ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ทฤษฎีใหม่.
Advertisements

เศรษฐศาสตร์แรงงาน EC 471 บทบาทของรัฐบาลในตลาดแรงงาน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax
สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการของบุคคลในสังคมทั้งในด้านสิ่งบริโภคและอุปโภค ในสังคมที่แตกต่างกัน.
เรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวัน
การคลังและนโยบาย การคลัง
บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ ศ. 363 Gender Economics
สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 16 กุมภาพันธ์ 2550
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ โดย อ.กุลกนิษฐ์ ใจดี
เศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
รายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว
หน่วยเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ระบบเศรษฐกิจ.
การมองทฤษฎีการพัฒนาอย่างวิเคราะห์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นในวิชาเศรษฐศาสตร์
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
Revision Problems.
ทฤษฎีและนโยบายการเงิน Monetary Theory and Policy
นโยบายการคลัง Fiscal Policy
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
บทที่ 9 การแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร
เกษตรตามแนว ทฤษฏีใหม่
Business Administration THONBURI UNIVERSITY
MARKETING A.Suchada Hommanee.
ระบบการตลาดและ หน้าที่ทางการตลาด
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
Free Trade Area Bilateral Agreement
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
สื่อการเรียนรู้ การตัดสินใจในการผลิต
เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น Introduction to Economics Lecturer : Orasa Tuntiyawongsa Faculty of Applied Arts. KMITNB
บทที่ 5 บัญชีรายได้ประชาชาติ
บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ธุรกิจในโลกาภิวัตน์ Globalizing Business.
บทที่ 1 : บทนำ.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
Economic Institute เพื่อสนองความต้องการของตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ กระบวนการการแสวงหาอาหาร การผลิตอาหาร การบริโภคต่างๆ.
โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Structure and Culture)
บทที่ 1 หลักการและหน้าที่ทางการเงิน
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
โดย สมภพ อมาตยกุล 21 กันยายน 2548
การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน
บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ.
ลักษณะของรายงาน 1. คำนำ 2. สารบัญ 3. เนื้อหาที่รายงาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 งานธุรกิจ และการประกอบอาชีพ
บทที่ 1 บทนำ โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
แนวคิดเครือข่ายและการประยุกต์ใช้ทางธุรกิจ
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
การปรับปรุงวิธีการคิดต้นทุนงานบริการวิชาการ
เด็กไทยรุ่นใหม่ใส่ใจการออม
ปรับค่าแรง300 บาทมีผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศไทยจริง?
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส 41102
กระบวนการทางเศรษฐกิจ
ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)
แนวคิดเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่สำคัญ
ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์
รหัส หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน หลักเศรษฐศาสตร์
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
บทบาทของข้อมูลการตลาด
บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ
กลุ่ม คาวาอี้ ~~ จัดทำโดย ชั้น ม.4.11 นางสาว กรรณิการ์ ใจวัง เลขที่ 7
ด. ช. อติชาต ปันเต ม.1/12 เลขที่ 4 ด. ช. ณปภัช เรือนมูล ม.1/12 เลขที่ 5.
การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน
บทที่1 การบริหารการผลิต
วิชา หลักการตลาด บทที่ 5
ผู้สอน ครูศรีวรรณ ปานสง่า
ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
บทที่ 5 ภาวะการเงิน.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร ความต้องการไม่จำกัด (Wants) ทรัพยากรมีอยู่จำกัด เมื่อเทียบกับ ความต้องการไม่จำกัด (Scarcity)

ความต้องการไม่จำกัด ความต้องการไม่จำกัด (Unlimited Wants) กล่าวคือ เมื่อประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ความต้องการในสินค้าและบริการก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด ในตอนแรกมนุษย์ต้องการเพียงปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคเท่านั้น แต่เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น อาจต้องการรถยนต์หรือสิ่งฟุ่มเฟือยต่าง ๆ เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด

