การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข แนวทาง การออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
ความหมาย กฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายแม่บท(พระราชบัญญัติ)
หลักการ 1. ต้องยึดหลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิดและไม่มีโทษ” 2. ต้องมีกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ 3. ต้องไม่เกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ 4. กระบวนการตราข้อบัญญัติต้องเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมาย(จัดตั้ง อปท.)กำหนดไว้
ปัจจัยสำคัญในการยกร่างข้อบัญญัติ อปท. 1. ต้องเข้าใจบทบัญญัติของกฎหมายแม่บท 2. ต้องเข้าใจปัญหาตามข้อเท็จจริงของท้องถิ่น 3. ต้องเข้าใจหลักวิชาการและเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา(มาตรการ) 4. ต้องมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ข้อแนะนำ ในการดำเนินงานตราข้อบัญญัติท้องถิ่น สำรวจข้อมูลพื้นที่ & ประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ชี้แจงทำความเข้าใจ/สำรวจความเห็นของประชาชน เสนอเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ความเห็นชอบในการใช้มาตรการด้านกฎหมาย ควรมีคณะทำงานยกร่างฯ ประกอบด้วย บุคลากรด้านกฎหมาย บุคลากรด้านวิชาการ ผู้แทนภาคผู้ประกอบกิจการ ผู้แทนภาคประชาชน อื่นๆ ตามความเหมาะสม
ควรมีการทำประชาพิจารณ์ร่างข้อบัญญัติ เสนอต่อสภาท้องถิ่นพิจารณาและดำเนินตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง อปท. ต่อไป การประกาศใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น
การวางแบบร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ชื่อ 2) บทนำ (การอ้างอิงอำนาจแห่งกฎหมาย) 3) บทนิยามศัพท์ (ขอบเขตความหมาย) 4) บทบังคับ 5) บทกำหนดโทษ (ต้องตามแม่บท) 6) บทเฉพาะกาล 7) บทท้าย 8) ส่วนแนบท้าย
ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข WWW. laws.anamai.mail.go.th WEB SITE ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข WWW. laws.anamai.mail.go.th ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-4175 โทรสาร 0-2591-8180