Scinario 2
กลุ่มที่ 2 สมาชิกกลุ่ม สคร. 7 ,8 และจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองคาย อุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ แพร่
ส่วนที่ 1 วันที่ 12 สิงหาคม 59 รับแจ้งจาก รพ.บึงกาฬ รับผู้ป่วย Admit 1 ราย เด็กชายชาวลาว อายุ 2 ปี จากแขวงบริคำไชย สปป.ลาว ประวัติการเจ็บป่วย เริ่มป่วย 2 สิงหาคม 59 มีไข้ ไอ มีน้ำมูก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย เข้ารับการรักษาที่คลินิกเอกชนใน เทศบาลบึงกาฬ แพทย์วินิจฉัยเป็นไข้หวัด ให้ยากลับบ้าน ผู้ปกครองพาไป พักที่บ้านญาติในเทศบาลบึงกาฬ 12 สิงหาคม 59 เริ่มมีอาการผิดปกติ ขาข้างขวาไม่มีแรง มีไข้สูง ผู้ปกครองนำส่ง รพ.บึงกาฬ แพทย์วินิจฉัย AFP แพทย์Admit และสั่ง เก็บอุจจาระผู้ป่วย 2 ครั้ง ห่างกัน 24-48 ชั่วโมง ส่ง ( NIH) วันที่ 15 สิงหาคม 59
ส่วนที่ 1 (ต่อ) ประวัติการได้รับวัคซีนของผู้ป่วย เคยได้รับวัคซีน DTP-HB และ OPV 1 ครั้ง เมื่อ อายุ 6 เดือน หลังจากนั้นไม่เคยได้รับวัคซีน พี่สาวอายุ 6 ปี มีประวัติได้รับวัคซีน OPV ครบ 3ครั้ง พี่ชาย อายุ 4 ปี ได้รับวัคซีน 1 ครั้ง เมื่ออายุ 4 เดือน ประวัติการได้รับวัคซีน Contact ร่วมบ้าน ญาติที่ไปพักอาศัย (บึงกาฬ) มีเด็กชายอายุ 6ปี และเด็กหญิงอายุ 4ปี ประวัติการได้รับ วัคซีนครบชุด
ข้อ 1 จากสถานการณ์ดังกล่าว ท่านจะตอบสนองต่อสถานการณอย่างไร?
รพ.แจ้ง สสจ.ให้ทราบภายใน 24 ชม. กลุ่มควบคุมโรค/งานระบาด ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าป่วย จริงหรือไม่ พบป่วยจริง ทีม SRRT ทำการลงพื้นที่สอบสวนโรค **ค้นหาผู้สัมผัสโรค >> เขตเทศบาลบึงกาฬ >> ประสาน แขวงบริคำไชย สปป.ลาว : แจ้งเพื่อทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินในเรื่อง Vaccine coverage
ประเด็นเรื่องการสอบสวน/ควบคุมโรค ดำเนินการภายใน 24-48 ชั่วโมง การแกะรอยและตามรอยผู้ป่วย ตั้งแต่ข้ามมายังประเทศไทย... ไปที่ไหน เล่นกับใครบ้าง กินอาหารที่ไหน กับใคร สถานที่และพฤติกรรมการขับถ่าย เดินทางไปสถานที่ใดบ้าง มีอาการอาเจียน >> การแพร่กระจายของสารคัดหลั่ง ** มีการติดตามอาการผู้ป่วย30 และ60 วัน
สำรวจหา Contact Cases… ผู้สัมผัสใกล้ชิด/ในครอบครัว ครอบครัวชาวลาว ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่สาว 6 ปี(OPV 3 ครั้ง), พี่ชาย 4 ปี (ได้รับวัคซีน 1 ครั้ง ตอนอายุ 4 เดือน) ญาติที่อยู่เขตเทศบาลบึงกาฬ ได้แก่ เด็กชาย 6 ปี และ เด็กหญิง 4 ปี (มีประวัติได้รับวัคซีน OPV ครบชุด ครบถ้วน) ผู้สัมผัสในชุมชน/อื่นๆ บ้านใกล้, เพื่อนบ้าน ผู้สัมผัสที่คลินิกเอกชน ผู้สัมผัสที่รพ.บึงกาฬ ผู้สัมผัสระหว่างเดินทาง
มาตรการดำเนินการควบคุมโรค รายงานผู้บริหาร สสจ. /สคร. รับทราบ ประสานกับ แขวงบริคำไชย สปป.ลาว เปิดศูนย์ EOC ของจังหวัดเพื่อดำเนินการ เนื่องจากไม่เคยมีผู้ป่วย และมีการคาดการณ์ว่ามีความ เสี่ยงสูงที่อาจจะเป็นป่วยโปลิโอ จากข้อมูลที่มี (Information) - มีผู้ป่วยโปลิโอที่ สปป.ลาว – ผู้ป่วยรายนี้ได้รับวัคซีน OPV ไม่ครบ