การมีอยู่จำกัด การมีอยู่จำกัด (Scarcity) โดยปกติทรัพยากรในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์จะมี 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดิน(land) แรงงาน (labour) ทุน (capital) และ ผู้ประกอบการ(entreprenuer) สิ่งเหล่านี้ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น สินค้า และบริการที่ผลิตได้มีจำนวนจำกัด จนไม่สามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกเวลา

หาวิธีการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการ ที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ > ความต้องการ ทรัพยากร เกิดความขาดแคลน หาวิธีการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการ วิชาเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์ เกิดขึ้นเพราะความไม่สมดุลกันระหว่าง ความต้องการที่ไม่จำกัด กับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น มนุษย์จึงพยายามแสวงหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ประการนี้ คือ จะทำ

ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คุณค่าหรือมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาทางเลือกทั้งหลายที่ต้องสละไป เมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากร ค่าเสียโอกาสต่ำ : เลือกใช้ทรัพยากรได้เหมาะสม

ตัวอย่าง รับราชการ ได้รายได้ตลอดชีพ 25 ล้านบาท รับราชการ ได้รายได้ตลอดชีพ 25 ล้านบาท ทำงานเอกชน ได้รายได้ตลอดชีพ 45 ล้านบาท ศึกษาต่อ ป.เอก แล้วรับราชการ 27 ล้านบาท ศึกษาต่อ ป.โท แล้วทำงานเอกชน 75 ล้านบาท

ก. 25 ล้านบาท ข. 45 ล้านบาท ค. 27 ล้านบาท ง. 25 + 45 + 27 ล้านบาท จ. ไม่ทราบ ค่าเสียโอกาสเท่ากับ ?

ตัวอย่าง รับราชการ ได้รายได้ตลอดชีพ 25 ล้านบาท รับราชการ ได้รายได้ตลอดชีพ 25 ล้านบาท ทำงานเอกชน ได้รายได้ตลอดชีพ 45 ล้านบาท ศึกษาต่อ ป.เอก แล้วรับราชการ 27 ล้านบาท ศึกษาต่อ ป.โท แล้วทำงานเอกชน 75 ล้านบาท

เศรษฐศาสตร์ ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการที่มนุษย์และสังคม เลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด มาทำการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจ สูงสุด

I ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต (Resources or Factor of Production) II สินค้าและบริการ (Goods and Services) III ความต้องการ (Wants)

I ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต (Resources or Factor of Production) : ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน (Land) แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ (Labor or Human resource or Human capital) ทุนหรือสินค้าทุน (Capital or Capital Goods) ผู้ประกอบการ (entrepreneur)

ที่ดิน (Land) รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้ แต่สามารถ ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ ค่าตอบแทน : ค่าเช่า (Rent)

แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ (Labor or Human resource or Human capital) แรงกาย แรงใจ รวมถึงสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความคิดที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีฝีมือ แรงงานกึ่งมีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ค่าตอบแทน : ค่าจ้าง หรือเงินเดือน (Wage and Salary)

ทุนหรือสินค้าทุน (Capital or Capital Goods) สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพื่อผลิตสินค้าและบริการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งก่อสร้าง และ เครื่องมือเครื่องจักร ค่าตอบแทน : ดอกเบี้ย (Interest)

แผนภูมิแสดงการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาผลิตให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ Land Labor Capital Entrepreneur Goods and Service

ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ทำหน้าที่ในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการผลิต ภาระความเสี่ยงทางด้านการผลิตและการตลาด ค่าตอบแทน : กำไร (Profit)

II สินค้าและบริการ (Goods and Services) สิ่งที่ได้จากการผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ให้ความพอใจ สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สินค้าไร้ราคา (Free Goods) เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods)

สินค้าไร้ราคา (Free Goods) สินค้าที่มีมากและมีไม่จำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ เป็นสินค้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่มีราคาหรือไม่มีต้นทุนในการผลิต เช่น แสงแดด อากาศ สายลม น้ำฝน

