โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนนำ ประกอบด้วย ปกหน้า/ปกนอก ปกใน/ปกรอง (เหมือนปกนอกแต่อยู่ด้านใน) บทคัดย่อ : ส่วนนี้จะกล่าวถึงการวิจัยโดยย่อ ซึ่งระบุเพียงวัตถุประสงค์ของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้และผลการวิเคราะห์ รวมทั้งข้อเสนอแนะความยาวในส่วนนี้ประมาณ 1-2 แผ่นไม่ควรยาวมาก
ส่วนนำ (ต่อ) •กิตติกรรมประกาศ :กล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนทำให้การวิจัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้ที่ควรกล่าวขอบคุณได้แก่ ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ให้ทุน ผู้ให้แหล่งข้อมูล ผู้ช่วยรวบรวมข้อมูล ผู้วิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนกลุ่มตัวอย่างที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี •สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูปภาพ •รายการสัญลักษณ์ที่ใช้ (ถ้ามี)
โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย สมมุติฐานการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) ข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) นิยามศัพท์เฉพาะ (นิยามปฏิบัติการ) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบความคิดในการวิจัย บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (กำหนดหัวข้อในการนำเสนอตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย) บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก เช่น - แบบสอบถาม การคำนวณ เป็นต้น - ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล - รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ - ข้อมูลการคำนวณอ้างอิงอื่นๆ
การเขียนบรรณานุกรม รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์.//ชื่อชุด. เมืองที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์. หมายเหตุ -ชื่อหนังสือหรือชื่อวารสารจะต้องขีดเส้นใต้หรือพิมพ์ด้วยตัวอักษรหนา -ถ้าไม่สามารถพิมพ์ในบรรทัดเดียวกันจบได้อีกบรรทัดให้เว้นระยะเข้ามา 8 ตัวอักษร
ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยและ วิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. -มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2522. คู่มือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.