การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย ครูวาสนา พลทองมาก โรงเรียนบ้านบึงสามัคคีกำแพงเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ 2. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานได้
ส่วนประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ หน่วยรับเข้าข้อมูล หน่วนส่งออกข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำสำรอง หน่วยความจำหลัก
อุปกรณ์หน่วยประมวลผลกลาง ซีพียู (CPU) ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง
อุปกรณ์หน่วยความจำหลัก แรม (RAM) RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
อุปกรณ์หน่วยความจำหลัก รอม (ROM) ROM (Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งเอาไว้แล้ว อย่างถาวร ไม่สามารถแก้ไข - เปลี่ยนแปลงได้ โดยปกติหน่วยความจำนี้ติดตั้งมาจากบริษัทผู้ผลิต โดยผู้ใช้ไม่มีโอกาสเลือก
อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล เครื่องสแกนภาพ (Scanner) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสแกนภาพที่เป็นภาพถ่ายทั่วไปเพื่อนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับส่งออกข้อมูล จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display)
อุปกรณ์รับส่งออกข้อมูล เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์สำหรับพิมพ์เอกสารออกมาในรูปแบบของรายงาน โดยใช้คำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท เครื่องพิมพ์หัวเข็ม เครื่องพิมพ์อิงเจ็ด เครื่องพิมพ์เลเซอร์
อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่าง
อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง FDD (Floppy Disk Drive) เป็นไดร์ฟที่ใช้สำหรับอ่าน / บันทึกข้อลงบนแผ่นแม่เหล็ก ปัจจุบันนี้จะใช้ Drive ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถที่จะอ่านข้อมูลจากแผ่น Diskette ขนาด 1.44 MB
อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง ซีดีรอม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่าน / บันทึกข้อลงเพื่อเก็บข้อมูล ภาพ และเสียง ที่มีขนาด 600- 800 MB
อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้กันมานานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง แต่เปลี่ยนจากการเล่น (Play) และบันทึก (Record ) เป็นการอ่าน (Read) และเขียน (Write) แทนในเครื่องเมนเฟรมเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทป (Reel-to-reel)