เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy) ความสำคัญของวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
ข้อมูลที่น่าสนใจ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ปี 2005 อุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 424.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสัดส่วนตัวเลขจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน รวมกันคิดเป็น 40% ตัวเลขจีดีพีจากอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรรค์ของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีรวมของประเทศ 11.12% และ 8.6% ตามลำดับ
ข้อมูลที่น่าสนใจ อัตราการเติบโต การจ้างงาน ระหว่างปี 2001-2005 อุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 8.7% ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราการเติบโตอยู่ระหว่าง 5-20% ต่อปี การจ้างงาน อุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้สร้างให้เกิดการจ้างงานทั่วโลกมากขึ้นด้วยอัตราการเติบโตมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นถึง 50% โดยมีสัดส่วนการจ้างงาน 5.8% ในสหรัฐอเมริกาและ9% ในอังกฤษ (ข้อมูลปี 2007)
Creative Economy ระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ทักษะ และเทคโนโลยีมาผสมผสานกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่สร้าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกได้ ผลของการประสานภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา การให้ต้นแบบทางสุนทรียะแก่สินค้าและบริการ ถือเป็นส่วนสำคัญในการให้ความหมายเชิงศิลปะ และทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ในปัจจุบันสินค้าและบริการเหล่านี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจระดับนานาชาติ
อุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายได้ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี ทำให้บุคคลและประเทศเล็กๆสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม จีน และอินเดีย ที่ไม่เพียงแต่ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าและด้วยกำลังผลิตที่มากกว่า แต่ยังมีการลงทุนในเทคโนโลยีและการศึกษาที่ดีกว่าอีกด้วย
ศตวรรษที่ 19 คือยุคทองของยุโรป อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ศตวรรษที่ 20 คือยุคทองของสหรัฐอเมริกา ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนในศตวรรษที่ 21 นี้กำลังจะเป็นยุคทองของเอเชีย กับการสร้างประชากรรุ่นใหม่จำนวนมากเพื่อลงแข่งขันในเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ มีการลงทุนอย่างเห็นได้ชัด ในการศึกษาสายการออกแบบและเทคนิค ประเทศจีนผลิตนักศึกษาสายการออกแบบความคิดสร้างสรรค์และวิศวกรรมจำนวนต่อปีมากกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 8 เท่า ส่วนอินเดียก็มีจำนวนนักศึกษาที่สำเร็จด้านดังกล่าวมากกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 5 เท่า
ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตที่ท้าทายข้างหน้านี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และการลงทุนของพวกเราในวันนี้
สภาพในปัจจุบัน สินค้าและบริการของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานของการผลิตต้นทุนต่ำ ปริมาณมาก กำไรน้อย ไม่ค่อยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงการค้นคว้าทางนวัตกรรมเทคโนโลยี นอกจากนี้ การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ยังไม่ได้รับการตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ แต่ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายทางเศรษฐกิจในหลายๆประเทศ ด้วยงานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก
รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกจึงกำลังผลักดันการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจัง ทำไมจีนต้องเปลี่ยนโรงงานเก่าให้เป็นศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ พื้นที่ 798 นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งพื้นที่เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Industry Zone) ในเมืองปักกิ่ง รวมทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ชิงเต่า และเมืองอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด
เหตุที่รัฐบาลยอมทุ่มเงินมหาศาลเพื่อเปลี่ยนเมืองอุตสาหกรรมเหล่านี้ไปสู่เขตเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ด้วยเพราะตระหนักว่า แม้ประเทศจีนจะส่งออกรองเท้าได้ถึง 6.9 พันล้านคู่ให้กับ 200 ประเทศทั่วโลก แต่ทว่ารองเท้าที่ตีตรา ‘Made in China’ กลับไม่ได้มีมูลค่ามากนัก ซ้ำยังถูกกล่าวถึงในฐานะสินค้าราคาถูกที่เข้าไปทุ่มตลาดในประเทศต่างๆ จนถูกกีดกันจากประเทศผู้นำเข้าอีกด้วย การสร้างเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ประเทศจีนกำลังมุ่งไปสู่ในเร็ววันนี้
The Creative Industries Advertising Architecture Art & Antiques Designer fashion Video film and photography Music The visual and performing arts Publishing Software , computer games and electronic publishing Radio and TV Tourism
ทำอย่างไร หาทางปรับปรุงสินค้าให้มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ ใช้ทุนทางปัญญา พัฒนาทักษะของตัวเอง สินทรัพย์ทางวัฒนธรรมผสมผสานเทคโนโลยี หรือจัดการสิ่งต่างๆที่มีอยู่แล้วใหม่โดยใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป สัดส่วนในระบบเศรษฐกิจ 10% ภาคเกษตรกรรม 30-40% ภาคอุตสาหกรรมการผลิต 50% ภาคการบริการ