ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ ร้องเรียนต่ำ ตอบ ข้อร้องเรียน / ข้อหารือ
ตอบข้อหารือ ส่วนราชการอื่นๆ กองทัพเรือ
“ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้าและรับบริการของ ทร.” “การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. โดยการนำวิธีการซื้อ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๓ (๖)” “การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วย” “การแลกเปลี่ยนเรือของ ทร. ที่รุจำหน่ายแล้วกับ โครงการเรือจำลองฝึกป้องกันความเสียหายของเอกชน” “การคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์ ก่อนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕” “การจำหน่ายรถยนต์ กรณีประสบอุบัติเหตุ ถูกรถยนต์บรรทุกลากจูงของบุคคลภายนอกชนจนได้รับความเสียหาย” “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้าและรับบริการของ ทร.” “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีงานจ้างโดยวิธีพิเศษ” “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙”
“ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ” “ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ” “ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง” “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง” “ข้อหารือการยึดหลักประกันซองตามประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” “ข้อหารือประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จ้างปรับปรุงหอพักพยาบาล” “ข้อหารือการจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหา มูลค่าต่ำกว่าสองล้านบาท”
การตอบข้อหารือ “การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. โดยการนำวิธีการ ซื้อ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๓ (๖)” ANSWER ASK
ปุจฉา ? การนำแบบรูปรายการละเอียดหรือรายละเอียดคุณลักษณะที่เคยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์และได้รับการอนุมัติซื้อจากทางราชการแล้ว หรือแบบคุณลักษณะของยุทโธปกรณ์ที่เคยจัดหาไว้ใช้ราชการแล้ว มาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ประเภทเดียวกันอีก โดยดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๓(๖) จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา
สามารถดำเนินการได้ หากส่วนราชการมีข้อจำกัดในการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ทำให้จะต้องซื้อโดยมีการระบุยี่ห้อของพัสดุนั้นเป็นการเฉพาะเอง ซึ่งอาจเนื่องมาจากเหตุข้อจำกัดในลักษณะของการใช้งานหรือข้อจำกัดทางด้านเทคนิค เช่น เป็นพัสดุที่จะต้องสามารถนำมาใช้งานร่วมกับพัสดุที่มีอยู่เดิม และหมายความรวมถึงการจัดซื้อพัสดุที่เป็นอะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๖๐ ด้วย ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วย” ANSWER ASK
ปุจฉา ? การจำหน่ายโดยวิธีการแลกเปลี่ยนกับเอกชน (แลกเปลี่ยนเหล็กโครงสร้างท่าเทียบเรือกับเหล็กแปรรูปสำหรับงานซ่อมแซมและปรับปรุง) โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนรวมอยู่ด้วยนั้น สามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา
เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ การแลกเปลี่ยนหรือการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ การใช้ที่ราชพัสดุที่มีบัญญัติไว้ในกฎกระทรวง ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ดังนั้น จึงต้องขอหารือไปที่กรมธนารักษ์ และเนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งสร้างบนที่ราชพัสดุ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ จึงไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยข้อหารือดังกล่าว ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “การแลกเปลี่ยนเรือของ ทร. ที่รุจำหน่ายแล้ว กับโครงการเรือจำลองฝึก ป้องกันความเสียหายของเอกชน” ANSWER ASK
ทร.สามารถแลกเปลี่ยนเรือที่หมดความจำเป็นในการใช้ในราชการแล้ว กับโครงการเรือฝึกจำลองป้องกันความเสียหายภาคเอกชน โดยนำวิธีการจ้างมาใช้ปฏิบัติโดยอนุโลมได้หรือไม่ ปุจฉา ? วิสัชนา
ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะขัดต่อเจตนารมณ์ของระเบียบ ฯ (ใช้ได้เฉพาะการซื้อเท่านั้น) ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “การคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์ ก่อนการดำเนินการ จัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕” ANSWER ASK
การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร การจัดหายุทโธปกรณ์หลักของ ทร. คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องสามารถแจ้งให้ผู้เสนอแบบ ทราบวงเงินของโครงการได้หรือไม่ (กรณีการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีพิเศษ) ปุจฉา ? วิสัชนา
สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมิได้มีข้อห้ามเกี่ยวกับการเปิดเผยวงเงินงบประมาณไว้แต่อย่างใด (เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ) ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “การจำหน่ายรถยนต์ กรณีประสบอุบัติเหตุ ถูกรถยนต์บรรทุกลากจูงของบุคคลภายนอกชน จนได้รับความเสียหาย” ANSWER ASK
การคืนพัสดุที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ (กรณีเกิดอุบัติเหตุโดยผู้ต้องรับผิดเป็นบุคคลภายนอก) หากผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นวงเงินให้แก่ทางราชการ แทนที่จะชดใช้เป็นพัสดุ ประเภท ชนิด ลักษณะ และขนาดเดียวกัน ทางราชการสามารถมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดได้หรือไม่ และเมื่อมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดแล้ว ทางราชการจะดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดนั้นโดยวิธีใด ปุจฉา ? วิสัชนา
ทางราชการสามารถมอบพัสดุที่ชำรุดให้แก่ผู้ต้องรับผิดได้โดยนำวิธีปฏิบัติตามระเบียบ ฯ เรื่องการแลกเปลี่ยนพัสดุมาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่ถ้าผู้ต้องรับผิดไม่ประสงค์จะรับซากพัสดุก็ให้ดำเนินการตามระเบียบ ฯ เรื่องการจำหน่ายในข้อ ๑๕๗ โดยหลังจากการตรวจสอบแล้ว พัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กำหนดไว้ในข้อดังกล่าว ปุจฉา ?
“ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้า และรับบริการของ ทร.” การตอบข้อหารือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม การซื้อสินค้า และรับบริการของ ทร.” ANSWER ASK
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในการจัดซื้อ/จ้างจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ ในส่วน กห.มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการอย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดซื้อ/จ้าง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเป็นการซื้อ กรณีเป็นการจ้าง หมายเหตุ ๑. การจัดซื้อ/จ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างในประเทศทุกกรณี ผู้ขายเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้รับจ้างเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เนื่องจากถือว่าเป็นการขายสินค้า/ให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา๗๗/๒แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขาย/ผู้รับจ้างต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ๒. การจัดซื้อ/จ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างในต่างประเทศ ๒.๑ กรณีผู้ขายหรือผู้รับจ้างในต่างประเทศมอบอำนาจให้ผู้แทนจากต่างประเทศหรือผู้แทนในประเทศลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงในประเทศไทย โดยผู้ขาย/ผู้รับจ้างในต่างประเทศมิได้เข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวในประเทศ - เนื่องจากถือว่าทั้งผู้ขาย/ผู้รับจ้างในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรตามมาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้ขาย/ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ๒.๒ กรณีผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้างในประเทศไทยลงนามหรือมอบอำนาจ ให้ผู้แทนลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงภายในประเทศ แล้วส่งสัญญาหรือข้อตกลงไปให้ผู้ขาย / ผู้รับจ้างในต่างประเทศลงนามในภายหลัง ผู้ขายไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เนื่องจากยังถือไม่ได้ว่าผู้ขายในต่างประเทศประกอบกิจการขายสินค้าในราชอาณาจักรตามมาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ขายจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับในการจ้างนั้นถือว่าบริษัทผู้รับจ้างให้บริการในต่างประเทศมีการนำบริการนั้นมาใช้ในราชอาณาจักรตามมาตรา๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้รับจ้างในต่างประเทศมีหน้าที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลรัษฎากร ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีงานจ้างโดยวิธีพิเศษ” ANSWER ASK
