กลยุทธ์และแผนงานโครงการ สุวิต ศรีไหม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis) การวิเคราะห์แผนงานโครงการต้องพิจารณาทุกขั้นตอนสำคัญตลอดกระบวนการ (ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง) เพื่อออกแบบแผนงานโครงการ (ตามกระบวนการส่งมอบคุณค่า) ที่มีลักษณะบูรณาการ (ไม่คิดแบบแยกส่วน) และแก้ปัญหาได้จริง ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการส่งมอบคุณค่า การรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม เกษตรกร ประยุกต์ใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในการ ประกอบอาชีพ สินค้าเกษตร ได้รับการวิจัย และพัฒนาการผลิต ให้มีคุณภาพ ระบบตลาด ได้รับพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญมีกลไก การบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มมูลค่า การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารได้มาตรฐานตามระบบความปลอดภัย ความ พึงพอใจ ของผู้รับบริการ ต้องการ การ พัฒนา ออกแบบ ผลิต ตลาด บริการ
การวางกลยุทธ์และแผนงานโครงการ
กรอบในการคัดกรองแผนงานโครงการ ขนาดแผนงานโครงการ ผลลัพธ์ ผลได้ และผลกระทบ การบูรณาการและความร่วมมือ ศักยภาพการจัดการหน่วยงานรับผิดชอบ กรอบระยะเวลาความสำเร็จ แผนงานโครงการที่เสนอต้องผ่านทั้งห้าเกณฑ์ขั้นต้น
ขนาดแผนงานโครงการ เป็นชุดแผนงานโครงการ “คิดใหญ่” (Big Ideas/Big Projects) มองภาพรวมการพัฒนาจังหวัดเป็นหลักสำคัญ ถ้าทำชุดแผนงานโครงการนี้สำเร็จจะสามารถมองเห็นความสำเร็จในภาพรวมได้ระดับหนึ่ง การนำเสนอชุดแผนงานโครงการในลักษณะนี้ต้องก้าวข้ามกรอบบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน แผนงานโครงการในลักษณะดังกล่าวควรเป็นแผนงานโครงการที่มีงบประมาณหนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ผลลัพธ์ ผลได้ และผลกระทบ เป็นชุดแผนงานโครงการที่ผลของการดำเนินงานสามารถสร้างผลกระทบในภาพกว้าง สามารถสนองตอบต่อหลายเป้าประสงค์และตัวชี้วัด หรือแม้กระทั่งสนองตอบต่อประเด็นยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน
การบูรณาการและความร่วมมือ เป็นแผนงานในลักษณะบูรณาการเป็นชุดโครงการ ที่มีกิจกรรมหรือโครงการย่อย มีหลายหน่วยงานและภาคส่วนร่วมกันทำงาน (หนึ่งแผนงานแต่หลายเจ้าภาพร่วมทำงานตอบโจทย์เดียวกัน) โดยควรมีบัญทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding; MOU) ระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักกับภาคีอื่นๆ มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบและความร่วมมือระหว่างกันอย่างชัดเจน ควรเป็นโครงการที่ได้รับงบสนับสนุนจากหลายแหล่งงบประมาณ ไม่เฉพาะแต่งบประมาณจากจังหวัด
ศักยภาพการจัดการหน่วยงานรับผิดชอบ หน่วยงานรับผิดชอบหลักต้องเป็นหน่วยงานระดับจังหวัดที่มีศักยภาพการจัดการและสามารถใช้ศักยภาพของตนเองและภาคีทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ ในกรณีที่เป็นแผนงานโครงการที่เกินกว่าศักยภาพของหน่วยงานระดับจังหวัด แผนงานโครงการนั้นๆต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานหลักที่สามารถดำเนินการทำให้แผนงานโครงการนั้นๆ ประสบความสำเร็จ
กรอบระยะเวลาความสำเร็จ เป็นชุดแผนงานโครงการที่สามารถทำให้เป้าประสงค์และตัวชี้วัดสำเร็จได้ในระยะเวลาที่กำหนดตามแผนพัฒนาจังหวัด ถ้าเป็นชุดแผนงานโครงการต่อเนื่องระยะยาว (ไม่สามารถวัดผลสำเร็จสุดท้ายได้ในระยะเวลาอันสั้น) ก็ควรชี้วัดความสำเร็จของชุดแผนงานโครงการในกรอบระยะเวลาตามแผนพัฒนาจังหวัดได้ การวัดความสำเร็จของชุดแผนงานโครงการ ไม่ได้วัดที่ตัวแผนงานโครงการแต่วัดที่ผลของการพัฒนา
อาจารย์สุวิต ศรีไหม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี e-mail : suwit.s@psu.ac.th ผู้ร่วมสัมมนาทุกท่านสามารถเรียกดูเอกสารชุดนี้ได้ที่ http://share.psu.ac.th/blog/strategist/13088