การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) คือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีการบำรุงรักษา กำหนดขอบเขตการใช้ ชุมชนมีเศรษฐกิจที่มั่นคง อยู่ดี กินดี มีงานทำ ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความรู้ดี มีมาตรฐาน วางแผนจัดการอย่างเป็นระบบ
หลักการของความยั่งยืน ทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ การทำให้บุคคลตระหนัก และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมทั้งผลกระทบจากการทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา เพือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจของบุคคล ให้มีพฤติกรรมสอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ควรมีการสร้างจิตสำนึกที่ดี ปลูกฝังให้ทุกคนตระหนักถึงการสูญเสียสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ให้เพิ่มขึ้นเท่ากับปริมาณที่ต้องการใช้ ปรับปรุงการผลิตใหม่ๆ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการปฏิบัติตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดการใช้พลังงาน ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า แสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ การลดมูลฝอยที่ไม่จำเป็น ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและยั่งยืน ซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงง่าย ลดปริมาณการเกิดขยะ
แนวทางการปฏิบัติตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน สงวนและรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ร่วมรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีผลิตอุตสาหกรรมอย่างมีคุณภาพ ผลิตเทคโนโลยีสะอาด มีความรับผิดชอบในการบำบัดของเสียก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
บทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ในการสร้างวัฒนธรรม กำหนดลักษณะประชากร รูปร่างหน้าตา การกระจายที่อยู่ของมนุษย์ กำหนดความเป็นอยู่ของมนุษย์ ปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค กำหนดการประกอบอาชีพ ต่างสถานที่ทรัพยากรย่อมแตกต่างกัน
บทบาทของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ใช้ทรัพยากร ในฐานะผู้ทำให้เกิดมลพิษ ในฐานะผู้สร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ขึ้นมา
หลักการของความยั่งยืน ที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา