สื่อการสอนโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จัดทำโดย ม

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
Advertisements

ประภัสสร คำยวง นักวิชาการสาธารณสุข
การเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯในระดับจังหวัด
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
การวิเคราะห์และประเมินค่างาน
การเขียนผลงานวิชาการ
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
หลักพื้นฐานในการวางแผนโดยงบประมาณ
Thesis รุ่น 1.
การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
ภาพรวมของแนวคิดโครงงาน
ภาพรวมของแนวคิดโครงงาน
การบูรณาการไอซีทีสู่ห้องเรียน
ภาพรวมของแนวคิดโครงงาน
ภาพรวมของแนวคิดโครงงาน
ภาพรวมแนวคิดของโครงงาน
 การสอนแบบอภิปราย.
Workshop 1.
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การเตรียมเอกสาร สอบหัวข้อโครงงาน
กิจกรรมที่ 1 1. ให้ท่านอ่านกรณีศึกษาที่ท่านได้รับ
PDCA คืออะไร P D C A.
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
การติดตาม และประเมินโครงการ.
1. แบบ SNRU-ERM 1 แบบแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน (Key Process)
บทที่ 2 โครงการอบรม/สัมมนา.
แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสภากาชาดไทย
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
การเขียนโครงการ.
เครื่องมือคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 1.
บทที่ 3 การวางแผน การบริหารจัดการที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ การจัดองค์การ การนำ การควบคุม.
กระบวนการวิจัยเชิงประเมิน
1. ตัวแปรต้น 2. ตัวแปรตาม 3. ตัวแปรควบคุม การกำหนดและควบคุมตัวแปร.
“การกำหนดวัตถุประสงค์”
การพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนในการ จัดระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ภาคกลาง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เครือข่ายภาคประชาชน มีความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้อง.
ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหาของนโยบายสาธารณะในชุมชนของท่าน
การบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง ความเสี่ยง (RISK)
สมบูรณ์ บุญกิจอนุสรณ์ กองงานด่านอาหารและยา
การเขียนรายงานต่อฝ่ายริหาร
ระบบเอกสารคุณภาพ เนาวรัตน์ เสียงเสนาะ สอิด
การนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศไปพัฒนาองค์กร
การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัยฯ
นักวิจัย กับ แนวทางการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้รายวิชาภาคปฏิบัติ
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk)
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
มาตรฐานการควบคุมภายใน
การบริหารและกระบวนการวางแผน
การเขียนรายงานการวิจัย
ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
การเขียนเอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant Information Sheet) โดย นางนวี เอกศักดิ์ กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล (Layperson)
ใส่ชื่อเรื่องงานวิจัย กะทัดรัด มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อย่างชัดเจน
WINTER 01 การบริหารความเสี่ยง ด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนพนมเบญจา
การควบคุมผลกาปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการจัดทำโครงงานด้วยกล่องสมองกล ช่วงชั้นที่ 4 ความหมาย กิจกรรมโครงงาน เป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการโดยนักเรียนเป็นผู้คิดค้น.
หน่วยที่ ๙ การเขียนโครงการ
วิชาโครงการ 4 หน่วยกิต 2 ชั่วโมง
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบ System Analysis and Design
ADDIE Model.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักการเขียนโครงการ.
การเขียนโครงการ.
กลุ่ม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
1. ศึกษาการนำเสนอที่หลากหลาย 2. เลือกวิธีการที่เหมาะสม
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

สื่อการสอนโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จัดทำโดย ม สื่อการสอนโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จัดทำโดย ม.นนทนันท์ วิชาพูล กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี

ความเป็นมา   การจัดทำสื่อโครงงานอาชีพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น สื่อการเรียนรู้รายวิชาโครงงานอาชีพ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2   การจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงานนี้เป็นการจัดการเรียนรู้  เพื่อให้ผู้เรียนได้ ลงมือปฏิบัติจริงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวิเคราะห์การวางแผน การปฏิบัติงาน และการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน  

ประเภทของโครงงาน ประเภทพัฒนาผลงาน ประเภทค้นคว้าและทดลอง ประเภทสร้างสิ่งประดิษฐ์ ประเภทสำรวจข้อมูล

การเริ่มต้นทำโครงงาน การพิจารณาจัดทำโรงงานเป็นการดำเนินงานที่ ต้องตัดสินใจทำโรงงานให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ กำหนดไว้ มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1)  การเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน 2)  การศึกข้อมูลโครงงาน 3)  สังเกตสภาพแวดล้อม

การเขียนโครงงาน หัวเรื่องโครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ เป้าหมายของโครงงาน ระยะเวลาและสถานที่ งบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับ การติดตามและประเมิน ปัญหาและอุปสรรค

