สร้างเครือข่าย สร้างแกนนำ พัฒนางานสาธารณสุขในเรือนจำให้เป็นจริง SEASON 1
แนวคิดของการเริ่มกิจกรรม ผู้รับผิดชอบงานเป็นพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานในศูนย์ประกันสุขภาพ เริ่มมองจากการพบผู้ติดเชื้อวัณโรคและ..... จากคู่ที่พ้นโทษจากเรือนจำ คิดว่า นี่คือ โอกาสที่จะคัดกรองวัณโรค และดูแลรักษา โรคฉวยโอกาส ของชุมชนเรือนจำ โดยขอ ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - เราจะดำเนินงานได้อย่างไร ตามแนวคิด “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา”
ความเป็นมา เรือนจำกลางฉะเชิงเทราผู้ต้องขัง ประมาณ 4,000 คน เรือนจำกลางฉะเชิงเทราผู้ต้องขัง ประมาณ 4,000 คน ส่วนใหญ่ ต้องโทษ คดียาเสพติด ร้อย ละ 70 เป็นผู้ที่รอพิสูจน์ สถานะบุคคล ประมาณ จำนวน 22 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 56 คน ได้รับยาต้านไวรัส จำนวน 45 คน ผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 20 คน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประมาณ 20 คน
วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการเข้าถึงบริการ การป้องกัน ควบคุมวัณโรค เอดส์ ส่งเสริมการเข้าถึงบริการ การป้องกัน ควบคุมวัณโรค เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย 1. พัฒนาภาคีเครือข่ายการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วม 2. พัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังให้เป็นแกนนำ ขยายความรู้ ให้คำปรึกษาทางด้าน สุขภาพ 3. คุ้มครองสิทธิให้ผู้ต้องขังได้เข้าถึงสิทธิ ด้านการรักษาพยาบาล 4. พัฒนาระบบส่งต่อระหว่างเรือนจำ สถานบริการสาธารณสุขและชุมชน
การเตรียมงาน ประสานงานและสร้างทีมทำงานจากผู้เกี่ยวข้อง โดยขอ คำปรึกษา/คำแนะนำจากสภากาชาดไทย และผู้ที่มี ประสบการณ์ ออกแบบวิธีการดำเนินงาน เพื่อชักชวนให้ผู้ต้องขังเข้าร่วม กิจกรรมโดยสมัครใจ ออกแบบการจัดกิจกรรมและการรายงานผลการตรวจ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ละเอียดอ่อน และทุกเรื่องต้องถือเป็น ความลับส่วนบุคคล รวมทั้งต้องดำเนินการในกลุ่มผู้รับบริการ จำนวนมาก
การดำเนินงาน 1.สร้างแกนนำในเรือนจำ โดยการคัดเลือก ผู้ต้องขัง และจัดอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/วัณ โรค และรณรงค์การตรวจเลือดโดยสมัครใจ เพื่อ กระตุ้นให้เข้าใจแนวคิดที่ว่า “รู้เร็ว รักษาได้” จำนวน 3 รุ่นๆละ 40 คน* 2 วัน/รุ่น 2.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ภาคีเครือข่าย ได้แก่ เจ้าหน้าที่เรือนจำ บุคลากรจาก รพ. พุทธโสธร /สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/ โรงพยาบาลส่งเสริมระดับตำบล/ศูนย์ประสานงาน หลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชนจังหวัด ฉะเชิงเทรา โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก ชมรมเพื่อนสังคม ชมรมเพื่อนวันพุธ ชมรมจิต อาสาฯ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จำนวน 1 รุ่นๆละ 2 วัน เพื่อให้เข้าใจแนวคิด” ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา”
