เรื่อง คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามหรือแทนข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อมิต้องกล่าวนามหรือข้อความนั้นซ้ำอีก แบ่งออกเป็น 6 พวกคือ 1. บุรุษสรรพนาม 5. อนิยมสรรพนาม 2. ประพันธ์สรรพนาม 6. ปฤจฉาสรรพนาม 3. วิภาคสรรพนาม 4. นิยมสรรพนาม
บุรุษสรรพนาม บุรุษสรรพนาม ได้แก่ คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อบุคคล หรือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพูดจากัน ซึ่งในการพูดกันนั้น จะมีบุคคลหรือสิ่งต่างๆเกี่ยวข้องกันดังนี้ ผู้พูด เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 คือสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ พูดเอง เช่น ฉัน เรา ผม ข้าพระเจ้า กระหม่อม หม่อมฉัน ผู้ฟัง เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ฟัง ในการพูด เช่น เธอ ท่าน ฝ่าพระบาท เจ้าใต้เท้า ฝ่าละออง ธุลีพระบาท พระองค์
ท่าน พระองค์ เขา หล่อน มัน ( ใช้กับสิ่งของและสัตว์ ) เป็นต้น ผู้ที่ถูกพูดถึง สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เราต้องพูดถึง เช่น ท่าน พระองค์ เขา หล่อน มัน ( ใช้กับสิ่งของและสัตว์ ) เป็นต้น
ประพันธ์สรรพนาม ประพันธ์สรรพนาม คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามหรือแทนคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและจะต้องติดอยู่กับนามหรือสรรพนามข้างหน้านั้น ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น คนที่ขยันจะสอบได้ โรงเรียนซึ่งมีนักเรียนมากควบคุมลำบาก ไม้บรรทัดอันสีเหลืองเป็นของฉัน
วิภาคสรรพนาม วิภาคสรรพนาม คำสรรพนามที่ใช้แทนนามหรือสรรพนาม เพื่อแบ่งแยกนามหรือสรรพนามออกเป็นส่วนๆ ซึ่งมีคำว่า บ้าง ต่าง กัน เช่น นักเรียนต่างก็เรียนหนังสือ ต่าง แทนนักเรียนที่เรียนหนังสือ นักเรียนบ้างก็สอบได้บ้างก็สอบตก บ้าง แทนนักเรียนที่สอบได้และตก นักมวยชกกัน กัน แทนนักมวยคนที่ชกกัน
นิยมสรรพนาม นิยมสรรพนาม คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อกำหนดความหมายให้แน่นอนชัดเจน ซึ่งมีคำว่า นั้น นี่ โน้น เช่น นี่คือจดหมายที่เขาเขียนมา นี่ หมายถึงจดหมายที่อยู่ใกล้ นั้นเป็นเครื่องฉายหนังแบบใหม่ นั้น แทนเครื่องฉายหนังระยะห่าง โน้นคือเรือใบของฉัน โน้น หมายถึงเรือใบที่ใกล้ออกไป
อนิยมสรรพนาม อนิยมสรรพนาม สรรพนามที่ใช้แทนคำนามไม่ได้กำหนดแน่นอนชัดเจน ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ใด แต่คำเหล่านี้ไม่ได้เป็นคำถามที่ต้องการให้ตอบเป็นเพียงคำนามที่ไปชี้เฉพาะลงไปเท่านั้น เช่น ไม่มีใครชอบเขาเลย ใคร เป็นใครก็ได้ไม่ชี้เฉพาะ อะไรก็หายหมด อะไร แทนสิ่งที่หายไม่ได้ชี้เฉพาะ ที่ไหนฉันก็นอนได้ ไหน แทนสถานที่ที่ไม่เจาะจง
ปฤจฉาสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่เป็นคำนามหรือแสดงความสงสัย หรือใช้แทนสิ่งที่ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่คำใช้เป็นปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่ อะไร ไหน ใคร ใด จะเห็นว่าคำที่เป็นปฤจฉาสรรพนามนี้ เหมือนกับคำนิยมสรรพนามจะต่างกันที่ปฤจฉาสรรพนาม เป็นคำที่ต้องการคำตอบ เช่น เราต้องการอะไร อะไร แทนนามหรือสิ่งที่เธอต้องการ ใครเคาะประตู ใคร แทนนามที่เคาะประตู ไหนของเธอ ไหน แทนสิ่งที่เป็นของเธอ
1. ด.ญ. จินตนา ทองนิล เลขที่ 20 สมาชิกกลุ่ม 1. ด.ญ. จินตนา ทองนิล เลขที่ 20 2. ด.ญ. จิราภรณ์ แก้วมณี เลขที่ 21 3. ด.ญ. จีนพาพร ทองคำแ เลขที่ 22 4. ด.ญ. นฤมล ลีสุวรรณ์ เลขที่ 25 5. ด.ญ. นิศากร ตั๋นเจริญ เลขที่ 27 6. ด.ญ. เยาวพา ลือจันดา เลขที่ 34