การจัดองค์กรของรัฐในประเทศไทย ******************** 1. องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แบ่งจำแนกได้ 4 ประเภท คือ 1.1 องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจหลักในการออกกฎหมาย คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา 1.2 องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร มีอำนาจหลักคือ บังคับใช้กฎหมาย ในการบริหารประเทศ และในการจัดทำบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆของประชาชน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
(1) “ฝ่ายการเมือง” คือคณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) ในอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กำหนดนโยบายและกำกับดูแลนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดย “ฝ่ายปฏิบัติ” (2) “ฝ่ายประจำ” องค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง ซึ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติบังคับใช้กฎหมาย และนำนโยบายของฝ่ายการเมืองมาปฏิบัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารที่เป็น “ฝ่ายประจำ” มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ (ก) ส่วนราชการ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) และราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ ตำบล) (ข) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย “องค์การของรัฐ” โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา และที่จัดตั้งในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
1.3 องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ (ค) หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ และมิใช่รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ และที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 (ง) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่รัฐตั้งขึ้นเพื่อรับการกระจายอำนาจทางบริหารบ่างส่วนไปจากรัฐ 1.3 องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ องค์กรฝ่ายตุลาการ คือ ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ประกอบด้วย - ศาลยุติธรรม - ศาลทหาร - ศาลรัฐธรรมนูญ - ศาลปกครอง
1.4 องค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ 1.4 องค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ นอกจากองค์กรของรัฐซึ่งใช้อำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นอิสระจากการกำกับดูแลจากรัฐ เรียกว่า “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มี 4 องค์กร คือ (ก) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (ข) คณะกกรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) (ค) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) (ง) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
************************* (2) องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ มีอยู่ 3 องค์กรคือ (ก) องค์กรอัยการ (ข) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ค) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ *************************
การจัดองค์กรของรัฐในทางปกครอง **************** รูปแบบการปกครองในรัฐ มี 2 ระบบที่สำคัญ คือการปกครองแบบรวมอำนาจกับการปกครองแบบกระจายอำนาจ 1. การจัดองค์กรของรัฐโดยใช้หลักการรวมอำนาจ การรวมอำนาจ ( centralization ) คือ การที่รัฐรวมอำนาจทางปกครองและอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการทางปกครองต่างๆ ไว้ในส่วนกลาง โดยให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงและอธิบดี เป็นผู้ทรงอำนาจในการตัดสินใจในนามของรัฐ จำแนกได้ 2 แบบ คือ
1.1 การรวมศูนย์อำนาจทางปกครอง(concentration) การปกครองแบบนี้ อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลาย อยู่ที่รัฐในส่วนกลางทั้งสิ้น ไม่มีการมอบอำนาจในการตัดสินใจในบางระดับหรือบางเรื่องไปให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลที่ถูกส่งออกไปประจำอยู่ในภูมิภาค 1.2 การกระจายการรวมศูนย์อำนาจทางปกครอง หรือการแบ่งอำนาจทางปกครอง (deconcentration) คือ การที่รัฐบาลในส่วนกลางมอบอำนาจตัดสินใจในบางเรื่องบางระดับในแก่ตัวแทน หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกส่งไปประจำภูมิภาค โดยตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวยังอยู่ภายใต้อำนาจการบังคับบัญชาของรัฐบาลส่วนกลาง
2. การจัดองค์กรของรัฐโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจ (decentralization) คือ การที่รัฐถ่ายโอนอำนาจทางปกครองบางส่วน ให้นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่น นอกจากรัฐ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างได้เอง โดยมีความเป็นอิสระในทางปกครอง และการคลัง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลส่วนกลาง เพียงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลส่วนกลางเท่านั้น ****************
การจัดระเบียบบริหารราชการทางปกครอง ******************** ของประเทศไทย ******************** การจัดระเบียบบริหารราชการของไทยนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งแบ่งส่วนราชการออกเป็นดังนี้ (ม.4) 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1). การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 บัญญัติว่า ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางเป็น 2 ระดับ คือ (ม.7) 1.1 ส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 1.2 ส่วนราชการระดับกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดราชการระดับกระทรวง
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรม อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ปลัดกระทรวง กระทรวง ปลัดกระทรวง ทบวง กรม อธิบดี กรม อธิบดี
2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 (ม.51) บัญญัติว่า ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้ 2.1 จังหวัด 2.2 อำเภอ “จังหวัด” ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
3. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น “อำเภอ” ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอำเภอ การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 3. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่า ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม...” “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง
ประกอบกับ พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 (ม. 69 และ ม ประกอบกับ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 (ม.69 และ ม.70) โดยให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ 3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.2 เทศบาล 3.3 องค์การบริหารส่วนตำบล 3.4 กรุงเทพมหานคร 3.5 เมืองพัทยา
จบภาคที่ 2