หัวเรื่องโครงงาน การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษานิยมตั้งชื่อ ให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานอาชีพ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจ ศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของ การศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น โครงงานประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษ ผ้า  โครงงานประดิษฐ์ไม้แกะสลัก  โครงงานทำเรือ จำลอง  โครงงานรดน้ำพืชด้วยอาศัยความชื้นในดิน โครงงานการ เลี้ยงไก่พื้นเมือง  

ผู้รับผิดชอบโครงการ การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานอาชีพ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด หรือโครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อมีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ง่าย

หลักการและเหตุผล หลักการและเหตุผล แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นหรือความสำคัญ ซึ่งผู้เสนอโครงงานจะต้องระบุถึงเหตุผลและข้อมูล  หรือทฤษฎีต่าง ๆ มาสนับสนุนโครงการให้ปรากฎโดยชัดเจนอย่างสมเหตุสมผล  การเขียนหลักการและเหตุผลในส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 1.  ความเป็นมาของโครงการย่อ ๆ 2.  เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีโครงการนั้น ๆ 3.  วิธีการดำเนินโครงการย่อ ๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน    ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ  ไม่เปิดโอกาสให้ตีความได้หลายอย่างอันจะทำให้ความหมายบิดเบือนไปจากเจตนารมย์ที่แท้จริง และสามารถประเมินผลและวัดได้

เป้าหมายของโครงงาน เป้าหมาย (Targets) หมายถึงการแสดงผลผลิตขั้นสุดท้ายในแง่ปริมาณ จำนวนหรือการวัดความสำเร็จในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มีการระบุสิ่งที่ต้องการกระทำหรือการไปถึงชัดเจนกว่าและระบุเวลาที่ต้องการบรรลุ ว่าจะแล้วเสร็จในวันที่เท่าไร เดือนอะไร ปีใด โดยใคร และอย่างไร นอกจากนั้นอาจมีการกำหนดเป้าหมายเชิงคุณภาพควบคู่ไปด้วยก็ได้

ระยะเวลาและสถานที่ ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการตามโครงงาน จะเป็นการระบุระยะเวลาและสถานที่หรือพื้นที่เป้าหมายที่จะจัดกิจกรรม  ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงงานและในกรณีที่เป็นโครงงานระยะยาวมีหลายขั้นตอน ก็จะต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอนนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเพื่ออนุมัติโครงงาน  ตัวอย่างเช่น ระยะเวลา  : 1 เดือน วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2554 สถานที่ดำเนินงาน : โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี

งบประมาณ ความประหยัด (Economy) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) งบประมาณ และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานโครงการ จะเป็นการระบุถึงจำนวนเงิน จำนวนบุคคล จำนวนวัสดุ-ครุภัณฑ์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน          การจัดทำงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานโครงการ ผู้วางแผนโครงการควรต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 ประการในการจัดทำโครงการ โดยจะต้องจัดเตรียมไว้อย่างเพียงพอและจะต้องใช้อย่างประหยัด ดังนี้ ความประหยัด (Economy) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความมีประสิทธิผล  (Effectiveness) ความยุติธรรม (Equity)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลที่คาดว่าจะได้รับ แสดงถึงผลประโยชน์ที่ผู้ดำเนินโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับหลังโครงการสิ้นสุดลง  ซึ่งหมายถึงผลกระทบในทางที่ดี  ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม  นอกจากนี้จะระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบในลักษณะอย่างไร  ทั้งด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ

การติดตามและประเมิน การติดตามและประเมินผล  เป็นการระบุว่ามีการติดตาม  การควบคุม การกำกับ  และการประเมินผลโครงงานอย่างไร จะประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานโครงงานได้อย่างไรใครเป็นผู้รับผิดชอบ  โดยระบุวิธีหรือเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย  ทั้งนี้หัวข้อของการประเมินจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามโครงงานด้วย ดังนั้น  เพื่อให้การติดตามและประเมินผลโครงการสอดคล้องระหว่างการวางแผนกับการปฏิบัติงาน  ควรพิจารณาดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1.  ประเมินผลก่อนการทำโครงการ  หรือก่อนการปฏิบัติงาน 2.  ประเมินผลระหว่างที่มีการทำโครงงาน 3.  ประเมินผลภายหลังการทำโครงงาน

ปัญหาและอุปสรรค แสดงการคาดคิดว่า การดำเนินงานตามโครงการนี้ จะมีปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง ทั้งในด้านตัวบุคคลที่ร่วมงาน  ขั้นตอนการปฏิบัติ  ภัยธรรมชาติ ตลาดจำหน่ายและอื่น ๆ ที่เห็นว่าน่าจะเกิดขึ้น พร้อมชี้แจงสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นด้วย  รวมทั้งแนวทางแก้ไข  ปัญหาและอุปสรรคที่ไม่เป็นไปตามแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ระยะเวลา วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดด้วย