(Landslide or Mass movement) ดินถล่ม (Landslide or Mass movement)
ดินถล่มหรือโคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามเชิงเขา โดยอาจจะเป็นการถล่มของโคลน น้ำ สิ่งปฏิกูล เศษขยะ ดินเปียก หลังจากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือการเกิดแผ่นดินไหวสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโคลนถล่มก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้รากไม้ที่ยึดดิน ทำให้ดินถล่มได้ง่ายหลังจากฝนตกหนัก น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว
บริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม คือบริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังและมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็น ภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำกัดเซาะเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา บริเวณที่มีการผุพังของหินและทําให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันตํ่าและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหินบนลาดเขา โดยประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม รวม 51 จังหวัด 323 อำเภอ 1,056 ตำบล 6,450
(สรุป) ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ - ฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน) - น้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีของดินภูเขา - มีเสียงดังอื้ออึง ผิดปกติมาจากภูเขาและลำห้วย
(สรุป) สาเหตุที่ทำให้ดินโคลนถล่มรุนแรงมากขึ้น สภาพธรณีวิทยา เป็นหินเนื้อแน่น เมื่อเกิดการผุกร่อน ทำให้เกิดชั้นดินหนา สภาพภูมิอากาศ เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน สภาพภูมิประเทศ เป็นภูเขาและหน้าผาลาดชัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการตัดถนนผ่านไหล่เขาหรือภูเขาลาดชัน การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร โดยปลูกพืชชนิดเดียวบนที่ลาดเชิงเขา เช่น ยางพารา ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งพืชชนิดนี้มีรากตื้นและเกาะชั้นดินที่มีความลึกระดับเดียว ทำให้เสถียรภาพของชั้นดินลดลง
(สรุป) การเตรียมความพร้อมรับมือดินโคลนถล่ม การอพยพหนีภัยดินถล่ม ให้อพยพไปตามเส้นทางที่พ้นจากแนวการไหลของดินถล่ม ขึ้นที่สูงหรือสถานที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีแนวการไหลของดิน และเส้นทางที่กระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก หากจำเป็นต้องใช้เส้นทางดังกล่าว ให้ใช้เชือกผูกลำตัวแล้วยึดติดไว้กับต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากพัดจมน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เพราะอาจกระแทกกับซากต้นไม้หรือหินที่ไหลมาตามน้ำจนจมน้ำเสียชีวิตได้
หลังเกิดดินถล่ม ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่เกิดดินโคลนถล่มหรือบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากอาจเกิดการพังทลายซ้ำ กำหนดเขตปลอดภัย โดยติดตั้งป้ายเตือนว่าพื้นที่ใดปลอดภัยและพื้นที่ใดเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มซ้ำพร้อมเร่งระบายน้ำออกจากบริเวณที่ดินถล่มให้มากที่สุดโดยทำทางเบี่ยง เพื่อไม่ให้น้ำไหลลงมาสมทบเข้าไปในมวลดินเดิมที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว
การหมั่นติดตามพยากรณ์อากาศ การปฏิบัติตนตามประกาศแจ้งเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ จะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากดินโคลนถล่ม
ตัวอย่างเหตุการณ์
หินถล่มที่บ้านห้วยส้มไฟ อ.เมือง จ.กระบี่ ผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย
ลักษณะของ Debris flow ที่เกิดขึ้นที่ประเทศเวเนซูเอลา เมื่อปี ค.ศ. 1999 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 คน
ดินโคลนถล่มที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ 2531 ดินโคลนถล่มที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ 2531 มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 700 คน
ดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ ดินโคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อและตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ 2544 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 130 คน
เหตุการณ์ดินถล่มที่หมู่บ้านในหุบเขาคอมโพสเตลล่า จังหวัดปันตุกัน ของประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน และสูญหายอีกประมาณ 150 คน
แผ่นดินถล่ม 2 ครั้ง ที่หมู่บ้านในมณฑลชานชีและมณฑลชื่อชวน ( เสฉวน ) ประเทศจีน เมื่อ พ.ศ 2551 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คน
จบการนำเสนอ
รายชื่อสมาชิก นาย อธิชา มะลัยสิทธิ์ เลขที่ 5 นางสาว ชนกานต์ นิวัธน์มรรคา เลขที่ 22 นางสาว รัตนพร พลพิชัย เลขที่ 23 นางสาว กนกวรรณ ปานศรี เลขที่ 24 ชั้น ม.4/5