ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ความหมาย ภูมิปัญญา(wisdom)หมายถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อและศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิต ที่สืบทอดกันมาแต่อดีตจนปัจจุบัน
ภูมิปัญญาการทำน้ำตาล
ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาไทยหมายถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อที่สืบทอด พัฒนาและเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต ซึ่งได้สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนปัจจุบัน
ความแตกต่างระหว่างภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยรวมเป็นที่ยอมรับระดับชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีเขตจำกัดแต่ละท้องถิ่น
อะไรเป็นภูมิปัญญาไทยและอะไรเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาไทยกลาง การดูฤกษ์แต่งงาน ปลูกเรือน ภาษาปักษ์ใต้ “แกะ” เครื่องมือเก็บข้าวของคนภาคใต้
ความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่เหมือนกันกล่าวคือใช้เพื่อการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิต
สภาพทั่วไปของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ผู้คนในภาคใต้ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ได้แก่คนมาเลย์ คนจีนและคนไทยสยาม สภาพทั่วไปของภูมิปัญญาภาคใต้จึงมีหลากหลาย ตามวัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์
เรือกอและ ภูมิปัญญาของมุสลิม
เรือมาดภูมิปัญญาคนไทยสยามในท้องถิ่นที่ทำมาหากินในแหล่งน้ำจืด
เรือปกชุ่นภูมิปัญญาคนไทยเชื้อสายจีน
แจวเรือปกชุ่นบรรทุกไม้โกงกางเพื่อเผาถ่าน
วันตรุษไทย วันตรุษจีน วันตรุษอิสลาม วันสำคัญของคนภาคใต้แต่ละชาติพันธุ์ สร้างโอกาสการพบปะระหว่างญาติพี่น้องและการร่วมกันทำความดี วันตรุษไทย วันตรุษจีน วันตรุษอิสลาม ตรุษไทย ตรุษจีน ตรุษอิสลาม
บ่อเกิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ ๑.เกิดตามสภาพแวดล้อมอันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนใต้ซึ่งมีหลากหลายลักษณะได้แก่ ที่ราบตามแนวชายฝั่ง ปากอ่าว ที่ราบเชิงเขา หลังเขา ตามแนวสายน้ำน้อยใหญ่ บนเกาะ ๒.เกิดจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินภาคใต้ทำให้คนใต้ได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ ความสามารถ มากมายในการจัดการและปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ๓.เกิดจากความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อยู่ในแผ่นดินภาคใต้
การขุดสระน้ำของคนพื้นราบชายฝั่งทะเล เลือกบริเวณที่(๑)มีหญ้าขึ้น(๒)มีกะพ้อ/มะเดื่อ/จอมปลวก(๓)ทดสอบโดยใช้กะลามะพร้าวคว่ำค้างคืนไว้ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ทราบว่าตาน้ำ(น้ำใต้ดิน)อยู่ตื้นหรือลึก ขุดแล้วจะพบน้ำหรือไม่
โพงพางดักปลาภูมิปัญญาของคนที่อาศัยบริเวณปากอ่าว ปากแม่น้ำ
การทำนาภูมิปัญญาของคนที่ราบลุ่ม
การทำสวนยางพารา ภูมิปัญญาของคนที่อาศัยแถบป่า ภูเขา
การฝึกลิงให้ขึ้นมะพร้าว ภูมิปัญญาหนึ่งของชาวสวนมะพร้าว
ยอเหยียบภูมิปัญญาของคนที่อาศัยใกล้สายน้ำ
การทำอวนลากภูมิปัญญาของคนแถบชายฝั่งทะเล
เลียงร่อนแร่ภูมิปัญญาของคนในถิ่นที่มีแร่
การกรีดยาง ภูมิปัญญาของคนทำสวนยางพารา
การทำผลิตภัณฑ์กระจูด ภูมิปัญญาของคนแถบป่าพรุ
บ่อเกิดของภูมิปัญญาภาคใต้ เกิดจาก(๑)ภูมิปัญญาของแต่ละชาติพันธุ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ (๒)ความพยายามในการแก้ปัญหาเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
การแบ่งประเภทของภูมิปัญญา ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ แบ่งภูมิปัญญาเป็น 6 ประเภท ภูมิปัญญาศิลปการ ภูมิปัญญาโภชนาการและเวชการ ภูมิปัญญาการสร้างพลังงานทดแทน ภูมิปัญญาการบริหารจัดการชุมชน ภูมิปัญญาการถ่ายทอดภูมิปัญญาและเทคโนโลยีชุมชน ภูมิปัญญาสุขภาวะ
จงพิจารณาว่าเป็นภูมิปัญญาประเภทใด ๑.การแสดงหนังตะลุง มโนรา ลิเกป่า เพลงบอก ๒.การทำข้าวยำ ๓.การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรค ๔.การทำแป้งสาคู ๕.การเลี้ยงด้วงสาคู ๖.การเล่นปริศนาคำทาย ๗.การลงแขกกินวาน ๘.การออกปากช่วยงาน ๙.การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช ๑๐.การทำสมาธิรักษาจิต ๑๑.เพลงกล่อมเด็ก ๑๓.การตอกกระดาษ การแกะหนังตะลุง การแทงหยวก ๑๔.การทำเครื่องเงิน