ว่าด้วยการควบคุมโรงงานทำสุราแช่ชนิดเบียร์ ที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงานทำสุราแช่ชนิดเบียร์ ที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2526
ด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 85 (พ. ศ ด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2526) [ปัจจุบันคือกฎกระทรวงฉบับที่ 116 (พ.ศ. 2541)] ออกตามความในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ได้กำหนดให้มีการเสียภาษีสุราสำหรับสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ทำในราชอาณาจักร โดยวิธีอื่นนอกจากวิธีการปิดแสตมป์สุราไว้ ฉะนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ทำในราชอาณาจักรเป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงให้ยกเลิกความในข้อ 3 ก. แห่งระเบียบควบคุมการทำสุราแช่ ลงวันที่ 6 มกราคม 2507 และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำสุราแช่ชนิดเบียร์ในระเบียบดังกล่าว และให้ระเบียบดังต่อไปนี้แทน
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงงาน ทำสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2526” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ (1) เบียร์ หมายความว่า สุราแช่ชนิดเบียร์ (2) โรงงานเบียร์ หมายความว่า โรงงานสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ได้รับ ใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิต ให้ทำสุราแช่ชนิดเบียร์ทุกชนิด (3) ภาชนะบรรจุเบียร์ หมายความว่า ภาชนะบรรจุเบียร์ที่ได้รับอนุญาต จากกรมสรรพสามิตแล้ว (4) ผู้รับอนุญาต หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรม สรรพสามิตให้ทำสุราแช่ชนิดเบียร์ และให้รวมถึงผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำ สุราแช่ชนิดเบียร์ภายในโรงงานเบียร์นั้น ๆ ด้วย (5) ผู้ควบคุมโรงงาน หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิตผู้ซึ่ง ทางราชการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำโรงงานเบียร์ ซึ่ง ประกอบด้วยหัวหน้าผู้ควบคุมโรงงาน 1 นาย และผู้ช่วยผู้ควบคุม โรงงานตามแต่กรมสรรพสามิตจะแต่งตั้ง
ข้อ 4 อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโรงงานเบียร์ ผู้รับอนุญาตจะต้องจัดให้มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) จัดให้มีห้องสำหรับกรองเบียร์ มีประตูเข้าออกซึ่งใส่กุญแจได้ 2 ดอก ให้ผู้รับอนุญาตถือ 1 ดอก ผู้ควบคุมโรงงานถือ 1 ดอก ถ้าไม่มีห้องเฉพาะสำหรับทำการกรองดังกล่าว ต้องจัดให้มีที่สำหรับ ใส่กุญแจดังกล่าวที่เครื่องกรองเบียร์เช่นเดียวกัน (2) จัดให้มีห้องสำหรับเก็บเบียร์ที่ได้ผ่านการกรองมาแล้ว โดยต้องสร้าง ให้มิดชิดแข็งแรงที่ประตู เข้าออกต้องมีที่ สำหรับใส่กุญแจได้ ประตูละ 2 ดอก ให้ผู้รับใบอนุญาตถือ 1 ดอก ผู้ควบคุมโรงงานถือ 1 ดอก (3) จัดให้มีห้องหรือสถานที่สำหรับเก็บเบียร์ที่ได้บรรจุภาชนะแล้ว ไว้โดยเฉพาะที่ประตูเข้าออกทุกแห่งมีที่สำหรับใส่กุญแจได้ 2 ดอก สำหรับผู้ควบคุมโรงงานถือ 1 ดอก ผู้รับอนุญาตถือ 1 ดอก โดยให้แยกเก็บเบียร์ไว้ตามชนิดหรือชื่อ และขนาดภาชนะบรรจุ อย่าให้ปะปนกัน
