การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ SCC : Suthida Chaichomchuen std@kmitnb.ac.th
ความหมายของข้อมูล ข้อมูล (data) หมายถึง ความจริงซึ่งสามารถบันทึกไว้ได้ และ มีความหมายอยู่ในตัว
เลขฐาน 2 เลขฐาน 2 หรือ Binary Number System เป็นข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเลข 2 ตัวคือ 0 และ 1 0 หมายถึง สถานะปิด Off 1 หมายถึง สถานะเปิด On
หน่วยในการเก็บข้อมูล บิต (bit) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการเก็บข้อมูล ไบต์ (byte) ประกอบด้วย 8 บิต ใช้แทนอักขระ 1 ตัว เวิร์ด (word) ประกอบด้วย 16 บิต หรือ 2 ไบต์ ใช้ในการ ประมวลผลหรืออ้างตำแหน่งในการประมวลผล
หน่วยในการเก็บข้อมูล... กิโลไบต์ (Kilobyte) มีค่าเป็น 210 = 1,024 ไบต์ ใช้แทนด้วย KB บางครั้งอาจใชัค่าประมาณ 1 KB=1,000 ไบต์
หน่วยในการเก็บข้อมูล... เมกะไบต์ (Megabyte) มีค่าเป็น 220 = 1,048,576 ไบต์ ใช้แทนด้วย MB บางครั้งอาจใชัค่าประมาณ 1 MB=1,000,000 ไบต์
หน่วยในการเก็บข้อมูล... จิกะไบต์ (Gigabyte) มีค่าเป็น 230 = 1,073,741,824 ไบต์ ใช้แทนด้วย GB บางครั้งอาจใชัค่าประมาณ 1 GB=1,000,000,000 ไบต์
ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในโปรแกรมทั่ว ๆ ไป เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็น ลำดับที่ มีค่ามากน้อยตามลำดับ เช่น 1, 2, 3 หรือ A, B, C แบ่งเป็น 5 ประเภท
ประเภทของข้อมูลพื้นฐาน Integer : เป็นข้อมูลเลขจำนวนเต็ม Real : เป็นข้อมูลเลขจำนวนจริงมีทศนิยม Character : เป็นข้อมูลชนิดตัวอักขระ 1 ตัว String : เป็นข้อมูลชนิดชุดอักขระ Boolean : เป็นข้อมูลชนิดตรรกะ
Integer : เลขจำนวนเต็ม คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มหรือตัวเลขที่ มีค่าแน่นอน ซึ่งจะเป็นบวกหรือลบก็ได้
Integer : เลขจำนวนเต็ม แบ่งเป็น 5 ชนิดคือ byte : 1 ไบต์ : 0 ... 255 shortint : 1 ไบต์ : -128 ... 127 integer : 2 ไบต์ : -32,768 ... 32,767 word : 2 ไบต์ : 0 ... 65,535 longint : 4 ไบต์ : -2,147,483,648 ... 2,147,483,647
Real : เลขจำนวนทศนิยม แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ real : 6 ไบต์ : 2.9x10-39...1.7x1038 single : 4 ไบต์ : 1.5x10-45...3.4x1038 double : 8 ไบต์ : 5x10-324...1.7x10308 extended : 10 ไบต์ : 3.4x10-4932...1.1x104932 comp : 8 ไบต์ : -263+1…263-1
Char : ตัวอักขระ เป็นข้อมูลตัวอักขระ 1 ตัว ค่าของข้อมูลจะเป็นค่าของรหัสมาตรฐาน ASCII เช่น A, s, 5, $ ลำดับที่ของ Character มีตั้งแต่ 0-255 ใช้หน่วยความจำขนาด 1 ไบต์
String : ชุดอักขระ เป็นข้อมูลของชุดอักขระหรืออาร์เรย์ของ Character
Boolean : ค่าความจริง เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นไปได้ 2 ค่าคือ จริง (true) เท็จ (false) ใช้หน่วยความจำขนาด 1 ไบต์ เช่น test := true หรือ test := (x > 15)
ตัวแปร (Variables) เปรียบเสมือนกล่องสำหรับเก็บข้อมูล ที่อาจ เกิดจากการป้อนเข้าไป หรือเก็บผลจากการ คำนวณ ก่อนที่จะเรียกใช้ตัวแปร ต้องประกาศไว้ที่ ส่วนประกาศก่อนเสมอ
การประกาศตัวแปร รูปแบบ VAR identifiers : type ; identifiers : type ;
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร VAR Num1, Num2 : integer; x, y : real; sex : char; name : string[20]; test : boolean;
การกำหนดค่าให้ตัวแปร รูปแบบ variable := expression ; variable คือ ชื่อของตัวแปร expression คือ ส่วนที่อยู่ทางด้านขวาของเครื่องหมาย := ซึ่งอาจประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ตัวอักษร ตัวเลข
ตัวอย่างการกำหนดค่าให้ตัวแปร Discount := 15 ; Pay := Salary + 1500 ; Num := Num +1 ; Str := ‘This is text message.’ ;