เศรษฐทรัพย์ (Economic Goods) สินค้าที่มีราคาหรือมีต้นทุนในการผลิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าเอกชน (Private Goods) เป็นสินค้าที่ไม่สามารถแยกการบริโภคออกจากกันได้ เช่น รถยนต์ บ้าน เสื้อผ้า ฯลฯ สินค้าสาธารณะ (Public Goods) เป็นสินค้าที่ต้องบริโภคร่วมกัน เช่น ถนน คลองชลประทาน

III ความต้องการ (Wants) ความต้องการทางด้านวัตถุ มีรูปร่าง มองเห็น และสามารถจับต้องได้ ความต้องการทางด้านจิตใจ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จะเน้นความต้องการทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ

แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomic) เป็นการศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจย่อย ๆ ต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ อันได้แก่ หน่วยผู้ผลิต ผู้บริโภค เจ้าของปัจจัยการผลิต และศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดราคาสินค้าแต่ละชนิด ต้นทุนและปริมาณการผลิตของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด ตลาดสินค้าแบบต่าง ๆ การกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต ทฤษฎีสำคัญที่ใช้ศึกษาและวิเคราะห์เศรษฐกิจจุลภาค ได้แก่ ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต และทฤษฎีการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิต ซึ่งรวมเรียกว่า “ทฤษฎีราคา”

2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ซึ่งจะศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ จะไม่มุ่งศึกษาที่ผู้บริโภคหรือผู้ผลิตคนใดคนหนี่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนี่ง แต่จะเป็นการภาพรวมของทั้งประเทศ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออมและการลงทุน ระดับการจ้างงานโดยทั่วไป การหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล ตลอดจนแนวนโยบายต่าง ๆ ในการช่วยให้ระบบเศรษฐกิจจำเริญเติบโตไปอย่างมีเสถียรภาพ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

1. ผลิตอะไร (What to produce ?) พิจารณาว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดผลิตสินค้าอะไรบ้าง ผลิตในปริมาณเท่าใด จึงจะตอบสนองความต้องการได้มากที่สุด

2. ผลิตอย่างไร (How to produce ?) พิจารณาว่าจะผลิตสินค้านั้นอย่างไร โดยต้องยึดหลักของการประหยัด ทรัพยากร และเสียต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด เพื่อกำไรสูงสุด

สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นจะกระจาย ไปให้ผู้บริโภคกลุ่มใดในระบบเศรษฐกิจ 3. ผลิตเพื่อใคร (For whom to produce ?) สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นจะกระจาย ไปให้ผู้บริโภคกลุ่มใดในระบบเศรษฐกิจ สินค้าและบริการจะกระจายไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร

เป้าหมายของเศรษฐกิจมหภาค

1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเร่งรัดความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ความเติบโตทั้งทางด้านปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น

2. การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานหรือมีการจ้างงานเต็มที่ กล่าวคือ แรงงานทุกคนในประเทศต้องถูกว่างจ้างให้ทำงาน เพราะการจ้างงาน หมายถึงการนำทรัพยากรแรงงานมาใช้ประโยชน์ต่อการผลิตสินค้าและบริการ และยังทำให้แรงงานได้รับรายได้เพื่อการยังชีพอีกด้วย

3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ พยายามไม่ให้เกิดการถดถอยในกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การขึ้น ๆ ลง ๆ ของระดับราคาสินค้า การสั่นคลอนของภาวะการจ้างงาน ระดับเงินเฟ้อ การขาดดุลการชำระเงิน การขาดาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

4. ความเป็นธรรม/ความเสมอภาค และความมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม และได้รับเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

นโยบายทางเศรษฐศาสตร์มหภาค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจมหภาค มีเครื่องมือที่เรียกว่า “นโยบาย” ดังนี้ 1. นโยบายการคลัง คือ G , T , หนี้สาธารณะ 2. นโยบายการเงิน คือ การเพิ่ม/ลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยุ่ในระบบเศรษฐกิจ