(4) จัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ควบคุมโรงงานใช้ปฏิบัติราชการตามหน้าที่ เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ และในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ควบคุมโรงงานนั้น ผู้รับอนุญาตต้องให้ความสะดวกตามสมควร (5) จัดให้มีอาคารบ้านพักไว้ภายในบริเวณโรงงาน สำหรับให้ เจ้าพนักงานควบคุมใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ตามความจำเป็น ข้อ 5 ให้ผู้ควบคุมโรงงานลั่นกุญแจและผนึกตราที่อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ (1) ที่ท่อทางเข้า-ออกของเครื่องกรองเบียร์ที่ผ่านการหมักมาแล้ว (2) ที่ท่อทางเข้า-ออกของถังเก็บเบียร์ที่ผ่านการกรองแล้ว (3) ที่ท่อทางเข้าเครื่องบรรจุภาชนะทุกเครื่อง (4) ที่ตู้ควบคุมเครื่องมือแสดงปริมาณการจ่ายน้ำเบียร์ไปบรรจุภาชนะ หรือเครื่องมือแสดงปริมาณอื่น ๆ ที่กรมสรรพสามิตให้ใช้เป็นเครื่องมือ แสดงปริมาณเบียร์ที่บรรจุภาชนะ ข้อ 6 เมื่อผู้รับอนุญาตประสงค์จะทำการผลิตเบียร์และบรรจุภาชนะ หรือเพื่อให้ผู้ควบคุมโรงงานปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ หรือวันหยุดราชการ เป็นการประจำหรือชั่วคราว ต้องได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตก่อน
ข้อ 7 เมื่อผู้รับอนุญาตจะทำการต้มเบียร์ให้แจ้งต่อผู้ควบคุมโรงงาน ตามแบบ สบ. 101 ข้อ 8 เมื่อผู้รับอนุญาตจะนำเบียร์จากถังเก็บไปกรอง ให้แจ้งต่อ ผู้ควบคุมโรงงานตามแบบ สบ. 102 ในการนี้ผู้ควบคุมโรงงาน จะไขกุญแจ และทำลายตราที่ผนึกไว้ที่ห้องหรือเครื่องกรองเบียร์ ตามข้อ 4(1) และข้อ 5(1) และไขกุญแจและทำลายตราที่ผนึกไว้ที่ห้อง และถังเก็บตามข้อ 4(2) และข้อ 5(2) เพื่อให้ผู้รับอนุญาตทำการ กรองเบียร์ เมื่อการกรองเบียร์เสร็จแล้วให้ลั่นกุญแจ และผนึกตรา ที่ห้องเครื่องกรองเบียร์และถังเก็บเบียร์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเสร็จสิ้นการผลิตเบียร์ในแต่ละวัน ให้ผู้รับอนุญาตจัดทำรายงาน การผลิตเบียร์ประจำวันตามแบบ สบ. 401 ยื่นต่อผู้ควบคุมโรงงาน และจัดทำบัญชีรายวันแสดงรายละเอียดการผลิตเบียร์ตามแบบ สบ. 301 โดยจะต้องลงรายการให้เสร็จสิ้นภายใน 10.00 น. ของวันรุ่งขึ้น และต้องเก็บบัญชีนี้ไว้ให้ผู้ควบคุมโรงงานหรือเจ้าพนักงานสรรพสามิต ตรวจสอบได้ทุกเวลา
