อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข ผู้ใช้สารสนเทศ อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข
หน่วยที่ 2 2. ความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ 2.1 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ 2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการ สารสนเทศ 2.3 ระดับความต้องการสารสนเทศ 2.4 ประเภทความต้องการสารสนเทศ
2.1 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ ความต้องการสารสนเทศ (Information Need) คือ ช่องว่างทางความรู้ ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มนุษย์มีคำถามหรือปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตอยู่ตลอดเวลา
2.1 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ และจำเป็นต้องแสวงหาสารสนเทศมาตอบคำถามหรือแก้ปัญหานั้นๆหรือนำสารสนเทศมาเติมช่องว่างทางความรู้นั่นเอง (อารีย์ ชื่นวัฒนา, 2549: 2-6)
2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการสารสนเทศ 2.2.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับตนเอง 2.2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ การงาน 2.2.3 ปัจจัยสภาพแวดล้อม
2.2.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับตนเอง 1) ความต้องการทางร่างกาย 2) ความต้องการทางจิต 3) ความต้องการทางปัญญา
1) ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการพื้นฐานที่ทำให้ร่างกายสุขสบาย เช่น ต้องการอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ความปลอดภัย
2) ความต้องการทางจิต เป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการมีอำนาจ ต้องการให้คนอื่นยอมรับนับถือตน ต้องการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น
3) ความต้องการทางปัญญา เป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับความเฉลียวฉลาด เช่น ต้องการเป็นคนเก่งต้องการวางแผน ต้องการเรียนรู้ให้เกิดความชำนาญ
2.2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและ หน้าที่การงาน 2.2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและ หน้าที่การงาน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการพื้นฐานโดยเฉพาะความต้องการทางปัญญาและทำให้เกิดความต้องการสารสนเทศต่อไป
2.2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและ หน้าที่การงาน (ต่อ) 2.2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและ หน้าที่การงาน (ต่อ) บทบาทและหน้าที่การงานของบุคคลที่แตกต่างกันย่อมต้องการสารสนเทศในรูปลักษณะและรายละเอียดแตกต่างกัน
2.2.3 ปัจจัยสภาพแวดล้อม 1) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน 2) สภาพแวดล้อมทางสังคม
1) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน งานบางประเภท หรือองค์การบางแห่งมีวัฒนธรรมของการใช้สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานประจำมาก ในขณะที่บางแห่งอาจต้องการสารสนเทศน้อย
2) สภาพแวดล้อมทางสังคม สังคมปัจจุบันเป็นสังคมการเรียนรู้ (Learning Society) สังคมอุดมปัญญา (Intellectual Society) สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Society)ซึ่งต้องใช้ความรู้และสารสนเทศในการดำรงชีวิต
2.3 ระดับความต้องการสารสนเทศของ ผู้ใช้ 2.3 ระดับความต้องการสารสนเทศของ ผู้ใช้ 2.3.1 ระดับรู้แจ้ง 2.3.2 ระดับบอกความต้องการได้ 2.3.3 ระดับรู้ความต้องการ 2.3.4 ระดับไม่สามารถระบุความต้องการได้
2.3.1 ระดับรู้แจ้ง ผู้ใช้สามารถบอกความต้องการและระบุแหล่งสารสนเทศได้ ตัวอย่างเช่น อาจารย์แจ้งให้สำเนาบทความจากวารสารชื่อใดชื่อหนึ่ง
2.3.2 ระดับบอกความต้องการได้ ผู้ใช้สามารถอธิบายคำถามหรือความต้องการได้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน ต้องการข้อมูลช่วงเวลาของยุคกรีกและโรมัน
2.3.3 ระดับรู้ความต้องการ ผู้ใช้รู้แต่เพียงว่าตนมีความต้องการแต่ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าตนต้องการอะไร ตัวอย่างเช่น นักศึกษาต้องการข้อมูลไปใช้ทำรายงานส่งอาจารย์
2.3.4 ระดับไม่สามารถระบุความต้องการได้ ผู้ใช้ไม่รู้ชัดว่าตนต้องการอะไร ระบุได้แต่เพียงว่าพอใจหรือไม่พอใจ ซึ่งอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่จำเป็นมากหรือผู้ใช้ยังไม่มีความต้องการอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น ความต้องการดูดีวีดีเพื่อความบันเทิง
2.4 ประเภทความต้องการสารสนเทศ 2.4.1 ความต้องการสารสนเทศตามเงื่อนไขทาง เวลา 2.4.2 ความต้องการสารสนเทศตามขอบเขตของ ความต้องการ 2.4.3 ความต้องการสารสนเทศตามระดับ ความต้องการของผู้ใช้
2.4.1 ความต้องการสารสนเทศตาม เงื่อนไขทางเวลา 2.4.1 ความต้องการสารสนเทศตาม เงื่อนไขทางเวลา เป็นความต้องการเร่งด่วนที่ต้องได้รับการตอบสนองในทันที หรือ ความต้องการที่สามารถรอคอยได้
2.4.2 ความต้องการสารสนเทศตามขอบเขตของความต้องการ เป็นความต้องการที่กว้าง แคบ หรือตรงเป้าหมาย
2.4.3 ความต้องการสารสนเทศตาม ระดับความต้องการของผู้ใช้ 2.4.3 ความต้องการสารสนเทศตาม ระดับความต้องการของผู้ใช้ เมื่อแสดงความต้องการสารสนเทศแล้วผู้ใช้บางคนอาจไม่นำสารสนเทศที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในขณะที่สารสนเทศบางเรื่องมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บางกลุ่ม เช่น สารสนเทศเพื่อการรักษาผู้ป่วย หรือสารสนเทศสภาพดินฟ้าอากาศสำหรับเกษตรกร