ศึกษาอัตราส่วนการพ่นเชื้อรา Trichoderma ที่มีผลต่อการอยู่รอดของกิ่งปักชำ โดยควบคุมด้วยความชื้นในวัสดุปลูก (Group) โรงเรียน ปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เรื่องที่จะศึกษา ศึกษาการเจริญเติบโตหรือการอยู่รอดของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยการขยายพันธุ์มาจากการ Cutting โดยใช้หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ Ventrata คือพันธุ์ผสมจาก Ventocosa x alata
หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ Ventrata คือพันธุ์ผสมจาก Ventocosa x alata
และเชื้อราชนิดนี้ส่งผลต่อความชื้นอย่างไรบ้าง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าเชื้อรา Trichoderma ส่งผลให้ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วจริงหรือไม่ และเชื้อราชนิดนี้ส่งผลต่อความชื้นอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการดำเนินงาน สร้างเครื่องมือเซนเซอร์วัดความชื้นในวัสดุปลูก เพื่อนำมาใช้ตรวจวัดความชื้นเมื่อฉีดพ่นเชื้อราในต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงและนำค่ามาเปรียบเทียบในเวลาที่แตกต่างกัน ขยายเชื้อรา Trichoderma ในข้าวเพื่อนำมาฉีดในต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง เพื่อนำมาศึกษา เตรียมกิ่งปักชำของพันธุ์ Ventrata เพื่อศึกษาการอยู่รอดเมื่อใช้เชื้อรา Trichoderma
วัสดุที่ใช้ 1.ขุยมะพร้าวผสมหินภูเขาไฟ 2.แกลบผสมหินภูเขาไฟ 3.มะพร้าวสับผสมหินภูเขาไฟ
โดยนำวัสดุมาผสมกันในอัตราส่วนดังนี้ หมายเหตุ 1 คือ ใช้ส่วนผสมของชนิดนั้น 0 คือ ไม่มีการใช้ส่วนผสมชนิดนั้น โดยนำวัสดุมาผสมกันในอัตราส่วนดังนี้ แบบพ่นเชื้อรา ขุยมะพร้าวผสมหินภูเขาไฟ แกลบผสมหินภูเขาไฟ มะพร้่าวสับผสมหินภูเขาไฟ ถาดที่ 1 1 : 0 : 1 ถาดที่ 2 1 : 1 : 0 ถาดที่ 3 0 : 1 : 1 แบบไม่้พ่นเชื้อรา ถาดที่ 1 1 : 0 : 1 ถาดที่ 2 1 : 1 : 0 ถาดที่ 3 0 : 1 : 1
ในการพ่นเชื้อรานั้นจะแบ่งเวลาออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้ 1. ตอนเช้า เวลา 08.00 น. 2. ตอนสาย เวลา 10.00 น. 3. ตอนบ่าย เวลา 14.00 น. พ่นทุกๆ 2 วัน
เราจะประมาณการใช้ความเข้มข้นของสารประมาณ 1 เราจะประมาณการใช้ความเข้มข้นของสารประมาณ 1.0 มิลลิลิตร/ลิตร โดยอ้างอิงจากเอกสาร สนอง ทองปาน(1) กล่าวว่า " การวิจัยที่วิจัยการใช้ trichoderma ในการรักษาและป้องกันโรคโคนรากเน่าโดยใช้ต้นราชชินีหินอ่อนและมีความเข้มข้น ของสารเป็น 4.0 มิลลิลิตร/ลิตร " เราจึงประมาณการเอาโดยไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่าจะส่งผลได้จริงหรือไม่ เนื่องจากขนาดของต้นไม่เท่ากันและการเจริญเติบโต โครงสร้างของต้นต่างกัน เลยลองประมาณการใช้ความเข้มข้นแค่ประมาณ 1.0 มิลลิลิตร การตรวจวัดความชื้นหลังจากพ่่นเชื้อราจะตรวจหลังการพ่นเชื้อรา 2 วันหลังจากฉีดพ่นตามเวลาที่กำหนดในแต่ละครั้ง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด แต่ละชุดการทดลองแตกต่างกันอย่างไร มีการพัฒนาอะไรขึ้นบ้าง
การตรวจวัดความชื้นหลังจากพ่่นเชื้อราจะตรวจหลังการพ่นเชื้อรา 2 วันหลังจากฉีดพ่นตามเวลาที่กำหนดในแต่ละครั้ง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด แต่ละชุดการทดลองแตกต่างกันอย่างไร มีการพัฒนาอะไรขึ้นบ้าง
จุดมุ่งหมาย ถ้าเชื้อรา Trichoderma สามารถส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและรักษาโรคโคนรากเน่าได้ แล้วเชื้อราชนิดนี้จะสามารถทำให้ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเจริญเติบโตได้
เอกสารอ้างอิง (1) สนอง ทองปาน สาขาวิชาการมัธยมศึกษา กลุ่มการสอนสิ่งแวดล้อม คณะศึกษาศาสตร์ และศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร http://www.siamexotica.com/Carnivorous-Growing.html http://www.neofarmthailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=307804&Ntype=2
สมาชิก นาย สิทธิโชค จมจา. นางสาว นุชเนตร พิมแพง นางสาว มาริษา อรรถาลำ