โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ชุดกระเป๋าปฐมพยาบาลสำหรับนิสิตที่ทำกิจกรรมนอกสถานที่ กลุ่ม Firstaid
ประเภทโครงการ โครงการใหม่ที่พัฒนาหน่วยงาน
สมาชิกกลุ่ม นางศรีนวล รัตนวรรณนุกูล ที่ปรึกษากลุ่ม นางศรีนวล รัตนวรรณนุกูล ที่ปรึกษากลุ่ม นางศุภกัญญา บินทปัญญา ที่ปรึกษากลุ่ม นางปาณิสรา ราชพิบูลย์ ประธาน นางสาวภคมน เครือผือ เลขานุการ นางสาวประภาพร สิทธิอมร สมาชิก นายวิริยะ คงสมบูรณ์ สมาชิก นางอัญญวัณย์ เพ็งเอมออม สมาชิก นางเสาวนีย์ มั่นสุข สมาชิก
หัวข้อปัญหา รายละเอียดและข้อมูลของการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
หลักการและเหตุผล เพื่อให้นิสิตที่ใช้ชุดกระเป๋าปฐมพยาบาล มีความปลอดภัย ในด้านสุขภาพและอนามัยในการประกอบกิจกรรมดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่นิสิตต้องมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีเกิดเหตุการณ์ด้านสุขภาพและเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อาการบาดเจ็บด้านร่างกาย เป็นอุบัติการณ์หนึ่งที่พบได้บ่อย ทางกลุ่มจึงเห็นสมควรให้มีการปรับเปลี่ยนชุดกระเป๋าปฐมพยาบาลให้เกิดความสะดวก ง่ายต่อการหยิบใช้ โดยจัดทำคู่มือการใช้เวชภัณฑ์และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นพร้อมทั้งมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ชุดกระเป๋าปฐมพยาบาล รวมทั้งให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมต่อไป ตามยุทธศาสตร์เกื้อกูลและเป็นสุขของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ใช้กระเป๋าปฐมพยาบาล สามารถใช้เวชภัณฑ์แต่ละชนิดในกระเป๋ายาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงงาน อัตราการรับรู้และเข้าใจในการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาล > 80% อัตราความพึงพอใจของผู้ใช้กระเป๋าปฐมพยาบาล > 80%
ขอบเขตของโครงการ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระยะเวลาการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2554
ปัญหาชุดกระเป๋าปฐม พยาบาลขาดความพร้อมใช้ แผนภูมิก้างปลา ผู้ใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลขาดความรู้ในการใช้ ยังไม่มีคู่มือการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาล อย่างถูกต้องและครบถ้วน ไม่มีการให้คำแนะนำการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลก่อนจำหน่าย ปัญหาชุดกระเป๋าปฐม พยาบาลขาดความพร้อมใช้ ไม่มีการจัดอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ การใช้ยาอย่างถูกต้องในแต่ละประเภท ไม่มีช่องทางให้กรอกหรือแจ้งข้อมูล นิสิตไม่ได้แจ้งข้อมูลของกิจกรรม แบบฟอร์มการแจ้งไม่ครบถ้วน ไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของนิสิต เวชภัณฑ์ยาไม่เหมาะกับกิจกรรมของนิสิต
วิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหา สาเหตุ วิธีการแก้ไข (กิจกรรม/กระบวนการแก้ไข) ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ 1.เวชภัณฑ์และยาไม่เหมาะกับกิจกรรมของนิสิต 1. จัดทำแบบฟอร์มให้ครบถ้วนโดยเพิ่มช่องทางในการกรอกหรือแจ้งข้อมูลในการจัดกิจกรรมของนิสิตให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น สมาชิกกลุ่ม Firstaid มี.ค.-ก.ค. 2554 กิจกรรมชายทะเล กิจกรรมเดินป่า กิจกรรมรับน้อง เพื่อจัดเวชภัณฑ์และยาให้เหมาะสมกับกิจกรรม 2. เพื่อประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ www.cuhc.chula.ac.th - เกี่ยวกับขั้นตอนการขอความอนุเคราะห์กระเป๋าปฐมพยาบาล - การกรอกแบบฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ก่อนส่งฉบับจริง 2. ผู้ใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลขาดความรู้ในการใช้ 1. จัดทำคู่มือการใช้ยาและเวชภัณฑ์ในกระเป๋าปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและครบถ้วน 2. ให้คำแนะนำการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาลก่อนจำหน่ายกระเป๋า 3. จัดอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการใช้ยาอย่างถูกต้อง
แบบฟอร์มขอกระเป๋าปฐมพยาบาลแบบใหม่
การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รูปกระเป๋ายา เก่า/ใหม่ กระเป๋ายาแบบเก่า กระเป๋ายาแบบใหม่
แบบสอบถาม เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและวิธีการใช้ยา
แบบสอบถาม วิธีการใช้กระเป๋ายาและการปฐมพยาบาล
แบบประเมิน
แบบประเมินความคิดเห็น
สรุปผลการดำเนินงาน เก็บข้อมูลการใช้กระเป๋าปฐมพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 กรกฎาคม 54 ในการขออนุเคราะห์กระเป๋าปฐมพยาบาล จำนวนทั้งหมด 105 ใบ และนิสิตเข้าร่วมฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 76 คน - อัตราการรับรู้และเข้าใจในการใช้ชุดกระเป๋าปฐมพยาบาล 96% อัตราความพึงพอใจในการใช้ชุดกระเป๋าปฐมพยาบาล 94%
บอร์ดนำเสนอ