วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
อังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ณ โรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา วัดพระแก้ว
Advertisements

ไหว้พระเก้าวัด โดย นางวัฒนา ศรีประเสริฐ อาจารย์ 2 ระดับ 7.
ผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยคือใคร
จากรูปภาพ นักเรียนคิดว่าเป็นการแต่งกายของชนชาติใด??
คำราชาศัพท์และคำสุภาพ
ชวนไปทัศนา “ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน”
วัดพระแก้ว.
เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
พระบรมมหาราชวัง Grand Palace.
พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์และสยามวงศ์สมัยอยุธยา
บันทึกประวัติศาสตร์ เรื่อง....การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
พุทธประวัติ.
การยิงสลุตหลวง.....โดยกอง รปภ.ฐท.กท.
บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย
โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นางสาวสุกัญญา จันทร์ทอง (ฝน) คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิทยาการสิ่งทอ
MY PROFILE Name : Danai Phosri Date Of Birth : 18 March 1993
แนะนำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่สำคัญ ของกรุงรัตนโกสินทร์
ศาสนา.
กำหนดการพิธีเททองหล่อ ครบรอบวันสถาปนากรมปศุสัตว์ ๗๒ ปี
จัดทำโดย ด.ช.นิธิกร สูงปานเขาป4/2 เลขที่11
พระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา องค์ราชัน
ด.ญ.กิตติมา สุภโรจนีย์ เลขที่ 33 ป.4/6
โดย เด็กชายชนสิษฏ์ วุฒิรักษ์ชัยนันท์ ป.4/3 เลขที่7
แหล่งท่องเที่ยวในสุพรรณบุรี
คำนำ งานนำเสนอเรื่องใช้ประกอบการเรียนการสอน รายวิชา ง20210เทคโนโลยีสารสนเทศ 3 โปรแกรม PowerPoint 2007 เพื่อศึกษาในเรื่อง เขาวัง(พระนครคีรี) ผู้จัดหวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ศึกษาหากมีข้อผิดพลาประการใดผู้จัดทำขออภัยมา.
The designs inspired by Phra Maha Chedi of King Rama I-IV at Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm Rajwaramahaviharn Mr. Taechit Cheuypoung.
การรายงานผลการดำเนินงาน ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกระบี่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
“แนวทางการดำเนินงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่ ประมุขของรัฐต่างประเทศ
อาจารย์พรทิพย์ พรหมศร อาจารย์สุเนตรา เขียวรำภา อาจารย์วิชิตา ชาติมาลา
จังหวัดราชบุรี จัดทำโดย
ประเพณีชักพระ.
โครงการเข้าวังฟังธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี จัดกิจกรรมร่วมกัน ของศาสนิกชนทั้ง.
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ วันที่ ๑ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ลานพระราชวัง ดุสิต.
คำแปลของคำขวัญกรุงเทพมหานคร
สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา
นางสาวสุศนีย์ พิพัฒนานุกูล
ศาสนพิธี สำหรับชาวพุทธ.
นิทานเวตาล น.ม.ส. เข้าสู่บทเรียน.
Slogan Of the province History Mood &Tone ROIET.
วัดมโนภิรมย์ จังหวัด มุกดาหาร.
รวบรวมข้อมูลมาจาก วิกิพีเดีย
การแต่งกาย.
โดย ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงษ์ ณ อยุธยา
ประวัติ พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของ เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า " บางกอก " มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญ.
“เปิดวัดไทย ใหญ่ที่สุดในโลก ถวายในหลวง”
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
ประวัติความ เป็นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระ นางเจ้าพระบรมราชินี นาถทรงสนพระทัยในการที่พระเทพสิทธิญาณรังสี ( พระอาจารย์จันทร์ คเวสโก ) ได้ไปดำเนินการพัฒนา.
เรื่องบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย พระยาพิชัยดาบหัก
ทัศนะศึกษา วัดอรุณราชวราราม.
วรรณกรรมในสมัยอยุธยามีอยู่มากตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จนตลอดระยะเวลาของ กรุงศรีอยุธยาวรรณกรรมที่ดีเด่นจนได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีมีอยู่หลายเรื่อง.
สถานที่ที่สำคัญในอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยว 10 อันดับ
บทที่11 สถานที่ท่องเที่ยวอันลือชื่อของไทย
ราชาศัพท์.
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดลำพูน จัดทำโดย ด.ญ.ธวัลรัตน์ ศรีวรรณา ชั้น ม.1/4 เลขที่ 17 เสนอ คุณครูอรอุมา พงค์ธัญญะดิลก โรงเรียน จักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน.
อุโบสถวัดราช บูรณะ ลักษณะ อุโบสถเป็นอาคารก่อ อิฐถือปูน ด้านหน้ามีทางเข้า ๒ ทาง มีประตู ๒ คู่ มีหน้าต่างด้านละ ๔ คู่ รวมเป็น ๘ คู่ พื้นภายในพระอุโบสถยกระดับสูง.
พิธีการใช้พานพุ่ม.
วรรณคดีสมัย กรุงรัตนโกสินทร์.
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 41102
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 41102
พระบรมมหาราชวัง.
พระคุณพ่อหลวง พ่อหลวงรักเรา เรารักพ่อหลวง ถัดไป.
ที่มาของคำราชาศัพท์ มาจากคำไทย+ภาษาต่างประเทศ บาลี,สันสกฤต,เขมร
รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน ตุลาคม 2557 สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว

สมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว กวิศรา ตระกูลษา เลขที่ 10 2. นางสาว เนติกา จันทร เลขที่ 15 3. นางสาวเบญจวรรณ ฉัตรวิจิตร เลขที่ 16 4. นางสาวบุษกร ฉัตรวิจิตร เลขที่ 17 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

รูปสมาชิกในกลุ่มวัดพระแก้ว

ข้อมูลเบื้องต้นทั่วไป ชื่อสามัญ วัดพระแก้ว ที่ตั้ง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10200 ประเภท พระอารามหลวงชั้นพิเศษ พระประธาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปสำคัญ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระสัม พุทธพรรณี พระชัยหลังช้าง พระคันธารราษฎร์ พระนาก พระจำพรรษา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ความพิเศษ พระอารามประจำ พระบรมมหาราชวัง จุดสนใจ สักการะพระแก้วมรกต ชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่พระระเบียง กิจกรรม เทศนาธรรม วันอาทิตย์ และวันพระ ข้อห้าม ห้ามสวมกางเกงหรือกระโปรง ที่มีชายสูงกว่าเข่าทุกชนิด เสื้อที่เปิดไหล่ ทุกชนิด รองเท้าที่เปิดส้นทุกชนิด และกางเกนยีนส์ขาดๆ

ประวัติความเป็นมา วัดพระแก้ว หรือชื่อเต็มคือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2325 เป็นวัดที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยอายุที่มากกว่า 200 ปีมาแล้วเป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน      

พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันวัดพระแก้วเป็นวัดที่สำคัญต่อบ้านเมือง เป็นที่เชิดหน้าชูตา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร      บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป   หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี

รูปป้ายวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

รูปวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ทางเข้าของคนไทยเพื่อเข้าไปเยี่ยมชมวัดพระแก้ว ตรงซุ้มตรวจบัตรเข้าชมจะมีช่องเฉพาะสำหรับคนไทยอยู่ทางซ้าย ส่วนใครที่เป็นคนไทยแต่หน้าตากระเดียดไปทางจีนหรือญี่ปุ่นสักหน่อย อาจจะต้องร้องเพลงชาติให้เจ้าหน้าที่ฟังก่อนสักรอบ ล้อเล่นคะเพียงแต่ส่งยิ้มแล้วบอกว่าเป็นคนไทยก็เรียบร้อยแล้วคะ