การดำเนินงาน(ต่อ) กำหนดกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้ ให้แกนนำผู้ต้องขังช่วยคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยวัณโรค โดยใช้ แบบ TB-P1 โดยพยาบาลเรือนจำและภาคีเครือข่าย เป็นพี่เลี้ยง ให้ผู้ต้องขังประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV และ สมัครใจรับการตรวจเลือด โดยใช้แบบ Pre Test Screening Tool ตามแนวทางของสภากาชาดไทย
การดำเนินงาน(ต่อ) กำหนดกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้ จัดทำ GROUP PRE-COUNSELLING พร้อมทั้งให้ความ มั่นใจว่า POST-COUNSELLING เป็นการบอกผลเลือด รายบุคคลจะเป็นความลับ และในการเจาะเลือดตรวจ HIV/VDRL ผู้ต้องขังจะเซ็นใบยินยอม การตรวจเลือดแบบ สมัครใจทุกคน กำหนดกิจกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกในผู้ต้องขังหญิง กลุ่มเสี่ยงต่อวัณโรค จัดให้มีการเอ็กซย์ปอด กลุ่มที่ผลเอ็กซเรย์ปอดผิดปกติ ให้เก็บเสมหะส่งตรวจ
สรุปผลการคัดกรองสุขภาพในเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา กิจกรรม จำนวน (ราย) คัดกรอง TB (TB-P1) 3,821 CHEST X-RAY 600 ส่งตรวจเสมหะ 57 ผลตรวจเสมหะพบว่าเป็นวัณโรคปอด 13 ได้รับการรักษา ตรวจ Anti-HIV และ VDRL 1,279 พบ Anti-HIV positive 9 พบ VDRL ผิดปกติ 3 PAP smear 148 ผล PAP smear ผิดปกติ (no cancer) 4
ผลการดำเนินงาน อบรมแกนนำผู้ต้องขังและภาคีเครือข่าย รวม 4 รุ่นๆ ละ 2 วัน รวม 160 คน คัดกรองวัณโรคแบบ Verbal screening X-ray โดยรถ X-ray เคลื่อนที่ เก็บ เสมหะส่งตรวจ AFB รายที่พบว่าเป็นวัณ โรคส่งเข้าระบบการรักษา ส่วนรายที่ไม่ พบเชื้อ ส่งเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวัง ตรวจ HIV ในรายที่ผลบวก ให้ คำปรึกษาและส่งเข้าระบบการรักษาและรับ ยาต้านไวรัสเมื่อพร้อม
การบูรณาการ - อบรมแกนนำผู้ต้องขังและภาคีเครือข่าย รวม 4 รุ่นๆ ละ 2 วัน รวม 160 คน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้ต้องขัง หญิงจำนวน 168 คน - ตรวจหาเชื้อ ซิฟิลิส จำนวน 1,225 คน - จัดมหกรรมรณรงค์สุขภาพ บุหรี่, HIV, TB, STIs - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน และจัดอบรม พัฒนาบุคลากร การให้คำปรึกษา เรื่อง เอดส์ ระยะเวลา 2 วัน จำนวน 45 คน
(ถอดบทเรียน) การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการ การป้องกัน ควบคุมวัณโรค เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้ต้องขัง เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา วันอังคารที่ 1 กันยายน 2558
ความภูมิใจในการดำเนินงาน รู้สึกภาคภูมิใจกับการ ดำเนินงานที่ใหญ่ ขนาดนี้ ตั้งแต่ทำงาน มา 15 ปี เครือข่าย การดำเนินงาน เข้มแข็ง ทุกคนมีส่วน ร่วมในการดำเนินงาน สุขภาพในเรือนจำ “ไม่นึกไม่ฝันกับทีมงาน และเครือข่ายการดำเนินงานที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้” คุณณัฐวรรณ แก่นเชื้อไชย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา
ความภูมิใจในการดำเนินงาน (ต่อ) เราต่างก็มีบริบทการทำงานแตกต่างกัน เริ่มจาก ความรู้สึกดีดีที่อยากทำงานก่อน และเหตุที่ ฉะเชิงเทราดำเนินงานง่าย เพราะมีการนำเสนอ ผู้เกี่ยวข้องว่า “เมื่อลงทุนไปแล้ว การทำงานนี้ แล้วจะเกิดประโยชน์ใดต่อผู้ต้องขังซึ่งเป็นชุมชน ใหญ่ เอื้อประโยชน์อย่างไรต่อ รพ...” และต้อง ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ใช่ว่าทำงาน วันนี้แล้วพรุ่งนี้ได้ผล ต้องอดทนอธิบายให้ ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ “ที่ผ่านมาเราจะไม่พูดถึงปัญหา เราจะมองถึง ผลลัพธ์ในวันพรุ่งนี้” คุณนิรมล ศรชำนิ พยาบาลวิชาชีพชำนาญ การ รพ.พุทธโสธร
สิ่งที่ทำได้ดี สสจ.ฉะเชิงเทรา ประสานเครือข่ายการ ดำเนินงานระดับจังหวัด รูปแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ - หลักคิดในการทำงานคือหลักการมีส่วนร่วม และให้ความสำคัญกับเครือข่ายทุกระดับ - มีเจ้าภาพแต่ละหน่วยงานมีความชัดเจนเรื่องการ ทำงาน บทบาทหน้าที่ ส่งผลให้การ ประสานเป็นไปอย่างราบรื่น (สคร. รพท. รพช. เรือนจำ สสอ. และ รพ.สต.) - ได้รับการสนับสนุนวิชาการและที่ปรึกษาจาก ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
สิ่งที่ทำได้ดี (ต่อ) - ความมุ่งมั่นของทีมทั้งในและนอกเรือนจำ มี ความตั้งใจสูง มากกว่าความมั่นใจ ปัญหา อุปสรรคคือบทเรียน เชื่อว่า คน ทักษะและ เครื่องมือ พัฒนาได้ - หลักการทำงาน ใช้กระบวนการ PDCA และ AAR ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน - นโยบายของผู้บริหารเรือนจำให้ความสำคัญของ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ - การสร้างแนวร่วมและสร้างสัมพันธภาพกับ เจ้าหน้าที่ในเรือนจำ ทำให้เกิดความร่วมมือ การมีส่วนร่วม ทำให้ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
สิ่งที่ทำได้ดี (ต่อ) - แกนนำมีบทบาท ช่วยเหลืองานด้าน สาธารณสุข ดูแลผู้ต้องขังนอกเหนือจาก โรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ แต่มีโรคอื่นร่วมด้วย - การลดการตีตรา (Stigma) การบอกผลเลือด จึงเป็นไปตามแนวทางฯ คือ ใช้เวลาแจ้งผล เลือดรายบุคคลใกล้เคียงกัน ทั้งผู้ที่ผลเลือด บวกและผลเลือดลบ - เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา บริการอุปกรณ์ ป้องกันโรค (ถุงยางอนามัย) ผ่านพยาบาล เรือนจำ - หากพยาบาลเรือนจำติดภารกิจ เรือนจำจะมี flow chart การทำงาน สั่งการแบ่งหน้าที่ไว้ อย่างชัดเจน
สิ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อก้าวต่อการดำเนินงาน การคัดกรอง ตรวจสุขภาพ ผู้ต้องขังรายใหม่ โดยระบบของ ราชทัณฑ์มีการคัดกรองสุขภาพร่างกาย ทุกวัน โดยพยาบาลเรือนจำ ด้านการคัดกรองเอชไอวี ใช้ป้ายที่มีชีวิต (สร้างแกนนำ) และป้ายไม่มีชีวิต (ป้ายประชาสัมพันธ์) เพื่อผู้ต้องขังที่ไม่เคยตรวจ การพัฒนาแกนนำผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของผู้ต้องขัง และการ รณรงค์ VCT ให้ผู้ต้องขังรู้สถานการติดเชื้อ เอชไอวี “ เอช ไอ วี รู้เร็ว รักษา เร็ว”
ข้อเสนอแนะ(ต่อ) การดำเนินงานต่อไป นอกจากเรือนจำแล้ว ควร คำนึงถึงการดำเนินงานในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆด้วย ปัจจัยความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับผู้ประสานงาน ต้องมีทักษะ มีความอดทน และเทคนิคการสื่อสารให้ ผู้บริหารและคนทำงานเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วม ดำเนินการ ควรส่งเสริมเรื่องการตรวจคัดกรอง โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเสี่ยงอื่นเช่น ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับ ชาย ควรมีการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาแกนนำสุข ภาพต่อเนื่อง