ปุจฉา ? การปรับลดเนื้องานและเชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาเสนอราคาใหม่พร้อมกัน (กรณีการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๔ (๑) ที่ดำเนินการครั้งแรกแล้ว ยังไม่ได้ราคาที่เหมาะสม) กล่าวคือ ผู้เสนอราคารายต่ำสุดเสนอราคาสูงกว่าวงเงิน ที่จะจัดจ้างสามารถดำเนินการได้หรือไม่ วิสัชนา
สามารถดำเนินการได้หากได้ดำเนินการตามเงื่อนไขเดิมจนสิ้นสุดแล้ว และได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ โดยปรับลดเนื้องานและได้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบแล้ว จึงได้เชิญผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาเสนอราคาใหม่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เท่ากับเป็นการเริ่มต้นเชิญชวนช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะหรือผู้ชำนาญการเป็นพิเศษมาเสนอราคาตามแบบรูปรายการตามเนื้องานใหม่ ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องแจ้งให้ผู้เสนอราคาที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นเดิม ที่ถูกเชิญ มาใหม่ทราบทั่วกันว่ามีการปรับลดเนื้องานใหม่แล้ว ซึ่งถือว่าไม่ได้ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน สอดคล้องกับระเบียบ ฯ ข้อ ๕๘ (๑) ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการปฏิบัติตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙” ANSWER ASK
ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย ขอทราบแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ กรณีวงเงิน จัดซื้อ/จ้างอยู่เหนืออำนาจอนุมัติของหัวหน้าหน่วยงานที่จัดหาพัสดุ ว่า…..... ๑.ในขั้นการแจ้งผลการพิจารณาเสนอราคา กรณีหัวหน้าหน่วยงานเห็นชอบตามมติคณะกรรมการการประกวดราคาแล้ว จะให้คณะกรรมการ ฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ หรือให้ขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง เห็นชอบก่อน แล้วจึงให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบและประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ๒.กรณีหากต้องขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๖๕ ก่อน แล้วจึงให้คณะกรรมการประกวดราคา แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ และประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ในกรณีดังกล่าวจะต้องดำเนินการขออนุมัติซื้อหรือจ้างอีกครั้งหรือไม่ หรือว่าการที่ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบถือเป็นการอนุมัติซื้อหรือจ้างแล้ว และหลังจาก ประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลางไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ซึ่งหมายถึงการดำเนินการใน ขั้นตอนของการลงนาม ในสัญญาต่อไป ใช่หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
กรณีปุจฉา ตามข้อ ๑. การแจ้งผลการพิจารณาการเสนอราคา ข้อ ๑๕ กรณีปุจฉา ตามข้อ ๑. การแจ้งผลการพิจารณาการเสนอราคา ข้อ ๑๕.๒ หากหัวหน้าหน่วยงาน (หัวหน้า ส่วนราชการ) ไม่เห็นชอบกับมติของคณะกรรมการประกวดราคา ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการ ฯ ทราบ เพื่อชี้แจงภายใน ๓ วัน และเมื่อได้รับคำชี้แจงจากคณะกรรมการ ฯ หรือเมื่อได้รับรายงาน ตามข้อ ๑๕.๑ แล้วเห็นชอบ ก็ชอบที่จะอนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ข้อ ๖๕ ต่อไป แล้วแต่กรณี (กรณีวงเงินเกินอำนาจหัวหน้าส่วนราชการ) และหากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบ ก็ให้คณะกรรมการ ฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ กรณีปุจฉา ตามข้อ ๒. เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ข้อ ๖๕ แล้ว สามารถถือได้ว่าเป็นการอนุมัติซื้อหรือจ้างจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว และหลังจากที่ประกาศลงในเว็บไซต์ของหน่วยงานและกรมบัญชีกลาง ไม่น้อยกว่า ๓ วัน และภายใน ๓ วัน นับแต่วันแจ้งผลการเสนอราคา ตามแบบ บก.๐๑๐ – ๑ ให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบ หากไม่มีการอุทธรณ์ ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ฯ ซึ่งหมายถึงกรณีผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการ ในขั้นตอนของการลงนามในสัญญาต่อไปได้ .. ปุจฉา ?
“ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” การตอบข้อหารือ “ข้อหารือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” ANSWER ASK
ปุจฉา ? อำนาจการซื้อ/จ้างตามระเบียบ ฯ มีอำนาจอะไรบ้าง และการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีตกลงราคา (ระเบียบ ฯ ข้อ ๓๙) กรณีที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุใช้อำนาจสั่งซื้อ/จ้างแล้ว แต่หัวหน้าส่วนราชการมิได้มอบอำนาจในการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือแก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จะให้ผู้ใดลงนามในสัญญา/ข้อตกลงดังกล่าวในการสั่งซื้อ/จ้างของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุนั้น วิสัชนา
อำนาจการซื้อ/จ้างจำแนกตามลำดับขั้นตอนดำเนินการออกได้เป็น ๓ ประการดังนี้ ๑. อำนาจในการดำเนินการซื้อ/จ้าง เช่น การให้ความเห็นชอบในการซื้อ/จ้าง ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๙ อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการตามระเบียบ ฯ ข้อ ๓๔ เป็นต้น เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดวงเงินที่จะซื้อ/จ้าง ๒. อำนาจในการสั่งซื้อ/จ้าง เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ ฯ ข้อ ๖๕ ๖๖ และ ๖๗ ๓. อำนาจในการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงซื้อ/จ้าง ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๑๓๒ เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการในฐานะผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง *** หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด สามารถที่จะมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดสั่งการแทนก็ได้ โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๙ **** ระเบียบ ฯ ข้อ ๓๙ วรรคหนึ่ง กำหนดให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อ/จ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ ตามระเบียบ ฯ ๒๙ นั้น มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดวิธีการปฏิบัติสำหรับการซื้อ/จ้างโดยวิธีตกลงราคาไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ดังนั้น หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อ/จ้างโดยวิธีดังกล่าวได้โดยตรง โดยภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๙ แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องเสนอหัวหน้า ส่วนราชการในฐานะผู้สั่งซื้อหรือจ้าง และผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างพิจารณาสั่งการในขั้นตอนดังกล่าวนี้อีกแต่ประการใด ***** ปุจฉา ?
“ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ” การตอบข้อหารือ “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ” ANSWER ASK
ปุจฉา ? แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ กรณีที่มีพัสดุที่ผลิตในประเทศแล้ว แต่มีจำนวนน้อยราย หรือมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุที่ผลิตจากต่างประเทศ หรือจะต้องมีการนำเข้าพัสดุจากต่างประเทศในกรณีที่เป็นประโยชน์ยิ่งกว่า สำหรับที่เป็นการจัดหาครั้งหนึ่งที่มีวงเงินเกิน ๒ ล้านบาท หรือราคาพัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาต่อหน่วยเกิน ๒ ล้านบาท จะต้องให้หน่วยงานของรัฐนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อหรือภายหลังจากการดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจนรับราคาของผู้ขาย และแหล่งที่มาของพัสดุแล้วแต่ก่อนที่ผู้มีอำนาจจะอนุมัติให้จัดซื้อและลงนามในสัญญา วิสัชนา
จะต้องดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการจัดซื้อพัสดุ ปุจฉา ?
“ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ” การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อ” ANSWER ASK
การระบุยี่ห้อสิ่งของในประกาศจัดซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจจับไวรัส ในหัวข้อคุณลักษณะเฉพาะที่ระบุว่า “หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Intel Pentium 4 ความเร็วไม่น้อยกว่า 3.0 GHZ หรือดีกว่า และระบบปฏิบัติการ Window XP Professional หรือสูงกว่า โดยมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย” ขัดต่อระเบียบ ฯ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๑๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จัดหา ซึ่งเป็นกรณีของการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย สำหรับในส่วนของมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร ๐๒๐๓/ว ๕๒ ลง ๒๘ มี.ค.๒๐ นั้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ส่วนราชการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่ง และห้ามระบุยี่ห้อสิ่งของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด เว้นแต่ที่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น ดังนั้น โดยหลักการทั่วไปในทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จัดหา ส่วนราชการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ฯ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีตามปุจฉานั้น เป็นการดำเนินการที่จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติทางด้านเทคนิคเป็นส่วนประกอบ และมีความจำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดส่วนประกอบนั้นโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นการระบุยี่ห้อ เช่น การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสินค้าที่ระบุโดยเฉพาะเจาะจงนั้น เป็นสินค้าที่มีผู้จำหน่ายในท้องตลาดเป็นการทั่วไป จึงทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้เข้าเสนอราคาได้ โดยไม่เข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ขายรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงไม่ถือว่าขัดระเบียบ ฯ หรือมติคณะรัฐมนตรี ฯ แต่อย่างใด ปุจฉา ?
“ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง” การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง” ANSWER ASK
แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ตามระเบียบ ฯ พ. ศ แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ตามระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีว่าอย่างไรบ้าง ปุจฉา ? วิสัชนา
ปุจฉา ? มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ ๑. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อลื่น ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ลิตร ขึ้นไป ต้องสั่งซื้อโดยตรงจาก ปตท. หรือองค์กรใดที่ได้รับสิทธิพิเศษในการจำหน่ายน้ำมันดังกล่าว และต้องดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ตามระเบียบ ฯ ข้อ ๒๖ ประกอบ ข้อ ๕๙ ๒. กรณีการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อลื่น ไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ ลิตร ส่วนราชการสามารถเลือกซื้อจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงใดก็ได้และต้องดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบ ฯ ๓. สำหรับกรณีที่หน่วยงานใดไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สมควรจัดซื้อโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายตามวงเงินที่ดำเนินการจัดซื้อ และมีเงื่อนไขให้ผู้จะซื้อสามารถออกใบสั่งซื้อน้ำมันเป็นคราว ๆ ไป ตามความจำเป็นที่ใช้จริงในแต่ละครั้งได้ โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการชำระเงินเป็นงวด ๆ ละ ๑ เดือน หรือตามข้อตกลงก็ได้ สำหรับหลักปฏิบัติของส่วนราชการหรือหน่วยงานที่จัดซื้อนั้น หากออกใบสั่งซื้อน้ำมัน แต่ละครั้งมีวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งข้าราการหรือลูกจ้างประจำคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อเป็นผู้ตรวจรับน้ำมัน โดยปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้ และเมื่อส่วนราชการได้รับใบแจ้งหนี้แล้ว เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องตรวจสอบเอกสารใบสั่งซื้อน้ำมัน เอกสารการตรวจรับที่ผู้ตรวจรับได้ทำการตรวจรับแล้วในแต่ละครั้งตามใบสั่งซื้อน้ำมันว่า จำนวนน้ำมันที่สั่งซื้อและตรวจรับตรงกับใบแจ้งหนี้หรือไม่ ก่อนดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ขาย ทั้งนี้ โดยไม่ต้องทำการตรวจรับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปุจฉา ?
“ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงาน ไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง” การตอบข้อหารือ “ข้อหารือแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงาน ไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง” ANSWER ASK
กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ๒ คน มีความเห็นให้รับงานบางส่วนหรือบางกิจการและกรรมการอีก ๑ คน ได้ปฏิเสธการตรวจรับด้วยเหตุผลว่าไม่มีความรู้ในงานนี้ จะสามารถเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเฉพาะงานที่ทำไว้จริงได้หรือไม่ และจะแต่งตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งให้พิจารณาข้อเท็จจริงความเหมาะสมของราคาและปริมาณงาน และเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างตามมติคณะกรรมการชุดนี้จะถูกต้องหรือไม่ ปุจฉา ? วิสัชนา
เมื่อได้รับรายงานการตรวจรับพัสดุของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุแล้ว หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นว่างานที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานบางส่วน สมควรตรวจรับและเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างได้ และจะตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมิใช่เป็นคณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ เพื่อให้ทำความเห็นประกอบการพิจารณาสั่งการเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคางานและปริมาณงานที่จะตรวจรับแล้ว ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร แต่ถ้าหากผลการพิจารณาเป็นการพิจารณา ที่จะตรวจรับและจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างโดยแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาแล้ว ก็จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขสัญญา โดยถือปฏิบัติภายใต้หลักเกณฑ์ของระเบียบ ฯ ข้อ ๑๓๖ โดยเคร่งครัดก่อนด้วย ****** ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการยึดหลักประกันซอง ตามประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์” ANSWER ASK
