ภาควิชา วิศวกรรมโลหการ
วิศวกรรมโลหการและวัสดุคืออะไรสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ วิธีการผลิต สมบัติของวัสดุและการปรับปรุงวัสดุชนิดต่างๆ รวมทั้งการเลือกใช้อย่างเหมาะสม ในสาขานี้จะศึกษาตั้งแต่สมบัติของวัสดุซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โลหะที่พบเห็นใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น เหล็กโครงสร้างบ้านเรือนถึงโลหะหรือวัสดุผสมที่ใช้ในเครื่องยนต์กลไก จนถึงวัสดุที่ใช้ในแผงวงจร หรือใช้ในวงการแพทย์ เซรามิก และพอลิเมอร์ นอกจากจะศึกษาถึงสมบัติพื้นฐานของวัสดุ ยังศึกษาถึงกระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณสมบัติ เช่น เทคโนโลยีการขึ้นรูป การปรับปรุงผิว การเคลือบฟิล์มบาง การตรวจสอบความเสียหาย การป้องกันการกัดกร่อน ตลอดจนวัสดุนาโน
เรียนจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ วิศวกรโลหการสามารถทำงานได้หลากหลาย อาจแบ่งออกได้เป็น งานสายการผลิต เช่น การผลิตโลหะ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานผลิตเครื่องประดับ งานสายการตรวจสอบ เช่น งานวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งสามารถเลือกทำได้ทั้งใน ภาครัฐ ได้แก่ ส่วนงานราชการและรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้า การบินไทย กรมทางหลวง ฯลฯ หรือภาคเอกชน เช่น ในการตรวจสอบท่อส่งก๊าซของบริษัทน้ำมัน หรือ การตรวจสอบในระหว่างการผลิตของบริษัทต่างๆ งานวิจัย วิศวกรโลหการสามารถทำงานเป็นนักวิจัยทั้งในศูนย์วิจัยของรัฐ เช่น ศูนย์วิจัยโลหะและวัสดุ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และศูนย์วิจัยของเอกชน
เรียนจบแล้วจะเรียนต่อได้ที่ไหน นิสิตที่จบจากสาขาวิศวกรรมโลหะและวัสดุในระดับปริญญาบัณฑิตแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากสาขานี้เป็นที่ต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงเป็นสาขาที่เปิดสอนกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย หรือ เอเซีย ภาควิชามีความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นมาสอนและให้คำแนะนำในการทำวิจัย และยังคงมีอาจารย์รับเชิญจากประเทศต่างๆมาบรรยายในระยะสั้น หรือเป็นที่ปรึกษาร่วมในงานวิจัย
ระดับปริญญา ทุนจากบริษัทไทยปาร์คเกอร์ บริษัทสหวิริยา และจากภาควิชา ทุนการศึกษา ระดับปริญญา ทุนจากบริษัทไทยปาร์คเกอร์ บริษัทสหวิริยา และจากภาควิชา ระดับบัณฑิตศึกษา ทุนจากบริษัทสหวิริยา จากภาควิชาและจุฬา นอกจากนี้ยังมีทุนจากต่างประเทศ AUN SEED ทุนมอนบุโชแบบ MEM
ความพร้อมในการเรียนการสอน ความพร้อมในการเรียนการสอน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ ตั้งอยู่ที่ ชั้น 15-16 ตึก 4 และมีห้องปฏิบัติการที่ชั้น 1-2 ตึกสี่ภาควิชา และ ชั้น 3 ตึกยานยนต์ ห้องปฏิบัติการต่างๆของภาค มี วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างครบครัน
อุปกรณ์เตรียมชิ้นวัสดุสำหรับวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคได้แก่ เครื่อง ตัด อัดเข้าแบบ และขัด จากนั้นจึงนำชิ้นวัสดุที่ผ่านการขัดผิวเรียบมาวิเคราะห์เบื้องต้นด้วย กล้องจุลทรรศน์แสง (Optical Microscope)
การตรวจสอบโครงสร้างของวัสดุวิธีที่แม่นยำ สะดวก และรวดเร็วคือ การใช้กล้องจุลทรรศน์แสงตรวจสอบผิวชิ้นวัสดุที่ผ่านการขัดเรียบแล้ว ถ่ายภาพโครงสร้างจุลภาค มีกำลังขยายระดับไมโครเมตร สามารถเก็บบันทึกด้วยกล้องดิจิตอล เพื่อวิเคราะห์ปริมาณเฟสต่างๆในเนื้อวัสดุ
เครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด สามารถวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของวัสดุในระดับนาโนเมตร
เครื่อง Electron Spectroscopy for Chemical Analysis เครื่อง Auger Electron Spectroscope สำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิววัสดุวิเคราะห์ฟิล์มบางระดับนาโนเมตรที่ผิวของชิ้นงาน
เครื่องวิเคราะห์ทางความร้อน (Thermal Analyzer) สำหรับวิเคราะห์การเปลื่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และการเปลี่ยนเฟสของวัสดุเมื่อได้รับความร้อน
สมบัติทางกลแบบหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้โดยง่ายคือ ความแข็ง โดยใช้ เครื่องวัดความแข็งแบบมหภาค (Macrohardness Tester) โดยใช้หัวกดตามเกณฑ์มาตรฐาน
การจำลองกระบวนการผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การถ่ายเทความร้อนในแผ่นโลหะที่หล่อแบบต่อเนื่อง อุณหภูมิ การไหลและแข็งตัวของน้ำโลหะในแบบหล่อ เป็นต้น