เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย เอกสารประกอบการฝึกอบรม เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงงานวิจัย อ.เฉลิมพล ทัพซ้าย อ.เฉลิมพล ทัพซ้าย
ข้อเสนอโครงการพิเศษ(Project) 1.ความสำคัญและที่มาของหัวข้อโครงการพิเศษ (เขียนโดยสรุป) 2.วัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษ (ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆ) 3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4.ทฤษฎีและหลักการ 5.ขอบเขตของการทำโครงการพิเศษ 6.วิธีการวิจัย/โครงการพิเศษ (Methodotogy) 7.แผนการดำเนินงาน 8.อุปกรณ์ และสถานที่ทำการวิจัย 9.เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
1. ความสำคัญและที่มาของหัวข้อโครงการพิเศษ เขียนโดยสรุป ไม่ต้องยาวมาก เพื่อบรรยายให้เห็นว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้สนใจทำโครงงานนี้ เช่น ปัญหาที่มีอยู่ หรือแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น โครงงานนี้สำคัญอย่างไร ทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไร
ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น เช่น 2. วัตถุประสงค์ ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น เช่น เพื่อสร้างโปรแกรมสื่อการสอน........ เพื่อออกแบบระบบงาน......... เพื่อสร้างเว็บไซท์......... เพื่อสร้างเครื่องมือ........ เพื่อให้เกิด........
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ระบุให้ชัดเจนเป็นข้อๆว่า เมื่อโครงงานเสร็จสิ้นจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้าง เช่น (มีสื่อการสอน........ที่ช่วย)เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน.... (มีระบบงาน.........ที่มีประสิทธิภาพและ)แก้ปัญหา..... (มีเว็บไซท์.........ที่)ช่วยให้........ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (มีเครื่องมือ........ที่)ทำให้........... ดียิ่งขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย......../ลด.......... เกิด........ขึ้น.......
4. ทฤษฎีและหลักการ ต้องไปค้นคว้าแหล่งข้อมูลและหลักทฤษฎีต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรือต้องใช้ในการดำเนินโครงงาน โดย ต้องได้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ต้องอ่านให้เข้าใจแล้วเขียนสรุปเฉพาะใจความสำคัญส่วนที่เกี่ยวกับโครงงาน กรณีที่เป็นคำนิยามหรือคำจำกัดความที่ไม่ยาวมากนัก อาจลอกมาเลยก็ได้ ไม่เป็นข้อมูลหรือทฤษฎีที่ล้าสมัย ต้องเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมตามรูปแบบที่ถูกต้อง
5. ขอบเขตของการทำโครงการพิเศษ เขียนบรรยายเพื่อระบุขอบเขตในเรื่องต่อไปนี้ ประชากร ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร มีจำนวนเท่าใด ตัวแปรที่ต้องการศึกษา มีอะไรบ้าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
6. วิธีการวิจัย/โครงการพิเศษ (Methodotogy) อธิบายให้ชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้ สมมุติฐานของการวิจัย กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย(ประชากร,กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง) เครื่องมือและการตรวจคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ ระเบียบวิธีวิจัย(อธิบายลักษณะของงานวิจัย ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ รวมทั้งการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล)
ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งต่อไปนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงงาน(กี่ปี/เดือน/วัน) 7. แผนการดำเนินงาน ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งต่อไปนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงงาน(กี่ปี/เดือน/วัน) วันเริ่มต้นดำเนินโครงงาน วันสิ้นสุดการดำเนินโครงงาน แสดงวันเวลาที่จะดำเนินการแต่ละขั้นตอน นิยมแสดงในรูปแบบตาราง
8. อุปกรณ์ และสถานที่ทำการวิจัย อธิบายถึงลักษณะและรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ ระบุสถานที่ที่ทำการวิจัยให้ชัดเจน
9. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ต้องเขียนอ้างอิงข้อมูลและทฤษฎีแต่ละส่วนที่ค้นคว้ามา แล้วจึงมารวบรวมเขียนเป็นบรรณานุกรมในตอนท้าย
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้ เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์(Edward Thorndike, 1874-1949) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก(Trial-and-Error Learning) ว่าการเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูกในลักษณะต่างๆไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อพบคำตอบที่ถูกต้อง การตอบสนองในลักษณะอื่นๆที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องจะถูกกำจัดทิ้งไป
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้ ลันดิน(Lundin, W. Robert, 1996: 144) ได้สรุปกฎและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังนี้ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดี หากผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 2. กฎแห่งการฝึก (Law of Excercise) การใช้งานหรือการฝึกฝนบ่อยๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น 3. กฎแห่งผลกระทบ (Law of Effect) เมื่อผู้เรียนได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ จะทำให้ผู้เรียนต้องการที่จะเรียนรู้ต่อไป ในทางตรงข้ามหากผู้เรียนได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกไม่พึงพอใจ จะทำให้ผู้เรียนพยายามเลิกออกจากการเรียนรู้นั้น
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้ ทิศนา แขมมณี(2553: 119-121,282-284) กล่าวถึง แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ว่า ครูจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มิใช่มุ่งเน้นเพียงการถ่ายทอดความรู้เท่านั้น โดยได้เสนอรูปแบบการจัดเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา(CIPPA Model) ที่ประกอบด้วยแนวความคิด 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิดการสร้างความรู้ 2) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ 4) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ 5) แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองแล้ว ผู้เรียนยังต้องพึ่งการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่องด้วย
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงข้อมูล/ทฤษฎีที่ค้นคว้ามาได้ สมบูรณ์ ตันยะ(2545 : 110 – 112) กล่าวถึง ความสำคัญของคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลทางการศึกษาว่า ผลการประเมินจะถูกต้องมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสำคัญ ถ้าเครื่องมือมีคุณภาพดีผลการวัดหรือข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อใช้ในการประเมินก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ด้วย
ตัวอย่างการบรรณานุกรม 1. ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน, 2541 2. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 3. สมบูรณ์ ตันยะ. การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2545. 4. Bloom, S. Benjamin, Hastings Thomas J., Madaus F. Georgr. Handbook on Formative and sSummative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill, 1971 5. Lundin, W. Robert. Theories and Systems of Psychology(5th ed.). D.C. Heath and Company. 1996