ห้องปฏิบัติการต่างๆ
ประเภทของห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ - ปฏิบัติการชีววิทยา - ห้องปฏิบัติการเคมี - ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ห้องปฏิบัติการทางภาษา
ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
ทำเลที่ตั้ง อาคารที่เป็นห้องปฏิบัติการ ควรอยู่ห่างจากสถานประกอบการ ที่อยู่อาศัย หรือบริเวณที่เสี่ยงต่ออันตรายพอสมควร เช่นไม่ตั้งใกล้ปั้มน้ำมัน หรือโกดังเก็บสารเคมีอันตราย เป็นต้น อาคารต้องมั่นคง แข็งแรง โครงสร้างควรเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังทำด้วยวัตถุทนไฟ ความสูงจากพื้นถึงเพดานโดยเฉลี่ย ไม่ควรน้อยกว่า 3 เมตร เพื่อการระบายอากาศ โดยธรรมชาติ และให้มีแสงสว่างตามธรรมชาติเพียงพอ อาคารที่สูงเกิน 3 ชั้นต้องมีทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟที่ได้มาตรฐาน
ขนาดเนื้อที่ มีขนาดไม่เล็กกว่า 42 ตรม. หรือตามความเหมาะสมของโรงเรียน มีประตูทางเข้า/ ทางออกมีอย่างน้อยสองทางขนาดไม่เล็กกว่า 1.60 – 2.00 เมตร. หน้าต่างและการระบายอากาศ จะต้องออกแบบให้ลมผ่านได้ และหากมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ต้องติดตั้งโคมไฟฟ้าให้แสงสว่างในห้องนั้นๆ มีความเข้มไม่น้อยกว่า 300 LUK ทุกจุด
เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เคาน์เตอร์ พัดลมดูดอากาศ ตู้ติดผนังไว้รอบห้อง ปลั๊กไฟตามจุดต่างๆ อ่างล้างมือ เก้าอี้ น้ำร้อน โต๊ะ (เคลื่อนย้ายได้) น้ำเย็น โต๊ะสาธิตพร้อมเครื่องมือ ท่อแก๊ส กระดานดำ
เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ แผ่นป้ายติดประกาศ กระบะเพาะต้นไม้ (เคลื่อนย้ายได้) ชั้นวางของที่ปรับได้ บริเวณอ่านหนังสือ บริเวณแสดงผลงาน หรือ นิทรรศการที่สามารถมองเห็นได้จากที่ทางเดินระเบียง บริเวณเก็บของที่กว้างกว่าปกติ ตู้เลี้ยงปลา กรงเลี้ยงสัตว์
การรักษาความปลอดภัย มีการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงานที่เหมาะสม มีระบบระบายอากาศที่ดี มีระบบกำจัดของเสีย รักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องปฏิบัติการ ควรช่วยกันรักษาความสะอาดของพื้นที่ทำงาน ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานทุกครั้งเมื่อเสร็จภารกิจในแต่ละวัน ควรทิ้งขยะ และของเสียในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ จัดให้มีการทำความสะอาดห้องปฏิบัติการเป็นประจำ กรณีที่มีการหกของสารเคมีต้องทำความสะอาดโดยทันที
การรักษาความปลอดภัย มีระบบรักษาความปลอดภัย ควบคุมการเข้าออกห้องปฏิบัติการได้อย่างเหมาะสม ทางเดิน ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ทางเข้า-ออกฉุกเฉิน ต้องมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน และต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีไฟฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ การติดตั้งเครื่องมือ และอุปกรณ์ภายในอาคารต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่ การรับน้ำหนักของพื้นอาคาร เส้นทางการขนย้าย กำลังไฟที่ต้องการ
การรักษาความปลอดภัย ต้องมีระบบแจ้งเตือนภัย เช่น สัญญาณเสียง และต้องตรวจสอบการใช้งานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ต้องมีการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟ สายไฟฟ้า ต้องดูแล และซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ต้องมีป้าย หรือสัญลักษณ์เตือนอันตราย ที่ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ
แหล่งอ้างอิง ถาวร สารวิทย์. การบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม หน้า 32-36 วิจิตร วรุตบางกูร. การวางแผนผังและพัฒนาสถานศึกษา หน้า 107-108 “ห้องปฏิบัติการ”(ออนไลน์).https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=27813 . วันที่ 06/11/54
จบการนำเสนอ