วิกฤตการณ์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ โชคชัย บุตรครุธ
8. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ 8.1 สภาพปัญหา มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ดังเช่น สหรัฐอเมริกาได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซพิษในอากาศมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณถึงร้อยละ 36 ของโลก
8. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ 8.2 สาเหตุของมลพิษทางอากาศ มีดังนี้ (1) ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม (2) ก๊าซพิษหรือไอเสียจากรถยนต์ (3) สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(CFC) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
8. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ 8.3 ผลกระทบของปัญหามลพิษทางอากาศ มีดังนี้ (1) เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ (2) สาร CFC เป็นสาเหตุทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต(UV) ทำอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์ ผิวหนังอักเสบ และเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เป็นต้น
9. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับหมอกควันและฝนกรด 9.1 หมอกควัน ปัญหาหมอกควัน คือ มลพิษที่เกิดจากการรวมตัวผสมผสานระหว่างหมอกตามธรรมชาติกับหมอกควันที่มาจากท่อไอเสียของรถยนต์ มักจะเกิดระดับใกล้พื้นดินในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นและมียานพาหนะคับคั่ง เมื่อสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะเจ็บป่วย เช่น หายใจติดขัด ดวงตาคันและอักเสบ ฯลฯ
9. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับหมอกควันและฝนกรด 9.2 ฝนกรด (1) มลพิษของสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า “ฝนกรด” เกิดจากควันพิษหรือก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อลอยขึ้นสู่สู่บรรยายจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดซัลฟูริกและไนตริก จนกระทั่งผสมผสานกับฝนหรือหิมะจึงกลายสภาพเป็น “ฝนกรด” ในที่สุด
9. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับหมอกควันและฝนกรด 9.2 ฝนกรด (2) อันตรายจากฝนกรด มีดังนี้ - เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร จะทำให้เกิดการสะสมตัวของกรดที่เป็นสารพิษในน้ำ - เมื่อตกลงสู่พื้นดิน จะกัดกร่อนแร่ธาตุอาหารในดิน ทำให้ดินลดความอุดมสมบูรณ์ - เมื่อตกลงมาบริเวณสิ่งก่อสร้างที่เป็นหินปูน เช่น รูปปั้น สะพาน ฯลฯ จะทำให้เกิดการสึกกร่อนได้