ข้อ 9 การเสียภาษี (1) วิธีการคำนวณปริมาณน้ำเบียร์เพื่อการเสียภาษี ให้คำนวณ จากขนาดของภาชนะบรรจุเบียร์ที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพสามิตแล้ว โดยไม่คำนึงว่าได้มีการบรรจุน้ำเบียร์เต็มขนาดภาชนะหรือไม่ (2) เมื่อผู้รับอนุญาตประสงค์จะนำเบียร์ที่กรองแล้วไปบรรจุภาชนะ ให้ยื่นคำขอ โดยแจ้งปริมาณเบียร์ดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ตามแบบ สบ. 103 ณ กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด พร้อมกับชำระค่าภาษีสุราสำหรับเบียร์จำนวนดังกล่าวนั้นเป็นการล่วงหน้า ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตได้รับเงินชำระค่าภาษีสุราแล้ว ก็จะออกหนังสือสั่งจ่ายน้ำสุราตามแบบ สบ. 201 ให้การยื่นคำขอ ตามวรรคหนึ่งให้ยื่นผ่านผู้ควบคุมโรงงาน **** แบบ สบ.103 ยกเลิก ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์ต่าง ๆ ลงวันที่ 4 กันยายน 2556
(3) ก่อนที่จะนำเบียร์ตาม (2) ไปบรรจุภาชนะ ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอ ต่อผู้ควบคุมโรงงานตามแบบ สบ. 104 พร้อมทั้งแสดงหนังสือสั่งจ่าย น้ำสุราด้วย เมื่อผู้ควบคุมโรงงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าจำนวนเบียร์ที่ขอ นำไปบรรจุภาชนะ มีชนิดถูกต้องและจำนวนไม่เกินปริมาณเบียร์ที่เสียภาษีไว้ ก็จะอนุญาตให้ทำการบรรจุภาชนะได้โดยจะทำลายตรา และไขกุญแจที่ท่อทางจ่ายเบียร์จากถังเก็บและที่เครื่องบรรจุภาชนะ ตามข้อ 5 (2) และ (3) พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องมือแสดงปริมาณ น้ำเบียร์ที่จ่ายมาบรรจุภาชนะ และเครื่องมือแสดงปริมาณเบียร์ ที่บรรจุภาชนะแล้วทุกเครื่องเสียก่อนว่าอยู่ในสภาพดีใช้การได้ จึงให้ทำการบรรจุภาชนะได้ และเมื่อการบรรจุภาชนะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการลั่นกุญแจผนึกตราที่ท่อหรือเครื่องมือดังกล่าวไว้เช่นเดิม (4) เมื่อเริ่มและสิ้นสุดการบรรจุภาชนะ ให้ผู้รับอนุญาตร่วมกับผู้ควบคุมโรงงาน ทำการบันทึกตัวเลขแสดงปริมาณเบียร์ ที่ปรากฏที่เครื่องมือ ที่ติดตั้งไว้ตามข้อ 5(4) พร้อมทั้งลงรายการต่าง ๆ รวมทั้งแสดงปริมาณเบียร์ที่สูญเสียตามแบบ สบ. 402 ด้วย
ในระหว่างที่มีการบรรจุภาชนะ ถ้ามีเหตุขัดข้องผิดปกติเกี่ยวกับการบรรจุภาชนะ ให้ผู้ควบคุมโรงงานบันทึกรายละเอียดไว้ในแบบ สบ. 402 ทุกขั้นตอน ทั้งนี้ ผู้ควบคุมโรงงานจะต้องคอยควบคุมดูแลมิให้การจ่ายน้ำเบียร์ มาบรรจุภาชนะ มีปริมาณเกินกว่าที่ได้อนุญาตไว้ตาม (3) (5) เมื่อการบรรจุภาชนะเสร็จสิ้นในวันหนึ่ง ๆ ให้ผู้รับอนุญาตร่วมกับ ผู้ควบคุมโรงงานทำการตรวจนับจำนวนเบียร์ที่บรรจุภาชนะได้จริง แล้วลงรายละเอียดไว้ตามแบบ สบ. 402 (6) ในกรณีที่เครื่องมือแสดงปริมาณการจ่ายน้ำเบียร์ไปบรรจุภาชนะ หรือเครื่องมือแสดงปริมาณเบียร์ที่ได้บรรจุภาชนะแล้ว ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถคำนวณปริมาณน้ำเบียร์ได้แน่นอน ให้ผู้ควบคุมโรงงานร่วมกับผู้รับอนุญาตตรวจนับจำนวนเบียร์ที่บรรจุภาชนะ และให้ถือจำนวนเบียร์ที่นับได้นี้เป็นจำนวนเบียร์ที่จะต้องเสียภาษี (7) ให้ผู้ควบคุมโรงงานจัดทำบัญชีแบบ สบ. 303 เพื่อแสดงรายละเอียด การบรรจุภาชนะเบียร์ และบัญชีแบบ สบ. 304 เพื่อควบคุมจำนวนเบียร์ ที่บรรจุภาชนะแล้ว แยกตามชื่อหรือตราและขนาดภาชนะบรรจุเบียร์
