การพัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ รพ.สต.บ้านโป่ง CQI การพัฒนาระบบงานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ รพ.สต.บ้านโป่ง
เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน เป้าหมาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรงในผู้ป่วยเบาหวาน
ปัญหาและสาเหตุ จากการทบทวน Case กรณีศึกษา ที่มีความเสี่ยงที่ระดับ F และจากการติดตามเยี่ยมบ้าน ทำให้ รพ.สต. ทราบปัญหาว่า 1 การเปลี่ยนสถานที่รักษาด้วยตนเองบ่อยครั้ง ทำให้ขาดการรักษาต่อเนื่อง และไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ขาดความครบถ้วนของข้อมูลในการปรับเปลี่ยนการรักษาจาก รพ.ตราด ผู้ดูแลผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง จนท. ไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก CPG ได้ จนท. ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสมุดบันทึกประจำตัวได้
ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ case ร่วมกับ รพ.เขาสมิง กิจกรรมการพัฒนา ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ case ร่วมกับ รพ.เขาสมิง ลงสมุดทุกครั้งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนยา เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวิธี จาก รพ. ทบทวนการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน
4. ติดสติ๊กเกอร์ ด้านหน้าและด้านในสมุดประจำตัวผู้ป่วย โดยแบ่งตามสีของปิงปอง 7 สี
5.ชี้แจงการใช้ CPG ใน เจ้าหน้าที่
การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง - อัตราการเกิด Diabetic ketoacidosis (DKA)ในผู้ป่วยเบาหวาน ≤ ร้อยละ 5 - ผู้ป่วยเบาหวานที่รับยาในคลินิก สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี(สีเขียวแก่ ในปิงปอง 7สี) มากกว่า ร้อยละ 80
ผลการเปลี่ยนแปลง รพ.สต.บ้านโป่งมีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูง เบาหวาน)ทั้งสิ้น 274 ราย มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งสิ้น 109 ราย และมารับบริการรับยาที่คลินิกโรคเรื้อรังทั้งสิ้น 202 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน 57 ราย รพ.สต.บ้านโป่ง ในปีงบประมาณ 2557 มีผู้ป่วย admit ด้วยภาวะ hyperglycemia 2 ราย 3 ครั้ง เดือน พ.ย. 56 1 ราย/1 ครั้ง(ระดับน้ำตาล 530 เดือน ธ.ค. 56 1 ราย / 2 ครั้ง ระดับน้ำตาล 849 และ 878 (ข้อมูลการส่งกลับจาก รพ.เขาสมิง) ม.ค.-ก.พ. 57ยังไม่พบรายงานผู้ป่วยที่ Admit รพ. ด้วยภาวะ Hypergylcemia (รพ.สต.ไม่ทราบข้อมูลการ admit ในปี งบประมาณ 2556) ผู้ป่วยปรับยาฉีดรายใหม่ 3 ราย ไม่พบปัญหาการใช้ยา คุมระดับน้ำตาลได้
เดือน เขียว ร้อยละ เหลือง ส้ม แดง ธ.ค..56 27 47.36 11 19.29 9 15.74 10 17.54 ก.พ.57 36 63.15 5 8.77 7 12.28 15.78
บทเรียนที่ได้รับ 1.การทบทวนและการตรวจสอบการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะยาฉีด 2.การส่งต่อข้อมูลกลับของผู้ป่วยจาก รพ. แม่ข่าย มายัง รพ.สต. 3.การสื่อสารกันภายในหน่วยงานมีผลต่อระบบงานทุกระบบ
ความต้องการพัฒนาครั้งต่อไป เมื่อผู้ป่วยเริ่มรับรู้เกี่ยวกับสีในปิงปอง 7 สีเพิ่มมากขึ้นแล้วจะมีการจัดทำกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ป่วย สีต่างๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างพลังซึ่งกันและกันในกลุ่มผู้ป่วย ส่วนในกลุ่มป่วยที่ติดแดง จะได้รับการติดตามมากขึ้น