ข้อสังเกต - แกนนำผู้ต้องขังให้ความสนใจในการเข้าร่วมการ อบรม สังเกตจาก การมีส่วนร่วมตลอด การอบรม รวมถึงคำถามที่แกนนำซักถามระหว่างการอบรม เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคผิวหนัง - ผู้ต้องขังที่ไม่ใช่แกนนำ มีความสนใจและ สังเกตการณ์จากนอกห้องประชุม - วิทยากรชุดเดียวกันอบรมแกนนำผู้ต้องขังทั้ง๔ รุ่น ทำให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน - สถานที่อบรม ไม่สามารถควบคุม แสง สี เสียง ได้ - ผู้เข้ารับการอบรมบางคน ต้องออกไปพบญาติ ทำ ให้การอบรมไม่ต่อเนื่อง - แกนนำมีความตระหนักของการตรวจหาเชื้อ HIV ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจในคู่ของตน ระหว่างที่ อยู่ในเรือนจำ จึงอยากให้คู่ตรวจด้วย
ข้อสังเกต ผู้ต้องขังได้รับการคัดกรอง ได้รับการอบรม ความรู้เกี่ยวกับโรค ดังนั้น จึงมีผู้ต้องขังที่ระแวงต่อคู่ เมื่อ พ้นโทษ อยากให้คู่ได้ทำVCT ผู้ต้องขังที่เข้ากระบวนการ VCT ตรวจพบผล เลือดบวก ร้อยละ 0.7นั้น ซึ่ง ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่กล้าที่จะ รับรู้ผลเลือดหากผลเป็นบวก จึงไม่เข้าสู่ระบบ บริการ และกังวลการถูกรังเกียจ การตีตรา (Stigma) “อยู่ในเรือนจำก็ทุกข์มากแล้ว ถ้า รู้ว่าติดเชื้ออีก ขอไม่รู้ดีกว่า” ควรเพิ่ม Key message “รู้ก่อนป่วย ดีกว่ารู้ ตอนป่วย” ในทุกเรือนนอนมีนาฬิกา เป็นการส่งเสริม Adherence การกินยา ARV ที่ตรงเวลา สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
การเข้าร่วมของภาคีเครือข่ายจังหวัดฉะเชิงเทรา มุมมองของทีมจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย - งานเกิดจากความตั้งใจของภาคีเครือข่าย แต่ ในช่วงแรกยังพบว่าเจ้าหน้าที่บางคนยังขาด ความมั่นใจ ทีมจากสภากาชาดไทยได้มาช่วย ทำหน้าที่สนับสนุน - การดำเนินงานแต่ละภาคส่วนไม่มีการเกี่ยงงาน ช่วยเหลือกัน - การประสานงานหลายฝ่ายกับภาคีทำได้ดี เจ้าหน้าที่เรือนจำก็มีส่วนร่วม - การวางแผนของ สสจ. ทำได้ดี เนื่องจากมี การเตรียมแกนนำในเรือนจำก่อน - การคิดกิจกรรมของ สสจ. ทำให้การดำเนินงาน เป็นไปราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสถานที่ที่ มีความเสี่ยง
การเข้าร่วมของภาคีเครือข่ายจังหวัดฉะเชิงเทรา มุมมองของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี - ช่วงแรกคิดว่าการคัดกรองจำนวนมากจะ สามารถทำได้หรือไม่ แต่เมื่อเห็นศักยภาพของ ภาคีแล้วเชื่อมั่นว่าจะผ่านไปอย่างราบรื่น - มองเห็นถึงการมีส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และเรือนจำ และขอชื่นชมศักยภาพ ทีมงานทุกคน - พยาบาลเรือนจำมีความเข้มแข็ง ได้รับความชื่น ชมและเป็นที่พึ่งของผู้ต้องขัง - รูปแบบของจังหวัดฉะเชิงเทรา จะถูกนำไป ขยายให้กับระดับประเทศต่อไป
รายชื่อทีมงาน นิรมล ศรชำนิ รพ.พุทธโสธร ฉะเชิงเทรา นิรมล ศรชำนิ รพ.พุทธโสธร ฉะเชิงเทรา ศศินันท์ อริยรัฐสินกุล สสจ.ฉะเชิงเทรา อภิญญา เปี่ยมวัฒนาทรัพย์ สคร.6 ชลบุรี ณัฐวรรณ แก่นเชื้อไชย เรือนจำกลาง ฉะเชิงเทรา