มาตรการดำเนินการควบคุมโรค (ต่อ) Zero report จริงๆ ทุกสัปดาห์, ค้นหาผู้ป่วยตามเวชระเบียน ตรวจสอบระบบเฝ้าระวัง (AFP survilance) ทบทวนระบบการวินิจฉัยผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน (ได้ผลประมาณ 14 วัน) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลและสุขอนามัย เช่น กินร้อน-ช้อนกลาง-ล้างมือ, การกำจัดแมลงวัน, การจัดการสารคัดหลั่ง และอุจจาระจากผู้ป่วย, ความสะอาดห้องน้ำ การสื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ(ความรู้เรื่องโรคและ การป้องกัน)
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สำรวจกลุ่มเสี่ยงเด็กอายุต่ำกว่า 1ปี,5 ปี ในระดับหมู่บ้าน,ตำบล ดูความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน OPV อย่างเร่งด่วน โดยมีการระดมกำลังคนทุกส่วนในพื่นที่ และ อสม. จะมีบทบาท สำคัญในเรื่องการตรวจสอบความครอบคลุมของวัคซีนในพื้นที่ ของตนเอง เพื่อวางแผนในการให้วัคซีน OPV กรณีผล + ถ้า CoV มากกว่า/เท่ากับ 90 % เก็บตกในรายที่ยังได้ไม่ครบ ต่ำกว่า 90 % ORI ในรายที่อายุต่ำกว่า 5 ปี
ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ/จุดผ่อนปรน กรณีมีการรายงานแล้ว >> ให้วัคซีนแก่เด็กที่จะเข้ามาทุกราย >> ให้ทุกรายที่เข้า-ออก ประสานงานกับทุกด่านที่มีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว เพื่อดำเนินการ
จากสถานการณ์ดังกล่าว ท่านจะตอบสนอง สถานการณ์อย่างไร ส่วนที่ 2 ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2559 ได้รับรายงานจากสถาบัน NIH แจ้งว่าผลการตรวจอุจจาระ ด.ช.วงสวัน พบเชื้อ Poliovirus สาย พันธุ์ VDPV type 1 จากสถานการณ์ดังกล่าว ท่านจะตอบสนอง สถานการณ์อย่างไร .......................
เมื่อทราบผลจะตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างไร... ด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากเปิด EOC ไว้แล้ว ก็ดำเนินการต่อ แต่มีการ ดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้น ประสานงานกับทุกด่านที่มีอาณาเขตติดต่อกับ สปป.ลาว แจ้งผลการตรวจยืนยันโรค เพื่อจะได้ดำเนินการอื่นๆ เพิ่มเติม
ด้านการควบคุมโรค เข้มข้นในเรื่องการการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อใน สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะติดเชื้อในโรงพยาบาล/ ระบบ IC การเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมส่งตรวจ ตามรอยผู้ป่วย และควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ
เมื่อทราบผลจะตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างไร... ด้านการระบาด รายงานนพ.สสจ. รายงานปลัดกระทรวง (เบื้องต้นทาง โทรศัพท์) ประชุมคณะทำงาน Operation : สอบสวน, ควบคุมโรค SAT : ติดตามสถานการณ์, วิเคราะห์ ยุทธศาสตร์ : เสนอแนวทาง Risk communication : การแจ้งข่าวกับประชาชนและสื่อ Case management : การรักษาที่ได้มาตรฐาน+ IC
เมื่อทราบผลจะตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างไร... ประชุมคณะทำงาน(ต่อ) Stockpiling: เตรียมความพร้อม วัสดุ-อุปกรณ์, วัคซีน, สิ่ง ส่งตรวจต่างๆ ประสานงาน : ตามด่านรอยต่อต่างๆ, สปป.ลาว ด่านควบคุมโรค ตรวจสอบมาตรการการควบคุมช่องทางเข้า-ออก คัดกรองโรคต่างๆ : AFP, กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง AFP survilance ต่อไป
Thank you for your attention