สรุปการอบรมหลักสูตรการวิเคราะห์ปัญหาการขนส่งสาธารณะในเมือง โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ด้านวิชาการขนส่ง ประจำปีงบประมาณ 2554 ระหว่างวันที่ 25 – 29 กรกฎาคม 2554
เนื้อหาวิชาที่อบรม 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ อาทิเช่น การขนส่งสาธารณะ (PublicTransportation) การให้บริการแบบประจำทาง, การดำเนินการขนส่ง สาธารณะ เป็นต้น 2. ข้อมูลทั่วไปที่ใช้ในการวางแผนการขนส่งสาธารณะ อาทิเช่น ข้อมูลการเดินรถ , ลักษณะยานพาหนะประเภทต่างๆ, รูปแบบเส้นทางการให้บริการ, ลักษณะของตารางการเดินรถ เป็นต้น 3. การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบงานขนส่งสาธารณะ อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเส้นทางการเดินรถโดยใช้ โปรแกรม GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) และโปรแกรม Google map, การวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจและประมวลผลโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เนื้อหาวิชาที่อบรม (ต่อ) 4. ข้อมูลด้านการขนส่งสาธารณะและปัญหาการขนส่งสาธารณะของจังหวัดที่ใช้เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์การขนส่งสาธารณะของจังหวัดที่ ใช้เป็นกรณีศึกษา, การวิเคราะห์และสำรวจรวบรวมข้อมูล จำนวนรถโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละเส้นทางของจังหวัดที่ใช้ เป็นกรณีศึกษา 5. ข้อมูลในการสำรวจภาคสนาม อาทิเช่น ประเภทของข้อมูลสำหรับการวางแผนเดินรถโดยสาร, การวางแผนและจัดระบบการสำรวจข้อมูล, การนับจำนวน ผู้โดยสารบนรถ เป็นต้น 6. การวิเคราะห์ปัญหาและสรุปผลการสำรวจข้อมูลภาคสนามเพื่อประกอบการวางแผนการเดินรถโดยสารสาธารณะ อาทิเช่น การสำรวจจำนวนผู้โดยสารขึ้น – ลง รถประจำทาง, การสำรวจจำนวนผู้โดยสารขึ้น – ลงประจำทาง บริเวณป้าย, การสำรวจความเร็วและความล่าช้าของรถประจำทาง เป็นต้น
เนื้อหาวิชาที่อบรม (ต่อ) 7. หลักการจัดระบบและเส้นทางรถโดยสาร อาทิเช่น หลักการจัดระบบรถโดยสาร, การวางแผนจัดเส้นทาง ระบบโดยสาร เป็นต้น 8. การประเมินคุณภาพและแนวทางการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ อาทิเช่น นิยามของคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของ ผู้ให้บริการ, แนวทางการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ, ประโยชน์ของการจัดคุณภาพการให้บริการ เป็นต้น 9. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและการสำรวจข้อมูลภาคสนามในมุมมองของผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การสำรวจข้อมูลภาคสนามของผู้ใช้บริการที่มีความพึง พอใจต่อการให้บริการรถโดยสารสาธารณะในจังหวัดที่ใช้เป็น กรณีศึกษา, การนำเสนอข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการฯ
สรุปผลการอบรม ในการอบรมครั้งนี้ มีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการอบรมครั้งนี้ มีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยทางด้านทฤษฎีมีการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการ ขนส่งสาธารณะในเมือง ที่เป็นรูปแบบการขนส่งที่ผู้โดยสาร สามารถใช้ร่วมกันได้โดยทั่วไป มีการให้บริการเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ - แบบประจำทาง (Fixed –route) ลักษณะรถที่ให้บริการเช่น รถสองแถว, รถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส), รถโดยสารขนาดใหญ่, รถราง, รถไฟฟ้า เป็นต้น - แบบไม่ประจำทาง (For – hire) เช่นรถจักรยานยนต์ รับจ้าง, รถแท็กซี่ เป็นต้น โดยการให้บริการแบบประจำทางจะมีการกำหนดเส้นทางที่ แน่นอน, มีกำหนดการให้บริการที่แน่นอน มีตารางการเดินรถ และอัตราค่าโดยสารที่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำตาราง การเดินรถที่เหมาะสม
สรุปผลการอบรม (ต่อ) และในการจัดการวางแผนการเดินรถโดยสารประจำทาง ให้มีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการเดิน รถและการใช้บริการของผู้โดยสารที่ละเอียดและถูกต้อง อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรถ, เส้นทางการเดินรถ, ตารางการเดินรถ, ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้บริการของผู้โดยสาร เป็นต้น ดังนั้นการอบรมใน ครั้งนี้จึงมีการอบรมภาคปฏิบัติ(ภาคสนาม) ได้มีการออกสำรวจ รวบรวมข้อมูลการขนส่งสาธารณะของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา มีการสำรวจจำนวนผู้โดยสารขึ้น-ลงรถประจำ ทาง,สำรวจจำนวนผู้โดยสารขึ้น – ลงรถประจำทางบริเวณป้าย และ สำรวจความเร็วและความล่าช้าของรถประจำทางตามแบบสำรวจที่ กำหนดไว้ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารประกอบการอบรมที่แนบ จำนวน 3 เล่ม)
แบบสำรวจจำนวนผู้โดยสาร ขึ้น-ลงรถประจำทาง แ
แบบสำรวจจำนวนผู้โดยสาร ขึ้น-ลงรถประจำทางบริเวณป้าย
แบบสำรวจความเร็วและ ความล่าช้าของรถประจำทาง