งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภูมิปัญญาไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภูมิปัญญาไทย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภูมิปัญญาไทย

2 ความหมายของภูมิปัญญาไทย
องค์ความรู้ในด้านต่างๆของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ที่ประกอบด้วยแนวคิดในการแก้ปัญหาของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็นแนวความคิดสำหรับแก้ปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งสามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าว แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามกาลเวลา

3 ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง 2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย 3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน 4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงชีวิต 5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย

4 ประเภทของภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีตเช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม หรือจักรวรรดินิยม 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

5 ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief) และพฤติกรรม (Behavior) 2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต

6 ลักษณะของภูมิปัญญาไทย(ต่อ)
4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม 5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ 6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง 7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา

7 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดภูมิปัญญาไทย
การได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น สังคมและสภาพแวดล้อม ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

8 การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
หาโอกาสใช้สินค้าที่จำเป็นและเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในขณะที่เดินทางไปในสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย การเผยแพร่ความรู้ในเรื่องภูมิปัญญาไทยให้กับคนรอบข้างและอนุชนรุ่นหลัง การเป็นสมาชิกของชมรมที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

9 ตัวอย่างของภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคต่างๆ
1.ภาคกลาง อาหารของภาคกลาง เช่น น้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม เป็นต้น

10 2. ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกอ่อง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ เป็นต้น

11 3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เช่นส้มตำ ปลาร้า น้ำตก ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ ข้าวเหนียว เป็นต้น

12 4. ภาคใต้ เช่น ข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ เป็นต้น

13 บ้านเรือน อยู่อาศัย ของแต่ละภูมิภาค


ดาวน์โหลด ppt ภูมิปัญญาไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google