ผ่านประตูเข้ามา ก็จะเจอท่านฤาษีนั่งยิ้มรอต้อนรับอยู่ รูปฤาษี นี้คือหมอประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า หรือท่าน "ชีวก โกมารทัจน์ " ท่านเป็นที่นับถือของผู้ที่ศึกษาทางด้านการแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะมาขอพรจากท่านกัน ส่วนตรงมุมล่างซ้ายของภาพ จะมีแท่งหินอยู่แท่งหนึ่ง เป็นหินบดยา

 ยักษ์ทวารบาล ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาภายในบริเวณวัด ทั้งหมดมีอยู่ 6 คู่ด้วยกัน

เดินผ่านศาลาราย มาแล้วเข้าไปที่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่เรียกกันสามัญว่าพระแก้วมรกตกัน ส่วนใครที่ต้องการจะจุดธูปเทียนบูชาพระแก้วมรกต ทางวัดจัดสถานที่ตรงลานหน้าพระอุโบสถเอาไว้ให้

เข้ามาภายในพระอุโบสถแล้ว เขาไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ก็เลยมีแต่ภาพที่ ซูมจากด้านนอกเข้าไป คุณภาพภาพจะแย่สักหน่อยนะคะ

เมื่อลงจากตัวพระอุโบสถมาตรงเชิงบันไดจะมีอ่างน้ำมนต์ตั้งอยู่ เรามักนิยมเอาดอกบัวไปจุ่มน้ำมนต์มาประพรมเป็นสิริมงคล เพราะน้ำมนต์นี้เป็นน้ำที่ได้จากการสรงพระแก้วมรกตให้แต่ละครั้งที่มีการ เปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดู

สถานที่ในวัดพระแก้ว

ตราประจำรัชกาลและช้างเผือก สำหรับรัชกาลที่ 1 เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ รัชกาลที่ 2 เป็นรูปครุฑยุดนาค

มินินครวัต หรือ นครวัตจำลอง ที่รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้ไปถ่ายแบบมาจากนครวัด เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นของแปลกมหัศจรรย์ แล้วในขณะนั้นกัมพูชายังเป็นประเทศราชของไทยอยู่

สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์เพิ่มมุม 12 มีรูปลิงและยักษ์แบก เจดีย์นี้รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระชนกชนนี ซึ่งเป็นตามธรรมเนียมการสร้างวัดที่จะสร้างเจดีย์คู่ไว้หน้าวัด เป็นการอุทิศแก่บิดามารดาของผู้สร้าง ที่ฐานเจดีย์เป็นรูปยักษ์กับกระบี่ (ลิง)แบกเจดีย์

สมัยรัชกาลที่ 4 ยังได้โปรดฯ ให้สร้าง ปราสาทพระเทพบิดร ขึ้นด้วย เดิมเรียกว่า พุทธปรางค์ปราสาท สังเกตุว่าส่วนยอดจะเป็นปรางค์

ส่วนเจดีย์องค์นี้สร้างเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า พระศรีรัตนเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงระฆังซึ่งถ่ายแบบมาจากเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่กรุงเก่ามาสร้าง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ว่ากันว่าเจดีย์ทรงระฆังอย่างนี้เป็นรูปแบบที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด เพราะเจดีย์ตามวัดที่รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างก็มักจะเป็นเจดีย์ทรงนี้ทั้งนั้น อย่างที่วัดบวรนิเวศฯ

หอระฆัง ที่เห็นนี้แขวนระฆังซึ่งขุดพบที่วัดระฆังใน สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะมาก วัดระฆังก็เลยได้ชื่อตามระฆังที่ขุดพบนี้ เมื่อรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้นำมาไว้ที่วัดพระแก้ว ก็เลยพระราชทานระฆังอื่น 5 ใบไปแทนซึ่งเราจะยังเห็นอยู่ที่หอระฆังวัดระฆัง

แหล่งอ้างอิง ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ วัดพระแก้ว [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttp://www.dhammathai.org เข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555 สถานที่จริง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล .ประวัติวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ :บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),

ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ค่ะ