วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540 วิชา 001231 ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2540 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาฆะสิริ เชาวกุล วันที่ 20 สิงหาคม 2558
วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยปี 2540 คืออะไร เป็น วิกฤตทางการเงิน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม หนี้ต่างประเทศในปลายปี 2540 เพิ่มขึ้นถึง 109,276 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นหนี้ระยะสั้นถึงร้อยละ 65 หนี้ต่างประเทศมีทั้งหนี้รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ เอกชน ในสัดส่วน 9 : 22 : 69 ธนาคารพาณิชย์ประสพปัญหาหนี้เสีย ( Non Performing Loan : NPL) ถึงร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อรวม ในเดือนสิงหาคม 2540 สถาบันการเงินถูกกระทรวงการคลังสั่งให้ปิดดำเนินการรวม 58 แห่ง ฐานะทางการเงินของประเทศอยู่ในขั้นอ่อนแอ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ประเทศไทยมีเงินสำรองต่างประเทศเหลือเพียง 2,850 ล้านดอลล่าร์ จากที่เคยมีถึง 38,700 ล้านดอลล่าร์ เมื่อปลายปี 2539
สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดุลบัญชีเดินสะพัด ( Current Account) คืออะไร คือผลรวมสุทธิของดุลการค้า ดุลบริการ รายได้และเงินโอน (ระหว่างประเทศ) ดลุการค้า = ส่งออก – นำเข้า (สินค้า) ดุลบริการ = ส่งออก – นำเข้า (บริการ เช่น ขนส่ง ท่องเที่ยว ประกันภัย สื่อสาร) รายได้ (ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการ รายได้จากการลงทุน ) เงินโอน เงินบริจาค ปลายปี 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง 14,350 ล้าน US$
หลังปี 40 ดุลบัญชีเดินสะพัด และ ดุลการค้าเป็น + แต่ก็เหวี่ยงขึ้นลง
หนี้ต่างประเทศ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ความกดดันในเรื่องการเปิดเสรีการค้าในปี 2532 กดดันให้ไทยต้องเปิดเสรีทางการเงินในปี 2533 ปี 2536 ธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับอนุญาตให้ตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้เงินจากต่างประเทศ (ดอกเบี้ยต่ำ 7% แล้วมาปล่อยกู้ในประเทศ (ดอกเบี้ยสูง 14%) ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 109,276 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็นหนี้ระยะสั้นถึงร้อยละ 65 สัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้น 70.4 : 100.0
จริยธรรมของนักธุรกิจ นักการเมืองและสถาบันการเงินในกิจการวิเทศธนกิจ สถาบันการเงินต้องการปล่อยเงินที่กู้ยืมมาให้มากขึ้น ทำให้การพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินไม่อยู่บนฐานของความสามารถในการชำระคืนอย่างแท้จริง ( demand ต่ออสังหริมทรัพย์) มีการปล่อยเงินให้กับพวกพ้อง นักการเมือง และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างกว้างขวาง ความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินเริ่มสั่นคลอน ประชาชนเริ่มถอนเงิน รัฐบาลเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินโดยใช้เงินจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน 6 แสนล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ สถาบันการเงินถูกทะยอยสั่งปิด รวม 58 แห่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 NPL มีจำนวนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อรวมเมื่อพฤษภาคม 2542
เกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ เงินที่กู้ยืมนำมาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เกิดการเก็งกำไรในผู้ซื้อ ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งดึงดูดให้คนมาลงทุน (ปั่นราคา) จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ (การลงทุนเกินกว่าความต้องการที่แท้จริง)
การคงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่ 25 บาท / $ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและยังขัดกับการเปิดเสรีทางการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนควรสะท้อน demand และ supply ของเงิน ความต้องการเงิน $ มีสูง (เงิน $ ไหลเข้ามาก) พูดอีกอย่างคือ ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นไปซื้อเงิน $ นั่นคือ ควรใช้เงินบาทมากกว่า 25 บาทไปซื้อ 1 $ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงพยายามควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ด้วยการขายพันธบัตรในอัตราดอกเบี้ยสูง ยิ่งดึงดูดนักลงทุน ยิ่งซ้ำเติมภาวะเงินไหลเข้า
6. การโจมตีค่าเงินบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทำให้นักเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนปล่อยข่าวว่าจะมีการลดค่าเงินบาท และสร้าง demand เทียม ด้วยการขายเงินบาทในตลาดซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรวดเร็ว จาก 25 บาท/ $ ขึ้นไปแตะ 40 บาท/$ รัฐบาลก็ใช้เงินทุนสำรองไปปกป้องค่าเงินบาท (ต้องการคงอัตราแลก เปลี่ยนไว้ที่ 25 บาท/$ จึงสร้าง demand ด้วยการซื้อเงินบาทกลับคืน) แต่กองทุนเพื่อการเก็งกำไรค่าเงิน หรือ Hedge Funds มีขนาดใหญ่กว่า และมีการผสมโรงของหลายกองทุน เช่นของนาย George Soros
รัฐบาลไทยยอมจำนนต่อภาวะเศรษฐกิจ ที่ใกล้จะล่มสลาย 14 สิงหาคม 2540 รัฐบาลไทยขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF) เป็นเงินรวม 17.2 พันล้าน US $