Lab 1. การเก็บตัวอย่าง และการจำแนกชนิดวัชพืช การสุ่มตัวอย่าง อุปกรณ์ การอบและการจัดทำตัวอย่างวัชพืชแห้ง การจำแนกชนิดของวัชพืช นิเวศวิทยาของวัชพืช การปรากฏ ความหนาแน่น การครอบคลุมพื้นที่ การแข่งขัน และการตอบสนองต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร
กิจกรรม 3 มิย. 56 ร่วมกันปลูกพืช 2 ชนิด คือ ข้าวโพดหวาน ATS2 และถั่วเขียว กพส1 ในแปลงตัวอย่าง พื้นที่ประมาณ 2(8x20) ม2 ที่ได้ไถพรวนไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และยกร่องปลูก 50 ซม. ระยะระหว่างต้น 25 ซม. ปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ให้หัดสังเกตวัชพืชที่งอกออกมาแล้ว ว่ามีอะไรบ้าง จำนวนหรือหนาแน่นอย่างไร แบ่งแปลงปลูกออกเป็นสองส่วน แล้วทำการฉีดพ่นสารป้องกันวัชพืช อะลาคลอร์ 68 มล. ผสมน้ำ 16 ลิตร (ฉีดจริงเพียง 15 ลิตร) เตรียมแผงอัดตัวอย่างวัชพืชไว้ สำหรับการเก็บตัวอย่างวัชพืช
กิจกรรม 10 มิย. 56 แบ่ง 10 กลุ่มๆละ 5-7คน อธิบายการเก็บตัวอย่างวัชพืช แจกแผงอัดตัวอย่างวัชพืช ให้เก็บตัวอย่างวัชพืช 10 ชนิด ที่พบในแปลงพืชยืนต้น แปลงพืชล้มลุก หรือบริเวณรอบอาคาร ของภาควิชาพืชศาสตร์และการจัดการศัตรูพืช ให้มีการบันทึกข้อมูลแปลงพืช อธิบายการสุ่มหรือเลือกเก็บวัชพืช และอธิบายลักษณะเด่นๆ ของวัชพืช จำแนกชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ นำมาอัดแห้ง แล้วติดบนกระดาษ (เพื่อส่งเป็นรายงาน)
กิจกรรม 17 มิย. 56 แต่ละคนในกลุ่มย่อยนำตัวอย่างวัชพืชที่อบแห้งแล้วมาจัดติดบนกระดาษคนละ 1 ตัวอย่าง หัดการจัดตัวอย่าง แล้วให้เขียนรายละเอียดทางพฤกษศาสตร์ (ชื่อพืชไทย สามัญ วิทยาศาสตร์) วงศ์ ระบุแปลงที่เก็บตัวอย่าง วันเดือนปีที่เก็บ โดยให้ค้นหารายละเอียดคำอธิบายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และนิเวศวิทยาของวัชพืช ลักษณะทางการเกษตร (ปัญหาการแก่งแย่งแข่งขัน หรือประโยชน์อื่นที่อาจมีของวัชพืชชนิดนั้น) จากตัวอย่างจริงเทียบกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง สังเกตการปรากฏของวัชพืชร่วมกับพืชปลูกในแปลงตัวอย่าง ข้าวโพดหวานและถั่วลิสง ดูชนิดของวัชพืช การเจริญพันธุ์ ความเด่น ....... นำมาอภิปรายสรุป
กิจกรรม 17 มิย. 56 แจกภาพวัชพืช 80 ชนิดให้แต่ละกลุ่ม พร้อมสมุด หรือ กระดาษการ์ดแข็ง ให้ศึกษา ชื่อไทย (Thai name) ชื่อสามัญอังกฤษ (common name) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) และชื่อวงศ์ (Family) ของวัชพืชแต่ละชนิดจาก website ของโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุกรรมพืช ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ แล้วนำภาพวัชพืชมาติดบนสมุดที่แจกให้ โดยกำหนดให้ กลุ่มที่ 1 และ 2 มีสารบัญเรียงตามลำดับชื่อไทย (ก – ฮ) กลุ่มที่ 3 และ 4 เรียงตามลำดับชื่อวิทยาศาสตร์ กลุ่มที่ 5 และ 6 เรียงตามลำดับชื่อวงศ์ และชื่อวิทยาศาสตร์ กลุ่มที่ 7 และ 8 เรียงตามลำดับชื่อสามัญ ส่วนกลุ่มที่ 9 และ 10 ติดบนกระดาษการ์ดแข็ง พร้อมทั้งเขียนคำบรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และทางนิเวศที่เด่นๆ ของวัชพืชแต่ละชนิดประกอบด้วยลายมือ เมื่อแล้วเสร็จและ เรียกสมุดนี้ว่า Ours Weeds’ Field Guide เพื่อใช้ในการรู้จักวัชพืชในแปลงจริง ๆ ต่อไป