบคุม เช่น พ.ร.บ. ครูและบุลากรทางการศึกษา 6. มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่เผยแพร่ให้สังคมรับทราบ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง กับวิชาชีพครูไทย
องค์กร ผลิตรู ครู องค์กร ใช้ครู องค์กร วิชาชีพครู
องค์กรการผลิตครู หมายถึงหน่วยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรทางการศึกษา องค์กรผลิตครูของประเทศไทยเริ่มจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อเรียนวิชาครูครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2453 บริเวณโรงเลี้ยงเด็กสะพานดำ
องค์กรใช้ครู หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดต่างๆ ทั้งที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เทศบาล กรุงเทพมานคร และโรงเรียนเอกชนในควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนหน่วยงานที่จัดตั้งเพื่อให้ความรู้ และการศึกษาในรูปแบบต่างๆในสังกัดกระทรวง ทบวงอื่นๆ
องค์กรวิชาชีพครู หมายถึง องค์กรที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้น ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู พัฒนาครู และจัดกิจกรรมต่างๆทีเกี่ยวข้องกับครูกลุ่มนั้นๆ
องค์กรวิชาชีพครู องค์กรที่มีกฎหมายรองรับ 1.คุรุสภา (เดิม) 2.สกนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู 3. สมาคมที่มีลักษณะพิเศษ เช่น สมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมครูโรงเรียนราษฎร์ สมาคมครูสตรีไทย 4.สมาคมวิชาชีพเฉพาะด้านต่างๆ เช่น สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
1.สมาพันธ์ครูประถมศึกษาภาคต่างๆ 2.สมาพันธ์ครู 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ องค์กรวิชาชีพครู องค์กรที่ไม่เป็นทางการ 1.สมาพันธ์ครูประถมศึกษาภาคต่างๆ 2.สมาพันธ์ครู 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.สมาพันธ์ครูจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ 4.ชมรมครูต่างๆ
เป้าหมายองค์กรวิชาชีพครู 1. ส่งเสริมสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ให้มีการกินดีอยู่ดี โดยการจัดสวัสดิการต่างๆ หรือดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาชิกทุกๆด้าน 2. ส่งเสริมให้สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพสูงขึ้น เป็นการส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับวิชาชีพ
บทบาทและหน้าที่ของคุรุสภาที่พึงประสงค์ (เดิม) ต้องเป็นองค์กรอิสระ และมีอำนาจที่จะปฏิบัติงานได้โดยเร็ว และฉับพลันภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องส่งเสริมด้านสวัสดิการและการบริการให้แก่สมาชิกครูโดยทั่วถึง สร้างเกณฑ์มาตรฐานทางจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อควบคุมครูให้ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตอันเหมาะสมของวิชาชีพ
4. ต้องมีอำนาจในการดำเนินการออกและถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 5. ต้องส่งเสริมให้สมาชิกครูให้มีความก้าวหน้าและทันสมัยทางวิชาการ 6. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครูและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู
7.วิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรและวิชาชีพครู 8. ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสมาคมที่เกี่ยวข้องทางวิชาชีพครูอื่นๆทั้งในและนอกประเทศ