แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “ทบทวนการสรรหาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพ” การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “ทบทวนการสรรหาบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพ” Free Powerpoint Templates
กระบวนการ/วิธีการดำเนินการในอดีต ๑. ก่อนการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัยแต่ละครั้ง จะมีการกำหนดแผนงาน โดยมีการกำหนดกระบวนการทำงาน ระยะเวลา รวมถึงผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนโดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานหลักๆ ดังนี้
๑.๑ รวบรวมข้อมูล ๑.๒ ประกาศรับสมัคร จะดำเนินการรับสมัครแยกตามอัตราของหน่วยงาน ๑.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการ ๑.๔ รับสมัคร จะรับสมัครแยกตามอัตราของหน่วยงาน ๑.๕ คณะกรรมการออกข้อสอบ มีตัวแทนหน่วยงานที่มีชื่อตำแหน่งร่วมกัน ดำเนินการออกข้อสอบ ๑.๖ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ๑.๗ ดำเนินการสอบ ผู้สมัครที่มีชื่อตำแหน่งเดียวกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน ๑.๘ ตรวจข้อสอบ ๑.๙ ประกาศผลสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ๑.๑๐ สอบภาคความเหมาะสมสำหรับตำแหน่ง ๑.๑๑ ประกาศผลสอบ ๑.๑๒ การรายงานตัว
๒. ผู้รับผิดชอบในแต่ละหน้าที่/กระบวนการ ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนด ๓. มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงาน โดยมีหัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ ระหว่างการปฏิบัติงานว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่วางไว้หรือไม่
๔. เมื่อกระบวนการสรรหา ฯ สิ้นสุดลง จะมีการสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และนำเข้าที่ประชุมการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย ครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินการครั้งต่อไปเกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องลดน้อยลง
แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินงานที่ได้ดำเนินการตามหลัก PDCA ก่อนการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัยแต่ละครั้ง จะมีการกำหนดแผนงาน โดยมีการกำหนดกระบวนการทำงาน ระยะเวลา รวมถึงผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนโดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานหลักๆ ดังนี้
๑.๑ รวบรวมข้อมูล ๑.๒ ประกาศรับสมัคร จะดำเนินการรับสมัครแยกตามชื่อตำแหน่ง ๑.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการ ๑.๔ รับสมัคร จะรับสมัครแยกตามชื่อตำแหน่ง ๑.๕ คณะกรรมการออกข้อสอบ มีตัวแทนหน่วยงานที่มีชื่อตำแหน่งร่วมกัน ดำเนินการออกข้อสอบ ๑.๖ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ๑.๗ ดำเนินการสอบ ผู้สมัครที่มีชื่อตำแหน่งเดียวกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน ๑.๘ ตรวจข้อสอบ ๑.๙ ประกาศผลสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ๑.๑๐ สอบภาคความเหมาะสมสำหรับตำแหน่ง ๑.๑๑ ประกาศผลสอบ ๑.๑๒ การรายงานตัว ในแต่ละชื่อตำแหน่ง ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด จะมีสิทธิ์ในการเลือกหน่วยงานต้นสังกัดก่อน
๒. ผู้รับผิดชอบในแต่ละหน้าที่/กระบวนการ ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนด ๓. มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงาน โดยมีหัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงาน รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ ระหว่างการปฏิบัติงานว่าได้ดำเนินไปในทิศทางที่วางไว้หรือไม่ ๔. เมื่อกระบวนการสรรหา ฯ สิ้นสุดลง จะมีการสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และนำเข้าที่ประชุมการสรรหาและเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย ครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินการครั้งต่อไปเกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องลดน้อยลง
ปัญหาและอุปสรรค ๑. หน่วยงานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในมติที่ประชุม เช่น ไม่ส่งข้อสอบตามกำหนด , ส่งข้อสอบไม่ครบถ้วน , ข้อสอบและเฉลยไม่ถูกต้อง ๒. แต่ละวิชาที่มีการออกข้อสอบจากหลายหน่วยงาน อาจเกิดปัญหาการซ้ำกันของข้อสอบ ส่งผลให้จำนวนข้อสอบไม่ครบถ้วน จึงต้องทำการออกข้อสอบเพิ่มเติม
แนวทางการแก้ไข ๑. แนบแผนการดำเนินงานไปพร้อมกับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ และมีการติดตามทวงถามกรรมการออกข้อสอบในรูปแบบของการโทรศัพท์ , E-mail และหนังสือแจ้งเตือน เป็นรายบุคคล ๒. คัดข้อสอบที่ซ้ำออกจากคลังข้อสอบ (คลังข้อสอบจะมีจำนวนข้อสอบเป็น ๒ เท่าของข้อสอบที่ใช้ในการสอบ)
ความท้าทายต่อไป การจัดทำคู่มือและแนวทางการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสำหรับการ สรรหาบุคลากรในทุกประเภท