3. นโยบายรายได้ คือ นโยบายการจ้างงาน และ นโยบายด้านราคาสินค้าและบริการ 4. นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ นโยบายการค้า ได้แก่ นโยบายการค้าแบบเสรี และนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน

ตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค / เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 1. ผลผลิต วัดมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ประเทศสามารถผหลิตได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเท่ากับ 1 ปี เช่น วัดได้จาก GDP หรือ GNP

2. การจ้างงาน ดูจากอัตราการว่างงาน 3. ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป / อัตราเงินเฟ้อ ดูจากค่าดัชนีราคาผู้บริโภค 4. การส่งออกสุทธิ (X-M) ดูจากดุลการค้าของประเทศ

หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง บุคคลหนึ่ง ๆ หรือสถาบันหนึ่ง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ 1. การผลิต (Production) คือ การก่อให้เกิดสินค้าและบริการขึ้น 2. การจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) คือ การที่สินค้าที่ผลิตขึ้นได้กระจายไปสู่มือผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ ในบางครั้งจะหมายถึงการกระจายรายได้

3. การซื้อขายแลกเปลี่ยน (Exchange) ซึ่งได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต 4. การบริโภค (Consumption) เป็นการกินการใช้สินค้าและบริการให้สิ้นเปลืองไปเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์

ระบบเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจที่รวมตัวเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institutions) โดยจะมี การแบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละหน่วย ทุกหน่วยจะต้องประสานงานกัน ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายอันเดียวกัน

ภาคเศรษฐกิจ ภาคครัวเรือน 1. ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ผู้บริโภค ภาคครัวเรือน เจ้าของปัจจัยการผลิต 1. ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ หน่วยธุรกิจ/ผู้ผลิต 2. ภาครัฐบาล ควบคุม/ดูแล และอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นส่วนใหญ่

3. ภาคต่างประเทศ ภาคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การส่งออกสินค้าและบริการ (X) และการสั่งเข้าสินค้าและบริการ (M)

กระแสหมุนเวียนของการใช้จ่ายและผลผลิต คือ แผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ และ/หรือ ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ว่ามีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดกระแสการผลิต รายได้ และการใช้จ่ายอย่างไร โดยแบ่งพิจารณาเป็นกรณี ดังนี้

1) ระบบเศรษฐกิจแบบปิด ซึ่งแบ่ง 2 กรณี ได้แก่ 1.1 แบบไม่มีภาครัฐบาล 1.2 แบบมีภาครัฐบาล 2) ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด

ส่วนรั่วไหล ประกอบด้วย เงินได้ของครัวเรือน ที่มิได้ถูกส่งต่อไปยังธุรกิจเพื่อซื้อสินค้าและบริการ เช่นเงินออม ภาษีที่ครัวเรือนจ่าย สินค้าขาเข้า ดอกเบี้ยที่ครัวเรือนจ่ายให้สถาบันการเงิน หรือ เงินได้ของธุรกิจที่มิได้ถูกส่งต่อไปยังครัวเรือน เพื่อซื้อปัจจัยการผลิต เช่น เงินออมของบริษัท ภาษีที่ธุรกิจจ่าย สินค้าขาเข้า ดอกเบี้ยที่ธุรกิจจ่ายให้สถาบันการเงิน

ส่วนอัดฉีด ประกอบด้วย เงินได้ของธุรกิจที่มิได้เกิดจากการใช้จ่ายของครังเรือน เช่น เงินกู้ยืมมาลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล สินค้าส่งออก เงินช่วยเหลือ ดอกเบี้ยที่ธุรกิจได้จากสกถาบันการเงิน หรือเงนได้ของครัวเรือนที่มิได้เกิดจากการใช้จ่ายของธุรกิจ เช่น การใช้จ่ายของรัฐบาล ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินโอน