กฎหมายกับเพศภาวะ Law & Gender ทำครั้งแรกโดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล ทำซ้ำโดย กฤษณ์พชร โสมณวัตร
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องเพศภาวะ แนวความคิดแบบเสรีนิยมเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ ระหว่างชาย/หญิงไม่มีความแตกต่างกันทางด้านศักยภาพ หากชายสามารถกระทำสิ่งใด หญิงก็มีความสามารถที่จะกระทำได้เช่นเดียวกัน
มีความเชื่อว่าระบบกฎหมายในปัจจุบันเป็นกลางทางเพศ กฎหมายรับรองสิทธิและเสรีภาพระหว่างชาย/หญิงไว้ไม่แตกต่างกัน ชายได้รับสิทธิแบบใด หญิงก็ต้องได้รับสิทธิในลักษณะเช่นนั้นด้วย เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ค่าแรงขั้นต่ำ
หากจะมีความแตกต่างก็มีเหตุผลรองรับ หรือเป็นเพราะลักษณะเฉพาะของเพศ อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการลาคลอด การเกณฑ์ทหาร การห้ามยกของหนักในกฎหมายแรงงาน
แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นจริงหรือ ระหว่างชาย/หญิงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันอย่างเป็นธรรมหรือไม่
เป็นเพราะผู้หญิงไม่ชอบเล่นกีฬา กลัวดำ กลัวกล้ามเนื้อแข็งแรง หรือเป็นเพราะกีฬาที่จัดไว้เป็นกีฬาสำหรับผู้ชายเป็นหลัก
ระหว่างหอพักนักศึกษาชายกับหอพักนักศึกษาหญิง มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันหรือไม่ ด้วยเหตุผลอะไร ฟังขึ้นหรือไม่
แนวคิดแบบสตรีนิยม (feminism) ในความเป็นจริงระหว่างชาย/หญิงไม่ได้รับการปฏิบัติความเท่าเทียม และความไม่เท่าเทียมส่งผลต่อหญิงอย่างสำคัญ
มองว่าระหว่างชาย/หญิงไม่มีความเท่าเทียม บุคคลที่อยู่ในสถานะสำคัญของสังคมเป็นชายหรือหญิง นักการเมือง นักธุรกิจ อาจารย์ นักสื่อสารมวลชน คนทำอาหารชื่อดัง แท้จริงแล้วหญิงยังคงอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่า ต่ำกว่าชาย
Why? เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะตาม “ธรรมชาติ” หญิงมีความสามารถน้อยกว่าชาย ด้อยกว่าชาย เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะหญิง “ถูกสร้าง” ให้อยู่สถานะที่ด้อยกว่า
ชายและหญิงที่มีความแตกต่างกันทางด้านกายภาพ เช่น หนวด ขนหน้าแข้ง เอว ซึ่งเป็นผลจากธรรมชาติ > SEX แต่มี “ความเป็นชาย” หรือ “ความเป็นหญิง เช่น ผู้หญิงต้องเรียบร้อย ผู้ชายต้องเข้มแข็ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น > GENDER
“พวกเราไม่ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง แต่ค่อยๆ ถูกทำให้กลายเป็นหญิง”
แต่ความเป็นชาย/หญิงถูกสร้างขึ้นอย่างลำเอียง มีอคติต่อหญิง ในอดีต ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือ เพราะต้องไปเป็นเมียเลี้ยงลูกอยู่ดี การทดแทนบุญคุณของชาย/หญิงต่อพ่อแม่เป็นอย่างไร
ผู้ชายมีเมียน้อย ใครถูกด่าอย่างมาก
รถคันข้างหน้าขับไม่ดี นึกถึงใคร ขับช้า เวลาชิดซ้ายไม่เปิดไฟให้สัญญาณ จอดก็เสียเวลานาน
“ปัญหาอยู่ที่ว่า บทบาทและความแตกต่างทางเพศสถานะนั้นมิได้สมมาตรกันระหว่างชายหญิง หากแต่ได้สร้างความไม่เท่าเทียมขึ้นอย่างยั่งยืน โดยที่กลุ่มของผู้ชายจะเป็นฝ่ายได้รับทรัพยากรที่มีมูลค่าทางสังคม (เช่น ผลประโยชน์ทางวัตถุ อำนาจทางการเมือง เกียรติภูมิ เสรีภาพส่วนบุคคล) มากกว่ากลุ่มผู้หญิงอย่างมากมาย นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการและสถาบันทางสังคมหลายประเภทที่คอยตอกย้ำความไม่เท่าเทียมเหล่านั้น ได้แก่ ระบบภาษา โครงสร้างครอบครัว ระบบการศึกษา ความเชื่อและสถาบันทางศาสนา สื่อสารมวลชน วัฒนธรรมชาวบ้าน วิทยาศาสตร์ การแพทย์ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และนโยบายรัฐ”
มองกฎหมายแบบสตรีนิยม กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดแตกต่างกันระหว่างชายและหญิง การให้สัญชาติเฉพาะหญิงต่างด้าวที่แต่งงานกับชายไทย ทำไม่จึงไม่ให้สัญชาติกับชายต่างด้าวที่แต่งงานกับหญิงไทย
การค้าประเวณี ผู้ที่ค้าอาจมีความผิดได้แก่ผู้ค้าและผู้เป็นธุระจัดหา ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปรามการค้าประเวณี 2539 แต่ผู้เที่ยว?
กฎหมายที่ให้สิทธิเท่าเทียม แต่ไม่สามารถสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น เช่น การลงรับสมัครเป็น ส.ส. ตามกฎหมายการเลือกตั้ง มี ส.ส. หญิงประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ในสภาไทย การเลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า หรือการดำรงตำแหน่งในองค์กรระดับสูงของสังคมไทย
กฎหมายที่ไม่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของหญิง สภาพปัญหาหรือประสบการณ์ของหญิงไม่ค่อยได้รับความสำคัญหรือถูกมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการคุ้มครอง
การคุกคามทางเพศ Sexual harassment
Single Mom แม่เลี้ยงเดี่ยว
หญิงที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว ไม่ว่าจะผ่านการสมรสหรือไม่ก็ตาม
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และอายุยังไม่ถึง 20 ปี แม่วัยใสในประเทศไทย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และอายุยังไม่ถึง 20 ปี สถิติแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดอันดับ1ในเอเชีย http://www.kroobannok.com/28105
แต่ถ้าต่อมาฝ่ายชายเบี้ยว จะทำอย่างไร กรณีผ่านการสมรส ต่อมาเลิกกัน สามารถตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เลี้ยงดูและเป็นผู้รับผิดชอบ ทำข้อตกลงกันว่าจะจ่ายเดือนละเท่าไร หญิงสามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากชายผู้เป็นสามีได้ แต่ถ้าต่อมาฝ่ายชายเบี้ยว จะทำอย่างไร
ฟ้องคดีต่อศาล แต่ฟ้องได้เฉพาะที่เบี้ยวมา เช่น 3 เดือน ก็ฟ้องได้เท่านั้น หากต่อมาในภายหลัง เบี้ยวซ้ำอีกครั้ง ทำอย่างไร ฟ้องอีกครั้ง ฟ้องอีก ฟ้อง
กรณีไม่ผ่านการสมรส ต่อมาเลิกกัน ในทางกฎหมายจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ฝ่ายชายรับผิดชอบ ยากหรือง่ายกว่ากรณีผ่านการสมรส
ฟ้องให้รับรองเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องให้รับผิดชอบค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฟ้อง ฯลฯ
หลังจากก็ไปในแนวทางเดียวกันกับกรณีมีการสมรส การฟ้องคดีประเภทนี้มีอะไรแตกต่างไปจากการฟ้องคดีแพ่งคดีๆ หรือไม่ ความรู้สึก อารมณ์ ทรรศนะคติของสังคมที่มีต่อผู้หญิง
ระบบกฎหมายในลักษณะเช่นนี้จึงทำให้ผู้ชาย very happy เพราะสามารถหลบไปจากความรับผิดชอบได้อย่างง่ายดาย
ผู้หญิงต้องแบกรับภาระทั้งหมดไว้บนบ่าของตนเอง การกระทำความผิดของหญิงอันสืบเนื่องจากปัญหานี้ ชายต้องมีส่วนรับผิดหรือไม่
กฎหมายในทรรศนะของสตรีนิยม กฎหมายโดยผิวเผินแล้วอาจเป็นกลาง ไม่เอียงข้าง แต่หากพิจารณาแล้วกฎหมายไม่ได้เป็นกลางเพศ กฎหมายเป็นของผู้ชาย โดยผู้ชาย และเพื่อผู้ชาย ต้องผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นระหว่างชายกับหญิง