ผู้เสนอราคาได้ Login เข้าสู่ระบบ และทำการเสนอราคาในครั้งที่ ๑ เท่ากับราคาสูงสุด (ราคากลาง) แต่ระบบได้ Rejected ออกไป โดยไม่ระงับการเสนอราคาของผู้เสนอราคารายดังกล่าว เป็นผลให้สามารถเสนอราคาครั้งที่ ๒ ได้ และในการเสนอราคาครั้งที่ ๒ ได้เสนอราคาต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) และได้ยืนยันราคาครั้งสุดท้ายตามแบบ บก.๐๐๘ ภายหลังเสร็จสิ้นการเสนอราคาแล้ว จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือว่าผู้เสนอราคาปฏิบัติผิดเงื่อนไขในหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ/จ้าง โดยการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ และจะยึดหลักประกันซองของผู้เสนอราคาได้หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
๑. การยึดหลักประกันซองของผู้มีสิทธิเสนอราคา (หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๘.๓/ว ๓๐๒ ลง ๒๑ ก.ค.๔๘ ข้อ ๒.๓) กำหนดให้ดำเนินการได้ ๔ กรณีดังนี้ ๑.๑) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ส่งผู้แทนมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา ตามวัน เวลา และสถานที่กำหนด ๑.๒) ผู้มีสิทธิเสนอราคาที่มาลงทะเบียนแล้วไม่ Login เข้าสู่ระบบ ๑.๓) ผู้มีสิทธิเสนอราคา Login แล้ว แต่ไม่มีการเสนอราคาหรือเสนอราคาผิดเงื่อนไขที่กำหนด โดยการเสนอราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาเริ่มต้นการประมูล ๑.๔) ผู้มีสิทธิเสนอราคาไม่ลงลายมือชื่อในแบบ บก.๐๐๘ แบบยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา ๒. กรณีปุจฉาดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการเสนอราคา มีผู้เสนอราคาได้มีการเสนอราคา จำนวน ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกเสนอราคาเท่ากับราคาสูงสุด (ราคากลาง) แต่หลักฐานการเสนอราคา (Log File) ได้แสดงการปฏิเสธราคา (Rejected) และผู้เสนอราคารายดังกล่าว ได้เสนอราคาใหม่ครั้งที่ ๒ ต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) และได้ยืนยันราคาครั้งสุดท้ายภายหลังเสร็จสิ้นการเสนอราคาแล้ว กรณีนี้ถือว่าการเสนอราคาครั้งที่ ๒ เป็นเจตนาของผู้เสนอราคาที่ต้องการเสนอราคาสุดท้ายซึ่งเป็นราคาต่ำกว่าราคาสูงสุด (ราคากลาง) จึงไม่ผิดเงื่อนไขตามหนังสือแสดงเงื่อนไขการซื้อ/จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด และไม่สามารถยึดหลักประกันซองของผู้เสนอราคารายดังกล่าวได้ ******** ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์จ้างปรับปรุงหอพักพยาบาล” ANSWER ASK
การกำหนดคุณสมบัติของ ผู้เสนอราคาเกินกว่าตัวอย่างเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แนบท้ายแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ สามารถกระทำได้หรือไม่อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
ในหลักการการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคานั้น โดยปกติจะกำหนดตามตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) กำหนด ซึ่งหากส่วนราชการจะกำหนดนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่ กวพ.อ. กำหนด ก็สามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ทวิ (หลักการของการจัดหาพัสดุ) ทั้งนี้ ตามนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๕ ที่กำหนดความสัมพันธ์กับระเบียบอื่น โดยส่วนราชการจะต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาให้นอกเหนือไปจากตัวอย่างเอกสารประกวดราคาที่ กวพ.อ.กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่มีผลเป็นการกีดกันหรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามหลักการนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ทวิ ข้างต้น ***** ปุจฉา ?
การตอบข้อหารือ “ข้อหารือการจัดหาพัสดุโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหามูลค่า ต่ำกว่าสองล้านบาท” ANSWER ASK
การจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีวงเงินจัดหาต่ำกว่าสองล้านบาท สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร ปุจฉา ? วิสัชนา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๙ ข้อ ๕ ความสัมพันธ์กับระเบียบอื่น กำหนดว่า นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย เว้นแต่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ. ) จะกำหนดหรือวินิจฉัยเป็นประการอื่น ดังนั้น การจัดหาพัสดุโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีวงเงินจัดหาต่ำกว่าสองล้านบาท ส่วนราชการสามารถกระทำได้ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ตามนัยระเบียบ ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดว่า “การซื้อหรือการจ้าง ตามข้อ ๑๙ และ ๒๐ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้” ปุจฉา ?
เมื่อปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อหารือ หลับฝันร้าย ข้อร้องเรียนจะหมดไป สาเหตุจาก Eject เครียด เมื่อปฏิบัติตามระเบียบ/ข้อหารือ