บรรยายองค์ความรู้เรื่อง AEC สมาคมอาเซียน โดย พนักงานราชการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสิงห์บุรี
AEC คืออะไร ? AEC มาจากคำ Asean Economic Community หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีความหมายว่า การรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจในลักษณะสร้างโอกาส อำนาจต่อรอง และความสามารถในการแข่งขันทางการค้า การลงทุน การบริการ แรงงานฝีมือ ฯลฯ ซึ่งคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community :EEC)
AEC ประกอบด้วย ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และประเทศบรูไน รวม 10 ประเทศซึ่งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เมื่อรวมกันแล้วจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้กำหนดแล้วว่า จะมีการรวมตัวกันเป็น AEC ในลักษณะนำร่อง ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 โดยจะเปิดเสรีด้านการค้าและบริการใน 11 สาขา
ผู้รับผิดชอบการค้าและบริการ 11 สาขาคือใคร ? พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ไทย สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน
เหตุผลการรวมตัวเป็น AEC เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค เพื่อคืนอำนาจของประเทศอื่นภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่น ให้อาเซียนเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน AEC เพื่อเป็นทิศทางของแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย เพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการร่วมกันไปสู่เป้าหมาย และเพื่อให้ประเทศสมาชิกที่มีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ สามารถปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกัน
ผลกระทบต่อประเทศไทย การลงทุนมีความเป็นเสรีมากขึ้น และให้ประโยชน์กับผู้ลงทุนในการลดต้นทุนการผลิตสินค้า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการบินที่สำคัญ ความจำเป็นที่จะใช้ภาษาต่าง ๆ หรือภาษากลาง(อังกฤษ) การค้าตามแนวชายแดนที่เปิดกว้าง เกิดปัญหายาเสพย์ติดและปัญหาสังคม แรงงานแต่ละประเทศมีการเคลื่อนย้ายเข้าออกง่าย
ผลกระทบต่อประเทศไทย คนไทยบางส่วนหันไปหากินประเทศอื่น เพราะรายได้ดีกว่าอยู่ในประเทศไทย ไทยจะเป็นศูนย์กลางผลิตอาหารโลก เพราะมีความชำนาญและภูมิประเทศอำนวย ปัญหาทางสังคมจะรุนแรงขึ้น ถ้าไม่วางแผนการบริหารประเทศ ที่ดีพอ ปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ของ AEC ซึ่งแต่ละประเทศมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
เปรียบเทียบระบบสหกรณ์กับ AEC ระบบสหกรณ์ กระบวนการบริหารจัดการในการรวมกลุ่มบุคคลเพื่อดำเนินกิจการร่วมกัน ในลักษณะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ ระบบ AEC กระบวนการบริหารจัดการในการรวมกลุ่มของชาติสมาชิกในสมาคมประชาชาติอาเซียตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจในลักษณะเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว ภายใต้กฎเกณฑ์ระเบียบเดียวกันตามพันธสัญญาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกนั้น
ข้อสังเกต AEC มีกลุ่มประเทศใน ASEAN จำนวนมากที่เข้าร่วมเป็นประชาคม แต่ละประเทศมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ การเมือง ศาสนา และลักษณะทางภูมิประเทศที่แตกต่างกัน การบริหารเพื่อที่จะให้แต่ละประเทศเข้ามาอยู่ในกฎเกณฑ์เดียวกันย่อมกระทำได้โดยยาก สหกรณ์เป็นการบริหารกิจการภายในของแต่ละนิติบุคคลภายในประเทศ ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการมีน้อยกว่า AEC และสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์เป็นบุคคลที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมเหมือนหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งอยู่ในเขตประเทศเดียวกัน
สวัสดีค่ะ