งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาล ระแงะ จังหวัด นราธิวาส

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาล ระแงะ จังหวัด นราธิวาส"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาล ระแงะ จังหวัด นราธิวาส
โครงการพัฒนาคุณภาพงาน การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรค/เอชไอวี ( TB/HIV) ชื่อผลงาน:รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/TB องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาล ระแงะ จังหวัด นราธิวาส

2 คำสำคัญ สถานการณ์จังหวัดนราธิวาส ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด ระดับเขต๑๒ ทั้งในผู้ติดเชื้อ เอชไอวีที่มีประวัติเป็นวัณโรคร้อยละ๒๙.๒ และอัตราเสียชีวิตในระยะ๑๒ เดือนแรกหลังเริ่มยาต้านฯ ร้อยละ๑๖.๗ จากข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลระแงะพบว่าปีงบประมาน๒๕๕๖มีผู้ติดเชื้อสะสม๒๒๖รายผู้เสียชีวิตสะสม๔๘ รายมีผู้รับยาต้านคงเหลือ ๑๖๖ ราย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๑๐ รายติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ ๘ ราย ติดเชื้อจากยาเสพติด ๒ รายติดจากคู่สมรส ๘ รายมารดาตั้งครรภ์ติดเชื้อเอชไอวี ๖ รายจะเห็นได้ว่าการติดเชื้อจะมาสู่แม่บ้านมากขึ้นทุกปี มีผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์มีTB ร่วมเสียชีวิต ๑ ราย จากการวัดผลคุณภาพการดูแลรักษาด้วยโปรแกรมHIVQUAL-ปี๕๖พบได้ผลตัวชี้วัดดังนี้ ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านได้รับการติดตามระดับC4ทุก๖เดือนร้อยละ๘๙.๓๖ ได้รับการเจาะไวรัสโหลดร้อยละ๙๕.๗๔ ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๘๕.๑๙ ค่ามัธยฐานของระดับCD4ในผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เริ่มรับยาต้านไวรัสในปีที่ประเมินเท่ากับ ๑๖๕ cellค่ากลางระดับประเทศเท่ากับ๑๒๕ cell เป็นต้น ในปีงบประมาณ 2556ผู้ติดเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรับยาต้านมีผลCD4ต่ำกว่า200cell /มีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส จำนวน ๘ ราย แสดงว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวและเข้ามารับบริการเจาะเลือด รับยาต้านเมื่อมีอาการแย่ลงหรือระยะแสดงอาการของติดเชื้อฉวยโอกาสและเข้าสู่ระยะโรคเอดส์ มีผู้มาเจาะหาเชื้อเอชไอวีโดยความสมัครใจVCT ยังน้อยมาก ทางคณะทำงานดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลระแงะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อค้นหาผู้ติดเอชไอวีรายใหม่ เข้าถึงการรักษา เร็วขึ้น ลดอัตราการเสียชีวิตในระยะ๑๒เดือนหลังรับยาต้านฯ

3 3. บริบท/ภาพรวม/สภาพปัญหา
บริบทของโรงพยาบาล เห็นความสำคัญของการพัฒนางานระบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/TBเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อฯให้เร็วขึ้นลดอัตราการเสียชีวิตปี2556พบอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและมีTB เสียชีวิต 1 รายจาก6 รายคิดอัตราเป็น ร้อยละ 16.66 ปัญหา: ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและมีติดเชื้อTBร่วมมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อTB ปัญหาจาก 1.จากระบบบริการ 2. จากผู้ให้บริการ 3.จากผู้รับบริการ/ผู้ติดเชื้อ

4 สภาพปัญหา 1.จากระบบบริการ
1.1 เริ่มยาต้านช้า ระบบบริการปี2555 เริ่มยาต้านเมื่อรับยาTB ครบ2 เดือนจะstart arv 1.2 เจ้าหน้าที่คลินิกTB ไม่ทราบว่าผู้รับบริการเริ่มยาต้าน/ขาดระบบส่งต่อ 1.3ผู้ที่ติดเชื้อฯที่refer ขาดการติดตาม

5 2.จากผู้ให้บริการ 2.1 ขาดความตระหนักในการคัดกรองcase 2.2 ผู้ให้บริการน้อย ภาระงานมาก 2.3 ขาดการจดบันทึกข้อมูล 2.4ขาดการประสานงาน

6 สภาพปัญหา 3.จากผู้รับบริการ
3.1 มารพ. เมื่อมีอาการแย่ CD4 ต่ำ/มีติดเชื้อฉวยโอกาส/TB 3.2 อายไม่กล้ามารับยาต้าน 3.3 ขาดความตระหนักในการป้องกันตัวจากเอชไอวี/TB 3.4 ผู้ดูแลไม่ทราบผลเลือด 3.4 ไม่มีพาหนะ/มาโรงพยาบาลไม่ได้