ข้อ 10 การคำนวณปริมาณน้ำเบียร์ที่สูญเสียในระหว่างการบรรจุภาชนะ และการขอเครดิตค่าภาษี (1) ปริมาณน้ำเบียร์ที่สูญเสียระหว่างการบรรจุภาชนะ ให้นำไปคำนวณ เป็นค่าภาษีเพื่อใช้เป็นเครดิตในการเสียภาษีครั้งต่อไปได้ (2) การคำนวณปริมาณน้ำเบียร์ที่สูญเสียในระหว่างการบรรจุภาชนะ ให้คำนวณจากปริมาณน้ำเบียร์ที่จ่ายมาบรรจุภาชนะ หักออกด้วยจำนวนเบียร์ที่บรรจุภาชนะแล้ว ซึ่งปรากฏ ตามเครื่องวัดในข้อ 5(4) และให้ลงรายการไว้ในแบบ สบ. 402 (3) ถ้าปริมาณน้ำเบียร์ที่สูญเสียในระหว่างการบรรจุภาชนะแต่ละครั้ง ไม่เกินกว่าปริมาณการสูญเสียปกติ ที่อธิบดีกรมสรรพสามิต ประกาศกำหนด และผู้รับอนุญาตประสงค์จะขออนุมัติเครดิตค่าภาษี ให้ยื่นคำขอตามแบบ สบ. 105 ผ่านผู้ควบคุมโรงงาน เมื่อผู้ควบคุม โรงงานตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง ให้เสนอต่อกรมสรรพสามิตหรือ สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดที่โรงงานเบียร์ตั้งอยู่ เพื่อออกหนังสือ สั่งจ่ายน้ำสุราตามแบบ สบ. 201 ให้แก่ผู้รับอนุญาตนำไปบรรจุภาชนะได้ และสำเนาให้ผู้ควบคุมโรงงานทราบด้วย
(4) ในกรณีที่ปริมาณน้ำเบียร์ที่สูญเสีย ในระหว่างการบรรจุภาชนะ ที่คำนวณได้ตาม (2) มีจำนวนเกินกว่าปริมาณการสูญเสียปกติ ที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนด และผู้รับอนุญาตประสงค์ จะขออนุมัติเครดิตค่าภาษี ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอ ตามแบบ สบ. 105 พร้อมเหตุผลและหลักฐานประกอบคำขอ ผ่านทางผู้ควบคุมโรงงาน เ พื่อพิจารณาเสนอขออนุมัติต่อ กรมสรรพสามิตต่อไป (5) ให้ผู้ควบคุมโรงงานจัดทำบัญชีการชำระค่าภาษีและเครดิต ค่าภาษีตามแบบ สบ. 302 ข้อ 11 สำหรับการบรรจุภาชนะเบียร์ชนิดถัง ซึ่งกรมสรรพสามิตยังมิได้ติดตั้ง เครื่องวัดปริมาณน้ำเบียร์ที่นำไปบรรจุภาชนะ และเครื่องวัดปริมาณเบียร์ ที่บรรจุภาชนะแล้ว ให้เสียภาษีด้วยวิธีการปิดแสตมป์ โดยให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) เบียร์ที่นำมาทำการบรรจุภาชนะต้องปิดแสตมป์สุราให้เสร็จเรียบร้อย ในคราวเดียวกันและนำวิธีการปิดแสตมป์สุราในข้อ 5 แห่งระเบียบ ควบคุมการต้มกลั่น พ.ศ. 2500 (ปัจจุบัน ใช้ระเบียบว่าด้วยการ ควบคุมโรงงาน สุรากลั่น พ.ศ.2533 ลว 12 พฤศจิกายน 2533) มาใช้ปฏิบัติโดยอนุโลม แต่ถ้าปิดแสตมป์สุราไม่หมด ต้องแยกเก็บ ส่วนที่ยังไม่ได้ปิดแสตมป์ สุรานั้นไว้ต่างหากในห้องเก็บตามข้อ 4(3) และให้ผู้ควบคุมโรงงานนำจำนวนเบียร์ที่ยังไม่ได้ปิดแสตมป์สุรานั้น ลงบัญชีแบบ สบ. 305 เมื่อผู้รับอนุญาตจะนำออกมาปิดแสตมป์สุรา เป็นจำนวนเท่าใด ต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมโรงงานทราบโดยใช้ แบบ ส. 1/82 มาลงรับเข้าบัญชีแบบ สบ. 304 โดยอนุโลม
