งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี “โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ” นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

2 ความเป็นมา กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเขตบริการสุขภาพ รวม 12 เขต และมีแนวนโยบายให้ปรับระบบการตรวจราชการ กำกับ ติดตามนโยบาย สำคัญของ กระทรวงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน กรมควบคุมโรคได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจราชการกรม ร่วมกับทางสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบการตรวจราชการให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ เขตสุขภาพละ 2 ท่าน ระยะเวลาการตรวจราชการ แบ่งเป็น 2 รอบ รอบที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2558 รอบที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2558 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รวบรวมและสรุปข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจ ราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558

3 ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนและร่วมปฏิบัติงาน
มุมมองจากภายนอก พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนและร่วมปฏิบัติงาน มุ่งสู่เป้าหมายร่วม

4

5

6

7 คลินิก NCD คุณภาพ เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2557, 2558 และ 2559 ประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ ในปี 2559 ประเมินรับรองฯครบร้อยละ 100  เป้าหมายปี 57 จำนวนรพ.ที่ประเมิน จำนวน 380 แห่ง ผ่าน 70 % จำนวน 338 แห่ง  เป้าหมายปี 58 จำนวนรพ.ที่ประเมิน จำนวน 329 แห่ง  สถานบริการสาธารณสุข (รพศ. รพท. รพช.) ได้ประเมินตนเองตามเกณฑ์คลินิก NCD คุณภาพ รอบที่ 1 แล้ว อยู่ระหว่างรวบรวมการประเมินรับรองฯ  ส่วนใหญ่ยังต้องพัฒนาเรื่อง การสนับสนุนการจัดการตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้นการดูแลตนเองในชุมชน

8 ประเด็น : การควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCD)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และอัตราป่วยรายใหม่ยังสูงและคุณภาพบริการ DM/HT ยังไม่ถึงเกณฑ์ และยังไม่มีสัญญานว่าจะบรรลุเป้าหมาย ความก้าวหน้าของ PM และ Case manager ของพื้นที่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น หน่วยบริการและหน่วยบริหารมีความตื่นตัวในการดำเนินงาน แต่ยังไม่ทราบแนวทางการดำเนินงานให้ผลงานมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์และใช้ประโยขน์ข้อมูลยังทำได้น้อย มาตรการคลินิก NCD คุณภาพ ยังไม่เชื่อมโยงและส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของบริการและการลดโรคได้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความยุ่งยากในการเข้าถึงการประมวลผลระบบฐานข้อมูล 43 แฟ้มของผู้ปฏิบัติงาน การเชื่อมต่อกับ Service plan น้อย มาตรการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า 1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงยังทำได้น้อย, ขาดการติดตามประเมินผล ขาดความต่อเนื่อง 2. มีการใช้มาตรการ 3 อ. 2 ส. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก อปท. และรพสต. แต่ขาดการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุม ควรทบทวนมาตรการ “คลินิก NCD คุณภาพ” ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพบริการและการลดโรค NCD ได้มีประสิทธิภาพจริง ควรทบทวนเป้าหมายความสำเร็จของการลดโรค ลดตาย และคุณภาพบริการให้สอดคล้องกับกับประสิทธิผลของมาตรการ จังหวัดควรมุ่งเน้นมาตรการที่มีประสิทธิผลทั้ง ด้านการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และมาตรการลดพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงในชุมชนที่ตรงกับปัญหาตนเอง พัฒนาระบบฐานข้อมูล และพัฒนาการเข้าถึงการประมวลผลข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจาก 43 แฟ้ม ให้ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาการใช้ประโยชน์ของข้อมูล โดย สำนักโรคไม่ติดต่อ ศนย. NCD และสำนักระบาด ร่วมมือกันในการจัดการชุดข้อมูลระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อที่ควรมีการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน และเพิ่มศักยภาพให้แก่ สคร. สสจ.และ หน่วยบริการสุขภาพในการใช้ประกอบในการวางแผนและติดตามผลคุณภาพบริการ

9

10 ประเด็น : การควบคุมการบาดเจ็บ (อุบัติเหตุทางถนน)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ ประเด็นพฤติกรรม (ขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย) ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาอุบัติเหตุ ความย่อหย่อนของการบังคับใช้กฎหมาย พบว่าประชาชนไม่สนใจ และขาดความตระหนักทั้งด้านการสวมหมวกนิรภัยและการขอใบขับขี่จากกรมการขนส่งทางบก ในระดับจังหวัดเริ่มมีการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนแบบสหสาขาวิชาชีพ และ นำผลการสอบสวนมาแก้ไขปัญหาแบบสหสาขาในพื้นที่ ทีมสอบสวนอุบัติเหตุแบบสหสาขาระดับอำเภอส่วนใหญ่ยังไมได้รับการพัฒนาศักยภาพ เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรและงบประมาณ ควรเน้นมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการด่านชุมชน ควรพิจารณาหามาตรการที่ได้ผลเพิ่มขึ้น เช่น บังคับใช้กฎหมายในผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น พัฒนาศักยภาพการสอบสอบสวนอุบัติเหตุแบบ สหสาขาระดับอำเภอโดยใช้ 0n the job training ควรติดตามและผลักดันโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอผ่านระบบ DHS หรืออำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง สร้างทีมอำเภอต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน

11 กลุ่มเด็กวัยเรียน : อัตราการเสียชีวิต จากการจมนํ้าของเด็ก (อายุตํ่ากว่า 15 ปี) ไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน

12 ประเด็น : เด็กจมน้ำ ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
การสํารวจแหล่งนํ้าที่เสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ยังไม่ชัดเจน จังหวัดได้เริ่มดำเนินการตามแผนงาน/โครงการสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง แต่มีข้อจำกัด ขาดทีมแกนนำ ขาดงบประมาณ และทรัพยากร ขาดการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ตามหลักระบาดวิทยาในการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ และขาดการบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การเลือกมาตรการจัดการปัญหายังไม่ส่งผลถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ข้อมูลสภาพปัญหาของพื้นที่ต้องอาศัยความ พร้อมจาก อปท. และคนในพื้นที่เอง ควรนำหลักระบาดวิทยา มาใช้แก้ปัญหาการจมน้ำของเด็กในพื้นที่ มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบสวนสาเหตุการตายเพื่อให้ อปท. นำไปจัดตั้งทีมผู้ก่อการดี โดยเน้นพื้นที่ที่มีการเสียชีวิตแบบต่อเนื่อง บูรณาการทุกภาคส่วนและสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ ผ่าน กลไกการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งฯ และ DHS ร่วมกับงานอนามัยโรงเรียน และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และโครงการอบรมหลักสูตร “ว่ายน้ำเพื่อชีวิต” ในกลุ่มเด็กนักเรียนสังกัด สพฐ. นำพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานดี มาเป็นแบบอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

13 ประเด็นเชิงระบบ Service plan ประเด็น/เรื่อง ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
บทบาทของการส่งเสริมป้องกันกับ Service plan ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน PM ส่วนกลางและ สคร. ทำงานแบบเดิมและไม่เข้าใจ Service plan ส่วนใหญ่จัดทำยุทธศาสตร์ในมุมมองตนเอง ไม่เห็นภาพบูรณาการกับงาน Service plan เขตสุขภาพ และภาคสถานพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับงานส่งเสริมป้องกัน และการทำงานร่วมกับ Service plan ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่รับผิดชอบตรวจราชการควรศึกษาและวิเคราะห์การเชื่อมต่องานกับ Service plan บทบาทของกรมควรจะมีการพัฒนา Service plan ในโรคอื่นๆเพิ่มเติม เช่น โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในบางพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง เป็นต้น

14 ประเด็นเชิงระบบ (ต่อ)
ประเด็น/เรื่อง ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ ระบบข้อมูล การวิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะการตรวจราชการ ข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมไม่ตรงกับที่ปฏิบัติจริง บางโรงพยาบาลมีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเองและยังไม่เชื่อมกับระบบส่วนกลาง ขาดแหล่งข้อมูลกลางที่ช่วยสนับสนุนการนิเทศ/ตรวจราชการ ทีมงานเขตมีความแตกต่างในด้านคุณภาพการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจราชการ ทำให้มีข้อมูลหลากหลาย สามารถใช้เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ได้บางแผนงาน โรคที่มีรายงานการป่วยเป็นอันดับแรกและเป็นปัญหาของพื้นที่ไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการในพื้นที่ แต่ไปกำหนดโรคที่เป็นตัวชี้วัดแทน การสรุปผลการตรวจราชการและให้ข้อเสนอแนะเป็นแบบกว้างๆทั่วไป ขาดความเจาะจงและใช้ประโยชน์ได้ ควรทบทวนข้อมูลจาก 43 แฟ้มและระบบที่มีอยู่ปัจจุบัน ว่าเพียงพอสำหรับการติดตามวิเคราะห์งานหรือไม่ หากไม่เหมาะสมจะดำเนินการอย่างไรที่ไม่เป็นภาระแก่พื้นที่ ลงทุนพัฒนาฐานข้อมูลและเว็บไซต์ของกรมฯ ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง และความรู้เกี่ยวกับแผนงานและความก้าวหน้าของงาน ควรมีการตกลงร่วมกันในทีมตรวจราชการและผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละกรม ในด้านขอบเขตของการวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาที่ชัดเจน ทำความเข้าใจในเรื่องข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่กับเรื่องนโยบายตัวชี้วัดให้กับบุคลากรทั้งในระดับ สคร.และจังหวัด

15 ข้อสังเกตจากการร่วมตรวจราชการ
เป็นจุดเชื่อมสำคัญของกรมควบคุมโรคกับงานของกรม อื่นๆ กับภาพรวมของกระทรวง และการเชื่อมระหว่าง สคร. กับเขตสุขภาพ และจังหวัด โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าใจการปฏิบัติงานใน พื้นที่จริง โอกาสในการพัฒนาทีมงาน และเครือข่าย ต่อยอดพัฒนากระบวนการและเนื้อหาจากเดิม แบบต่อเนื่อง ไม่ควรเริ่มต้นใหม่


ดาวน์โหลด ppt นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google