7 4. ภาพรวม เป้าหมาย: 1.พัฒนาระบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ติดเชื้อTBให้ได้รับยาต้านเร็วขึ้นเพื่อลดอัตราการเสียชิวิต แนวทางการพัฒนา 1.ชี้แจงคณะทำงานทุกฝ่ายสหสาขาวิชาชีพ ทุกแผนกบริการถึงแนวทางการพัฒนางาน 2. แจ้งระบบบริการลงไปยังชุมชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อ รพสต.เพื่อรับทราบ พัฒนาระบบดังนี้ 1.พัฒนาระบบในโรงพยาบาล 1.1ให้คัดกรองเจาะ anti- HIV ทุกรายในคลินิก รักษาTB 1.2 แผนกผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในถ้าพบผู้รับบริการทีมีอาการไอมาเกิน2 อาทิตย์/คัดกรอง5 คำถามพบว่าเสี่ยงให้พยาบาลส่งCXR และส่ง sputum AFB ได้เลยโดยไม่ต้องรอแพทย์สั่ง และส่งพบแพทย์เพื่อรักษาต่อ

8 การพัฒนาระบบต่อ 1.3 แผนกให้คำปรึกษา ถ้าพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้คัดกรองTB ทุกราย 1.4 แผนกยาต้านarv ให้คัดกรองTB ทุกครั้งที่มารับบริการ เพื่อค้นหา TB ให้เร็ว 1.5 ทำแบบบันทึกใหม่/ส่งต่อแผนกARV และ แผนกTB เพื่อป้องกันการหลุดการส่งต่อการรับยาต้าน 1.6 ทำงานร่วมกับงานโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ออกคัดกรองanti-HIV ตามแหล่งแพร่/สถานบริการในวันที่ออกสำรวจและบอกผลทันที 1.7 ร่วมกับแผนกบำบัดยาเสพติดให้เจาะเลือดหาAnti-hiv ทุก 6เดือนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงได้เร็วขึ้น

9 เป้าหมาย 2.คัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในชุมชนเข้าสู่ระบบริการยาต้านให้เร็วก่อนมีการติดเชื้อฉวยโอกาส/TB แนวทางการพัฒนา 2.1 จัดทำโครงการลงสู่ชุมชนโดยการทำVCCT ร่วมกับแกนนำ 2.2 จัดอบรมเจ้าหน้าที่รพ.สต./ อปต. ถึงปัญหาของผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์เข้าสู่ระบบการรักษาที่ล่าช้า 2.3 ให้เจ้าหน้าที่รพ.สต. ให้คำปรึกษาเจาะanti-HIV เองและส่งต่อมารพ.คัดกรองTBในรายที่สงสัย

10 5.สาระสำคัญของการพัฒนา(Improvement Highlight)

11

12

13 6. ผลลัพธ์ จากการพัฒนาระบบตาราง ข้อมูล ปี2554 ปี2555 ปี2556 2.6เดือน
ผู้ติดชื้อHIV/TBรับยาต้านหลังทราบผลเลือด 2.6เดือน 2.7เดือน 2เดือน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/Tbรายใหม่เสียชีวิตร้อยละ 25(1:4) 40(2:5 ) 16(1:6) ผู้มารับบริการขอเจาะเลือดanti-hiv ด้วยตนเองร้อยละ 20(20: 138 ) 21(27:128 ) 28(31: 109 )

14 สิ่งที่เกิดขึ้นหลังพัฒนางาน
1. มีการพัฒนามีระบบส่งต่อผู้ติดเชื้อฯระหว่างแผนกที่เร็วขึ้น 2. มีการ์ดส่งต่อ/ใบนัดระหว่างแผนกบริการป้องกันการหลุด/หายของผู้ป่วย 3.มีผู้มาขอเจาะเลือดด้วยตนเองเพิ่มขึ้น 4.มีผู้เสียชีวิตจากHIV/TBลดลง

15 7.บทเรียนเพื่อการแบ่งปัน
1 .การพัฒนาการงานต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วยงานถึงจะประสบผลสำเร็จ 2. ต้องมีความอดทน มุมานะ 3.การให้ความรู้ในชุมชน ในกลุ่มเสี่ยง มีความสำคัญ 4.การทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ติดเชื้อ ช่วยตามผู้มารับบริการ จะประสบผลสำเร็จได้เร็วขึ้น

16 8. สิ่งที่อยากฝากไว้ให้คนอื่นรู้
 1.การเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหา จะเกิดการพัฒนางาน 2. ต้องทำงานร่วมกันหลายแผนก 3. ถ้าเรามีการพัฒนางานแล้วตัวชี้วัดบางตัวไม่ถึงเกณฑ์อย่าท้อเพราะบางตัวเราไม่สามารถควบคุมได้


ดาวน์โหลด ppt องค์กรต้นสังกัด: โรงพยาบาล ระแงะ จังหวัด นราธิวาส

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google