(2) ในการชำระเงินค่าภาษีสุรานั้น ให้ผู้รับอนุญาตยื่นคำขอตามแบบ ส. 1/83 แสดงจำนวนเงินค่าภาษีและรายการขอรับแสตมป์สุราต่อผู้ควบคุม โรงงานเพื่อตรวจสอบเสียก่อน เมื่อผู้ควบคุมโรงงานเห็นว่าถูกต้องแล้ว ผู้รับอนุญาตจึงนำคำขอและเงินค่าภาษีไปชำระต่อกรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด แล้วแต่กรณี (3) เมื่อผู้รับอนุญาตชำระเงินค่าภาษีและรับแสตมป์สุรามาจากกรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดแล้ว ต้องนำหลักฐานแสดงการ เสียภาษีสุราพร้อมด้วยแสตมป์สุรา ยื่นต่อผู้ควบคุมโรงงานเพื่อตรวจสอบ และลงบัญชีแบบ ส. 1/84 แล้วให้ผู้ควบคุมโรงงานมอบแสตมป์สุรา แก่ผู้รับอนุญาตนำไปเก็บรักษาเอง ข้อ 12 ผู้รับอนุญาตต้องมอบตัวอย่างเบียร์ที่บรรจุภาชนะแล้ว ให้แก่ผู้ควบคุม โรงงานเก็บไว้ในสถานที่ทำการของผู้ควบคุมโรงงาน ทุกคราวที่มีการบรรจุภาชนะเพื่อทำการตรวจสอบ ข้อ 13 สถานที่และอุปกรณ์ตามข้อ 4(1), (2) และ (3) และข้อ 5 ต้องปิด และใส่กุญแจเสมอ จะเปิดได้ต่อเมื่อใช้ปฏิบัติการตามระเบียบนี้เท่านั้น ถ้ามีความจำเป็นต้องเปิดในกรณีอื่นให้ผู้ควบคุมโรงงาน และผู้รับอนุญาตทำบันทึกแสดงเหตุผลไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2526 ข้อ 14 ในกรณีที่เครื่องมือ ตรา หรือสิ่งประทับที่ติดตั้ง เพื่อควบคุม การจัดเก็บภาษีตามระเบียบนี้ชำรุดบุบสลายหรือสูญหาย ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งให้ผู้ควบคุมโรงงานทราบทันที แล้วให้ผู้ควบคุมแจ้งให้กรมสรรพสามิตทราบในโอกาสแรกที่ทำได้ ข้อ 15 สำหรับเบียร์ที่เสียภาษีโดยวิธีอื่นนอกจากวิธีปิดแสตมป์สุราตามระเบียบนี้ ให้ผู้รับอนุญาตพิมพ์เครื่องหมายบนฉลากปิดภาชนะบรรจุเบียร์ เป็นตัวอักษรสีแดง โดยมีขนาดให้เห็นชัดเจนว่า “ชำระภาษีแล้ว” เว้นแต่เบียร์ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ข้อ 16 เมื่อผู้รับอนุญาตประสงค์จะขนเบียร์ที่บรรจุภาชนะแล้วออกจากโรงงาน ผู้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อผู้ควบคุมโรงงานตามแบบ สบ. 106 เมื่อผู้ควบคุมโรงงานตรวจสอบชนิดขนาด และจำนวนเบียร์ถูกต้องแล้ว จึงออกใบอนุญาตขนสุราให้แล้วลงบัญชีแบบ สบ. 304 เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ผู้ควบคุมโรงงานต้องรวมจำนวนเบียร์ที่ขนออกทั้งหมด แล้วสอบทานยอดกับผู้รับอนุญาตให้ตรงกันโดยใช้แบบ สบ. 202 ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2526 อรัญ ธรรมโน อธิบดีกรมสรรพสามิต
แบบพิมพ์
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ฉะเชิงเทรา ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ฉะเชิงเทรา